ดัน 5 กฎหมายไทย สู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล

มนัส แจ่มเวหา อธิการบดีกรมบัญชีกลาง

มนัส แจ่มเวหา อธิการบดีกรมบัญชีกลาง

ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่กระแสดิจิทัล ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจ กฎหมายไทยจึงมีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามาควบคุมในยุค Digitalization ได้ดียิ่งขึ้น

ปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนระบบการให้บริการต่างๆ แต่กฎหมายกลับไม่รองรับได้อย่างเต็มที่ สมาคมนิติศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดเสวนาหัวข้อ “กฎหมายไทยยุค Digitalization” เพื่อเสนอและผลักดัน 5 กฎหมายไทย ให้เท่าทันยุคดิจิทัล

นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนแปลงการทำงานภาครัฐ
มนัส แจ่มเวหา อธิการบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า เมื่อก่อนการทำงานในเรื่องของบัญชีการรับเงินจากส่วนราชการจะมีกระบวนการโดยนำเงินสดส่งธนาคารแห่งประเทศไทย และที่กรมบัญชีกลาง หรือวิธีการเบิกเงินจะต้องนำใบฎีกา เดินทางมาขอเบิกที่กรมบัญชีกลาง ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ เช่น พรบ.วิธีการงบประมาณ เป็นต้น เพื่อควบคุมความเป็นระเบียบในเรื่องของเงินเป็นหลัก แต่เมื่อมีการเบิกจ่ายเงินจากกรมบัญชีกลางปีละ 2.4 ล้านล้านบาท จากหน่วยราชการ 500 หน่วยงาน และนำเงินเข้ากรมบัญชีกลางปีละ 2.2 ล้านล้านบาท หากยังมีการนำส่งเงินในรูปแบบเดิม จำเป็นจะต้องใช้คนจำนวนมาก และส่งผลให้ทำงานล่าช้ายิ่งกว่าเก่า จึงนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

โดยเมื่อปี พ.ศ. 2544 มีการนำเทคโนโลยีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ภายใต้ พรบ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 มีการเปลี่ยนแปลงวิธีเบิกจ่ายเงินส่วนราชการทั้งหมดเป็นระบบ GFMIS ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ด้วยการคีย์ข้อมูลผ่านบัตรเพื่อเข้าสู่กรมบัญชีกลาง ทำให้ทราบจำนวนเงินที่ส่วนราชการนำเข้าบัญชี ขณะที่การจ่ายเงินให้ส่วนราชการจะมีการเขียนร้องขอในระบบ จากนั้นกรมบัญชีกลางจะอนุมัติและโอนเงินเข้าสู่บัญชีขอหน่วยงาน ช่วยให้ลดระยะเวลาทำงานได้ดียิ่งขึ้นsp111

“ในส่วนของกรมบัญชีกลางดูแลในเรื่องสวัสดิการสำหรับประชาชนโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็กแรกเกิด ซึ่งช่วยให้สามารถรับเงินผ่านบัญชีโดยไม่ผ่านคนกลางและไม่เสียค่าธรรมเนียม” มนัส กล่าว

ปรับแก้กฎหมายสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
นอกจาก Digitalization ที่เปลี่ยนระบบการทำงานหน่วยงานราชการแล้ว หลายภาคส่วนยังพูดถึงยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่จะมีการนำเครื่องจักรมาทำงานแทนคนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผลิต อุตสาหกรรม การค้า SMEs ธุรกิจบริการ และทักษะแรงงาน ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้กฎหมายเป็นตัวกำหนด

ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ควรมีการปรับแก้กฎหมายเพื่อใช้ควบคุมองค์กรธุรกิจต่างๆ เช่น การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ ซึ่งใช้งานได้เทียบเท่าธนาคารเพียงปลายนิ้วมือ Uber บริการรถรับจ้างโดยการใช้รถส่วนตัว หรือการให้บริการบ้านตนเองโดยเปิดเป็นที่พักในลักษณะโรงแรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป แต่ยังไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมในส่วนนี้ หรือเรียกได้ว่ากฎหมายตามไม่ทัน นักกฎหมายจึงจำเป็นที่จะต้องปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา

“ในกระบวนการร่างกฎหมายตลอดจนบังคับใช้นั้นมีระยะเวลานาน ซึ่งทำให้ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นักกฎหมายจึงควรปรับปรุงโครงสร้างเหล่านี้ พร้อมกับยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อีกทั้งต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจระบบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าถ้ากฎหมายเข้ามารองรับในเวลาที่ควรจะเป็น จะทำให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ทันท่วงที” ปรีดี กล่าวเสริม

ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย

ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย

บริการ รถรับจ้างโดยการใช้รถส่วนตัว หรือการให้บริการบ้านตนเองโดยเปิดเป็นที่พักในลักษณะโรงแรม สิ่งเหล่านี้ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป แต่ยังไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมในส่วนนี้ หรือเรียกได้ว่ากฎหมายตามไม่ทัน

ธนาคารและภาครัฐมีการสร้างระบบพร้อมเพย์ขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนในการพิมพ์ธนบัตรและผลิตเหรียญกษาปณ์ โดยมีการหารือประกอบไปด้วย 5 เรื่อง คือ 1. การนำระบบชำระเงินแบบ Any ID (พร้อมเพย์) ที่โอนเงินให้ผู้รับโอนโดยระบุหมายเลขบัตรประชาชน เบอร์มือถือ e-Wallet หรืออีเมล 2. การใช้บัตรเพื่อแทนการใช้จ่ายด้วยเงินสด 3. ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้และเก็บเอกสารทางภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษ 4. ระบบ e-Payment ของภาครัฐ และ 5. ให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบบเหล่านี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงเรื่องของการชำระเงิน และการเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร

ฉบับที่ 212 เดือนสิงหาคม

วิธีสร้างธุรกิจอย่างสตาร์ทอัพ

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและลดการใช้เงินสด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามมาเพื่อให้สอดรับกับระบบ เช่น พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, พรบ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

แนะร่างกฎหมายแบบยืดหยุ่นรองรับสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า กฎหมายบางอย่างไม่รองรับกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่าง เวลาเลือกตั้งประเทศไทยใช้กฎหมาย มาตรา 69 ว่าด้วยเรื่องผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกาเครื่องหมายกากบาท พับบัตรเลือกตั้ง และใส่ลงไปในหีบบัตรเลือกตั้ง ยังคงเป็นการเลือกตั้งโดยใช้วิธีการแบบเดิมๆ แต่หลายประเทศกลับใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์โหวตในการลงคะแนนเสียง ซึ่งที่จริงแล้วประเทศไทยมีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการลงคะแนนเสียงแล้ว แต่กลับไม่สามารถใช้ได้จริงเนื่องจากกฎหมายยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นควรยกร่างกฎหมายให้สามารถใช้งานได้เสียที

ยุคดิจิทัลมาพร้อมกับโอกาสหลายอย่าง แต่ภายใต้ข้อดีเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการโจรกรรมข้อมูลได้ง่าย ทำให้ผู้คนไม่มั่นใจและไม่กล้าใช้งาน สิ่งเหล่านี้กฎหมายควรเข้ามาช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยง และที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องของรอยต่อระหว่างระบบ ซึ่งกฎหมายก็มีรอยต่อระหว่างแบบเก่ากับอนาคต ยกตัวอย่าง กฎหมายไทยที่ยืดหยุ่น เช่น พรบ. ลิขสิทธิ์ ในเรื่องของภาพถ่าย งานสร้างสรรค์ที่เกิดจากการใช้เครื่องถ่ายภาพ ให้แสงผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มกระจก และล้างด้วยน้ำยาที่เป็นสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใดอันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือ หรือวิธีการอันอย่างอื่น จะเห็นได้ว่าสามารถรองรับภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัลที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นตัวอย่างกฎหมายที่มองถึงเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นกฎหมายจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น สามารถแก้เพื่อรองรับเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และร่างกฎหมายให้เกิดความยุติธรรม

สุรางคณา วายุภาพ  ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนา กรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

สุรางคณา วายุภาพ
ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนา
กรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ปรับตัว-เข้าใจเทคโนโลยี พัฒนาเศรษฐกิจด้วยกฎหมาย
สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนากรมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ให้ข้อมูลว่า การใช้งานโทรศัพท์มีการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์ถึง 120 ล้านเลขหมาย รวมทั้งผู้คนยังสามารถหาข้อมูลหรือส่งข้อมูลได้ทั่วโลก ทำให้เกิดคำถามที่ว่าจะดูแลเรื่องนี้กันอย่างไร และพฤติกรรมของคนไทยในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ขณะที่กฎหมายบางส่วนยังมีความล้าสมัยอยู่มาก เนื่องจากนักกฎหมายในสมัยก่อนไม่มีความรู้ด้านไอที ไม่รู้วิธีการทำงานของอินเทอร์เน็ตทำให้ตัวกฎหมายไม่รองรับเพียงพอ

ยิ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบ Digital Economy โดยนำความรู้ไอทีมาสร้างให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและกลายเป็นตัวขับเคลื่อนสังคม ส่งผลให้ตัวกฎหมายจะต้องมีการร่างใหม่หรือปรับแก้ เช่นเดียวกันกับที่ทุกคนในสังคมต้องเริ่มทำความเข้าใจทั้งฝั่งเทคโนโลยีและฝั่งกฎหมายควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งพบกฎหมายประมาณ 40 ฉบับ ที่ยังต้องปรับแก้เพื่อให้รอบรับกับการเข้าสู่ยุดดิจิทัล และกฎหมายที่จำเป็นต้องมีการเพิ่มเติม เช่น กฎหมายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ กฎหมายตราสารเปลี่ยนมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริต อีกทั้งภาคธุรกิจควรมีกฎหมายกำหนดในการใช้ดิจิทัลเป็นตัวสื่อกลาง กฎหมายจึงต้องลดความเสี่ยงของการแฮกระบบ และปกป้องไซเบอร์ซิเคียวริตี้

“คนที่จะเข้ามาเป็นตัวกำหนดกฎหมายจำเป็นต้องเข้าใจทิศทางของเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างมหาศาล และต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอด สำหรับสถาบันการเรียนการสอนควรให้ความสำคัญในการพัฒนาคนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจต้องปรับปรุงหลักสูตรกฎหมายให้สอดคล้องสำหรับยุค Digitalization มากขึ้น เชื่อว่าจะสามารถพัฒนานักกฎหมาย ตัวกฎหมาย และประเทศได้ดียิ่งขึ้น” สุรางคณา กล่าวทิ้งท้าย

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

chatbot
การแชทช่วยให้ข้อมูลสำคัญแก่ธุรกิจ

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล CEO บริษัท Mojito Technology แชทบอท กำลังกลายเป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้บริโภคจะใช้สื่อสารกับแบรนด์...

  • Chatbot-Thailand
    เสริมศักยภาพองค์กร ด้วยการใช้เทคโนโลยี Chatbot

    Chatbot จุดเริ่มต้นของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาคอุตสาหกรรม การแชทผ่านแอพฯ ในปัจจุบัน เป็นช่องทางที่หลายๆ คนเลือกใช้เป็นช่องทางหลักมากกว่าการโทร หรือส่งอีเมล ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถตอบกลับกันได้อย่างทันที ซึ่งการใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะไม่ได้พบเจออุปสรรคมากนัก  แต่การใช้งานในระดับองค์กรที่ต้องรับข้อความวันละหลายร้อยข้อความ นับว่าเป็นปัญหาที่หนัก และต้องใช้แรงานคนเข้ามาจัดการจำนวนมากเลยทีเดียว การนำระบบแชทบอท...

  • DAAT
    เทรนด์โฆษณาดิจิทัล ธุรกิจความงามเติบโตสูงสุด

    ศุภชัย ปาจริยานนท์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) สื่อโฆษณาดิจิทัลเป็นสื่อที่มีบทบาทมากขึ้นในยุคการตลาด 4.0 อีกทั้งรูปแบบของการโฆษณาดิจิทัลก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

  • GOOGLE-MOBILESITE
    โมบายล์ไซต์ เชื่อมต่อการค้าบนเดสก์ท็อป

    กิลาน เลอ ฌาเตลิเยร์  ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โซลูชันส์การตลาด Google ไม่กี่ปีที่ผ่านมา...