ดีไซน์แบบสตาร์ทอัพ วิธีคิดที่มาก่อนดีไซเนอร์

กอร์ดอน แคนเดอลิน ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ จาก  www.fclty.com

กอร์ดอน แคนเดอลิน ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ จาก www.fclty.com

ความน่าสนใจในการออกแบบผลงานให้น่าใช้งาน สบายตา ไม่ซับซ้อนต่อการใช้งาน น่าจะเป็นคอนเซ็ปต์ที่บรรดาสตาร์ทอัพทั้งหลายเลือกใช้งาน แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีทักษะในเรื่องของการออกแบบ ทำให้ยังคงเป็นปัญหาในช่วงเริ่มต้นที่ต้องค่อยๆ พัฒนาและปรับให้ตรงจุดไปได้มากที่สุด ถึงแม้ว่าทฤษฎีในการออกแบบจะมีมากมายให้นำมาเลือกใช้ แต่การทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะกับเหล่า Non Designer ที่ไม่รู้จะจับจุดไหนมาเริ่ม หรือสร้างความกลมกลืนอย่างไรให้ถูกจริตกับผู้ใช้งานมากที่สุด

หลักการออกแบบสองขั้นตอน Big “D”, Little “d”
คำว่า Design หรือการออกแบบ ไม่ใช่แค่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่แต่เพียงอย่างเดียว เพราะว่ามันเป็นการตอบโจทย์และพัฒนาประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมหรือมุมมองต่างๆ ในอนาคตอีกด้วย ดังนั้น การออกแบบจึงไม่ใช่การวาดภาพ หรือเลือกสีสันแต่เพียงอย่างเดียว

กอร์ดอน แคนเดอลิน ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ จาก www.fclty.com กล่าวว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นขั้นตอนที่มีปัญหาอย่างมากในการทำงาน เนื่องจากต้องมีกระบวนการคิดเพื่อตอบโจทย์ที่ต้องการ ซึ่งความคิดนั้นต้องถูกตีความจากหลายมุมมอง หลายประสบการณ์ เพื่อให้มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด เป็นการคิดให้มีความเข้าใจไม่ใช่เป็นเพียงแค่ไอเดียที่เกิดขึ้นมาจากจินตนาการ

C4วิธีการคิดแบบ Big “D” คือการคิด เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกระดับ Insight มาตอบโจทย์ เกิดจากการค้นหาข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อมโยง โดยมาจากผู้เกี่ยวข้องทั้งกลุ่มคน ข้อมูล และการรีเสิร์ช และนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งแน่นอนว่าจะได้รับข้อมูลมหาศาล ดังนั้น จึงต้องมีการคัดกรอง เพื่อหาสิ่งที่สำคัญที่สุดและครอบคลุมที่สุด เรียกได้ว่า วิธีคิดแบบ Big “D” จะเป็นขั้นตอนเพื่อหาหัวใจสำคัญของการออกแบบชิ้นงานนั้น

เมื่อเข้าใจและรับรู้ถึงหัวใจสำคัญของงานนั้นๆ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกพัฒนาออกมาเป็น Little “d” ซึ่ง Little “d” นั้นจะสามารถเป็นอะไรก็ได้ มีรูปแบบ ฟังก์ชั่น การทำงานอย่างอิสระ โดยส่วนนี้จะใช้งานไอเดียได้อย่างเต็มที่โดยอยู่ในกรอบของ Big “D”

C2

จากไอเดียที่มีมากกว่า 100 รายการ ถูกลดทอนตามประเภท จนถึงความจะเป็นที่ตอบไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนได้มากที่สุด และถูกนำมารวมกัน ถึงแม้ข้อมูลในการเริ่มต้นจะมีมากมาย ต้องหาสิ่งที่ตรงใจกับผู้ใช้งานให้เจอ

ใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคนผสมผสานออกเป็นชิ้นงาน
เมื่อพูดถึงทฤษฎีอาจจะยังไม่เห็นภาพเท่าที่ควรในงาน Thailand Startup Week ทีผ่านมากอร์ดอนก็ได้มีการเปิดเวิร์กช้อปในหัวข้อ Designing for Non-Designers เพื่อให้ได้นำการคิดแบบ Big “D”, Little “d” ถ่ายทอดสู่ผู้ที่สนใจ และนำมาประยุกต์ใช้จริงในเวลาจำกัดเพียง 2 ชั่วโมงอีกด้วย โดยกิจกรรมคือ การแบ่งกลุ่มย่อยๆ 5 – 6 คน และสมาชิกมีความหลากหลายทางอาชีพ เพศ และอายุ เพื่อสร้างชิ้นงานกับโจทย์ “ออกแบบยานอวกาศ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตบนอวกาศ”

C3ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้การสอบถามข้อมูลอาจจะไม่ได้ครบถ้วนเท่าที่ควร จึงต้องนำความหลากหลายที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สมาชิกในกลุ่มต้องลิสต์ความต้องการออกมาเท่าที่จะคิดได้ โดยไม่ได้มีการกำหนดขอบเขตใดๆ เรียกได้ว่าไม่ต้องคิดเยอะ และเขียนลงบนกระดาษโพสอิท ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้ความต้องการต่างๆ มากกว่า 100 ไอเดีย ซึ่งหลังจากนั้นก็นำไอเดียเหล่านี้มาแบ่งกลุ่มตามประเภท อาทิ ความบันเทิง การศึกษา สุขภาพ หรืออื่นๆ โดยหลังจากการจัดกลุ่มของความคิดแล้วแต่ละคนต้องเลือกไอเดียที่ต้องการที่สุดคนละ 2 อย่าง

จากไอเดียที่มีมากกว่า 100 รายการ ถูกลดทอนตามประเภท จนถึงความจะเป็นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนได้มากที่สุด และถูกนำมารวมกัน จนเป็นใจความสำคัญของผู้ใช้งาน เรียกได้ว่าเป็นการใช้ Big “D” ที่มีเวลาจำกัดแต่เห็นภาพได้ชัดทีเดียว สุดท้ายแล้วถึงแม้ข้อมูลในการเริ่มต้นจะมีมากมาย ต้องหาสิ่งที่ตรงใจกับผู้ใช้งานให้เจอ

C5Big “D” ของแต่ละกลุ่มมีทั้งโรงพยาบาลยานอวกาศ ยานอวกาศทัวร์ราคาถูก ยานอวกาศที่รวบรวมความบันเทิงเต็มรูปแบบ ซึ่งแต่ละไอเดียนี้ จะถูกถ่ายทอดออกมาเป็น Little “d” ด้วยอุปกรณ์ กระดาษ เชือก แกนทิชชู่ และหลอด ซึ่งแน่นอนว่ารูปร่างต่างๆ จะมีดีไซน์ที่เหนือจินตนาการ แต่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตบนอวกาศอย่างแน่นอน

เห็นได้ว่า กว่าจะเกิดเป็นการออกแบบแต่ละอย่างๆ ไม่ใช่แค่คิดเพียงหนึ่งครั้ง แล้วจะสร้างสรรค์ออกมาได้เลย ขั้นตอนที่สำคัญจริงๆ แล้วอยู่ในช่วงแรกที่หาข้อมูล เพื่อค้นให้เจอว่าต้องการอะไร และขั้นตอนสร้างสรรค์อื่นๆ ก็จะตามมา เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

C6ประยุกต์ทฤษฎีเป็นผลงานให้ตอบโจทย์การใช้งานจริง
เชื่อได้ว่าการออกแบบมีอยู่ในทุกวงการ และหลายๆ ครั้ง เราเองก็ได้ยินถึงการปฏิวัติวงการออกแบบ ซึ่งทุกๆ คนสามารถเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ นี้ได้ ด้วยการนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ให้ใช้งานได้จริงๆ

ข้อแนะนำสำหรับสตาร์ทอัพที่ต้องการนำแนวคิดนี้ไปใช้

  • ในทีมควรมีการรวมกันจากหลากหลายสายอาชีพ เพื่อจะทำให้ได้หลากหลายมุมมอง เพราะ ประสบการณ์ของแต่ละคนจะบอกถึงความต้องการได้อย่างดี
  • การเปิดใจ พูดคุย และรับฟัง เพื่อต่อยอดเป็นสิ่งสำคัญ
  • ความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ เมื่อพลาดให้ลองคิดทบทวนถึงความผิดพลาดและเร่งแก้ไข พร้อมพัฒนาต่ออย่างรวดเร็ว

“เพราะทุกคนไม่ได้เป็นนักออกแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงกฎเกณฑ์จึงไม่ใช่เรื่องที่สำคัญ แต่เมื่อต้องนำมาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะกับเหล่าสตาร์ทอัพ แน่นอนว่าดีไซน์ที่สะดุดตาและใช้งานง่ายเป็นสิ่งสำคัญ ไม่จะเป็นต้องคิดเยอะ แต่ต้องเปิดใจ รับฟังและพูดคุยให้มาก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์และเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง” กอร์ดอน กล่าว

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ธนาคารกรุงเทพรับสมัครสตาร์ตอัพ เข้าโครงการ Bangkok Bank InnoHub Season 2

ธนาคารกรุงเทพร่วมกับบริษัท Nest ที่มากด้วยประสบการณ์ด้านสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค ค้นหาธุรกิจสตาร์ทอัพ 5 กลุ่ม …