ตลาดเกมคึกคักในเอเชีย สตูดิโอหน้าใหม่ผงาดพร้อมผลงานที่น่าจับตามองในปี 2015

ปี 2014 ที่ผ่านมาก็นับว่าเป็นอะไรที่น่าทึ่งในธุรกิจเกม โดยเฉพาะเกมบนสมาร์ทโฟน ที่ทำให้รูปแบบของการเล่นเกมแบบเดิมนั้นเปลี่ยนไป ในแง่ของการสร้างรายได้จาก In-app Purchase หรือ Intensive Awards ได้รับความนิยมอย่างมากในแพลตฟอร์มของสมาร์ทโฟน อีกทั้งระบบ Ecosystem ของ Application Store เองทั้ง Android และ iOS ต่างก็มีการขยายตัวสอดคล้องกับจำนวนของสมาร์ทโฟนที่นับวันราคาไม่ใช่เรื่องใหญ่ถ้าเทียบกับรสนิยม ประกอบกับผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับ Online Payment และ Mobile Payment ที่ Shortcut หรือตบส่วนยุ่งยากในเรื่องการจ่ายเงินให้ง่ายลงไป ธุรกิจของเกมที่หารายได้กับ In-app Purchase ก็ยิ่งมีโอกาสสร้างกำไรมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม

Prirate Kings / อิสราเอง

Prirate Kings / อิสราเอล

Myanmar Sittuyin / พม่า

Myanmar Sittuyin / พม่า

Pawthoot / พม่า

Pawthoot / พม่า

Run Run Super V / ฟิลิปปินส์

Run Run Super V / ฟิลิปปินส์

ดังนั้น ปัญหาไม่ใช่รูปแบบ และ User Flow ของการจะได้มาซึ่ง “เงิน” จากของในเกม หรือ Business Model เพียงอย่างเดียวแล้ว เมื่อผู้บริโภคสามารถเลือกและตัดสินใจที่จะซื้อ ปัญหาที่ควรจะนำไปขบคิดก็น่าจะเป็นเรื่อง Game Design, Story Design หรือ Game Play ที่ทำอย่างไร User Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานนั้นจะดีขึ้นเพื่อเล่นเกมของเรา เพราะเมื่อผู้ใช้ชื่นชอบในองค์ประกอบที่ว่ามาข้างต้นในเกมของเราแล้ว เรื่อง “เงินเงินทองทอง” ก็จะตามมาภายหลัง

สรุปได้เลยว่า ปี 2014 เป็นปีทองของนักพัฒนาเกมที่ได้ข้อมูลน่าสนใจที่ว่า ผู้ใช้งานกล้าที่จะลงทุนกับเกมที่ชอบ และกล้าที่จะจ่ายเงินผ่านช่องทาง Mobile Payment กันมากขึ้นแล้ว

ปี 2015 นี้เองก็มีเรื่องน่าสนใจปรากฏขึ้นต้อนรับต้นปีกันเลยทีเดียว เมื่อธุรกิจเกมนั้นยังคงคึกคัก ขยายตัวสัดส่วนทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยอ้างอิงจากสถิติงานวิจัยของ New Zoo Game Market Research, 2014, “Trends and insights towards a $100 billions global market in 2017” ได้สถิติของตลาดเกมแบ่งตามทวีปใหญ่ๆ

ตลาดของเกมนั้น ในเอเชียมีสัดส่วนของรายได้หมุนเวียนโดยรวมมากที่สุดในโลก คือร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับสัดส่วนของอเมริกาที่สตูดิโอใหญ่ๆ ที่พัฒนาเกมก็มีจำนวนมากแต่กลับกินสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 27 อาจจะเป็นไปได้ว่า ตลาดของนักพัฒนาทั่วโลกนั้นคือ เอเชีย หากเราลองนำข้อมูลในเอเชียมาขยายดูเฉพาะในเรื่องของแพลตฟอร์มอุปกรณ์เล่นเกม เราจะเห็นแนวโน้มที่น่าสนใจในตลาดของเกมบนสมาร์ทโฟน หรือ Mobile Game โดยอ้างอิงจากสถิติงานวิจัยเดิมของ New Zoo Game Market Research จากตัวเลขสถิติข้างต้น

แนวโน้มที่ยืนยันชัดเจนในส่วนของตลาดเกม Mobile กำลังเติบโตขึ้น คือ แนวโน้มของเกมคอนโซล (Console Game) และเกมบน PC ธรรมดาที่มีตัวเลขที่ลดลงอย่างชัดเจน แม้ว่าตลาดของ Console อาจจะอยู่ในสัดส่วนที่มากกว่า แพลตฟอร์มอื่นๆ ก็ตาม แต่ถ้าดูแนวโน้มแล้วมีทีท่าว่าจะลดลงเรื่อยๆ เช่นกันกับเกมออนไลน์ MMO (Massive Multiplayer Online) นั้นตลาดยังคงคึกคักอยู่แต่ก็กำลังจะโดนแทนที่ด้วย Mobile เกมหากเทียบ Forecast ประมาณการณ์ตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2017 กลายเป็นว่า Mobile Game ในตอนนี้สามารถขยายสัดส่วนของตลาดได้กว้างมากกว่าเดิม และมีโอกาสเติบโตจาก 20 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2015 ไปจนถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2017 แบบเท่าตัว สรุปก็คือ ความนิยมในเอเชีย ณ ตอนนี้ก็จะมีแค่ Mobile Game กับ MMO Game ซึ่งในอนาคต Mobile ก็คงจะแซงหน้าได้สบาย

ตลาดเกมที่ไม่ได้มีแต่ Big Player มาดูกันหน่อยว่าเกมจากนักพัฒนาอิสระ เกมไหนที่น่าจับตามองตอนนี้
หากเรามาดูแนวโน้มของธุรกิจเกมในตอนนี้จะพบว่า Big Player หรือบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ที่ครองตลาดมานานอย่าง Square Enix, Zynga และอื่นๆ ที่เราคุ้นชื่อมาโดยตลอดเริ่มหวั่นใจกันมากขึ้น เพราะเกมที่ปรากฏว่าเป็นเกมที่น่าจับตามองนั้นกลับเป็นผลงานคุณภาพที่เกิด จากเหล่านักพัฒนาอิสระ หรือ Indie Game Studio ที่มาจาก Startups หน้าใหม่ทั้งสิ้น กรณีที่เห็นชัดที่สุดคือ ประเทศอิสราเอล กับเกมที่ได้รับความนิยมล้นหลามในเอเชียตอนนี้อย่าง Pirate Kings เป็นต้น

Pirate Kings เมื่ออิสราเอลผงาด
ด้วยการเล่นที่เข้าใจง่าย แค่ปั่นวงล้อเพื่อรับทอง และโจมตีผู้เล่นคนอื่น ด้วยการเล่นผ่านปุ่มๆ เดียว โดยความท้าทายเกิดขึ้นในคำถามที่ว่า ทำไมเกมต้องมี Option มากมายในการเล่น คิดอะไรยากๆ ขอแค่สนุกก็เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อประสบการณ์ของผู้เล่นให้เกิดแรงจูงใจบนพื้นฐานของ ความสนุก ก็สามารถที่จะสร้าง Loyalty ให้กับเกมได้ง่ายจากตัวผู้เล่นเองแบบปากต่อปาก หากสังเกตสัดส่วนการใช้สื่อ และ Viral Marketing ของเกม Pirate Kings นี้นั้น Viral และการ Invite Friends ประสบความสำเร็จมากกว่าลงทุนผ่านสื่อ เมื่อเทียบกับกระแสบอกต่อของมันจากสื่อสังคมออนไลน์

Puppet Punch

Puppet Punch / อินเดีย

ตลาดของเกมในประเทศอินเดียกำลังเติบโตด้วยเกมที่พัฒนาจากสตูดิโอในประเทศตัว เอง โดยเฉพาะ Startups หน้าใหม่อย่าง Mech Mocha ที่พัฒนาเกม Puppet Punch (เปิดตัวเดือนตุลาคม 2014)  ขึ้นมาตีสัดส่วนของ Big Player กลับคืนมาในประเทศ และตอนนี้กำลังตีตลาดเอเชีย

Run Run Super V เมื่อฟิลิปปินส์เข้าใจวัยเด็ก
เกมบนแพลตฟอร์ม Android กับไอเดียที่เข้าใจ Buyer Journey (ผู้บริโภคที่สุ่มหาเกมสนุกฆ่าเวลา) ให้กลายเป็น Hardcore ของเกม โดยการเข้าใจพื้นฐานของผู้เล่นเฉพาะกลุ่มช่วงอายุ 22-45 ปี ดีในแง่ของคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อชัดเจน และพร้อมจะใช้บริการ In-app Purchase ร่วมกับตัวละคร และ Game Design ที่ออกมาทางขบวนการ 5 สีของญี่ปุ่นอย่าง Sentai Heroes ประเด็นคือ ผู้พัฒนาเกม Run Run Super V นี้ไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างไร กลับเป็นสตูดิโออิสระจากประเทศฟิลิปปินส์ ที่เข้าอกเข้าใจคนวัยเดียวกัน หรือจะบอกตรงๆ ว่าเข้าอกเข้าใจผู้บริโภคตามช่วงอายุผ่าน Segment Marketing SLA ได้เป็นอย่างดี จุดเด่นการเล่นก็เหมือน Cookie Run แบบ Infinite Running Game ทั่วไป เพียงแค่มีการจัดกลุ่มเพื่อนๆ ของเราให้กลายเป็นขบวนการเดียวกัน กิมมิกเล็กๆ น้อยๆ เข้าใจผู้บริโภคตรงนี้ที่ทำให้เกมสัญชาติฟิลิปปินส์นี้ได้ยกย่องว่าเป็นเกมที่น่าจับตามองในปี 2015 ไปโดยปริยาย

e196

ฉบับที่ 196 เดือนเมษายน

ซื้อ-ขายใน AEC+6 ด้วยโมบายล์

เกมจากเมียนมาร์มาแรง Myanmar Sittuyin, Pawthoot
สตูดิโอน้องใหม่ม้ามืด ที่ได้ยกย่องจากเว็บไซต์ Tech in Asia และ Tech Radars ตอนนี้คือ สตูดิโอสัญชาติเมียนมาร์ หรือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) ชื่อว่า Total Gameplay Studio ที่ได้ฉายาว่าม้ามืดก็เพราะว่า เกมที่นำขึ้น Play Store, App Store แต่ละเกมนั้น คุณภาพเทียบเคียงเกมจากค่ายอินเตอร์ใหญ่ๆ ได้เลยทีเดียว ประกอบกับตลาดแอพพลิเคชั่นนอกระบบที่ทางบริษัท Total Gameplay Studio นำขึ้นก็ได้รับเสียงตอบรับได้อย่างดี ในภาพประกอบข้างต้นคือ รายชื่อเกมทั้งหมดที่มีให้ดาวน์โหลดไปเล่นกัน อย่าง Pawthoot กับการเล่นแบบ Infinite Runner เหมือน Subway Surfers เป็นต้น และเกมอื่นๆ อย่าง Myanmar Sittuyin

เกม Myanmar Sittuyin การเล่นเป็นแบบ Chess หรือหมากรุก โดยมีการต่อสู้ระหว่าง 2 ฝ่ายในเหตุการณ์ยุทธหัตถี นับว่าเป็นการพัฒนาเกมสไตล์อินเตอร์ผ่านศิลปวัฒนธรรมของชาติตัวเองได้อย่าง ลงตัว และยังมีโปรเจ็กต์ที่กำลังเริ่มต้นพัฒนาที่น่าจับตามองใน Tech in Asia อยู่อีกเกมคือ Age of Bayintnaung ที่หยิบยกชื่อของบุเรงนองมาทำเป็นเกม โดยมีการเล่นแนว Crash of Clans อาจจะอยู่ในรูปแบบ MMO

กลายเป็นว่า สตูดิโอจากประเทศเพื่อนบ้านรายนี้กำลังถูดพูดถึงในแง่ของการขยายตัว และผลงานที่น่าจับตามองมากที่สุดในเอเชียฐานะ “ผู้เล่นใหม่” (New Player) ที่ทำ Top Score ชนะใจกรรมการ

สิงคโปร์ซุ่มเงียบ เกมเชิงทดลองตลาด Masquerada: Songs and Shadows
แม้ว่าสิงคโปร์นั้นจะมีเกมบน Mobile มาให้เราผ่านหน้าผ่านตามาก็เยอะแล้ว ในปี 2015 กลับเป็นปีที่สิงคโปร์จะย้ายโปรเจ็กต์เชิงทดลองตัวนี้กลับไปอยู่ในตลาดของ MMO โดยมีแผน Mile Stone ว่าถ้าได้รับความนิยมจะทำการ Port ลง Mobile ทันทีกับเกม MMO RPG คุณภาพในแง่ของการเล่นอย่าง Masquerade: Songs and Shadows จาก Witching Hour Studios รูปแบบ 2D มิติที่ไม่กินทรัพยากรของเครื่อง เน้น Game Play ที่เข้าใจผู้เล่นมากขึ้น อาจจะเป็นการ Benchmark เพื่อเปรียบเทียบตลาดของ MMO และ Mobile โดยแผนการเปิดตัวเกม Masquerade: Songs and Shadows วางไว้ที่ปี 2016 นับว่าเป็นการทดลองในแง่ของ Market Share ตลาดเกมแบบหนึ่ง ที่น่าจะมีสื่อหลากหลายสำนักจับตามองอยู่ก็เป็นได้

Puppet Punch สตูดิโอหน้าใหม่จากอินเดีย
รู้หรือไม่ว่าธุรกิจเกมในประเทศอินเดียตอนนี้ทำรายได้ไปมากกว่า 890 ล้านเหรียญสหรัฐ [1] เทียบคู่กับ Big Player อย่าง Zynga และ Ubisoft ในสาขาของประเทศอินเดีย ในตอนนี้ ตลาดของเกมในประเทศอินเดียกำลังเติบโตด้วยเกมที่พัฒนาจากสตูดิโอในประเทศตัว เอง โดยเฉพาะ Startups หน้าใหม่อย่าง Mech Mocha ที่พัฒนาเกม Puppet Punch (เปิดตัวเดือนตุลาคม 2014) ขึ้นมาตีสัดส่วนของ Big Player กลับคืนมาในประเทศ และตอนนี้กำลังตีตลาดเอเชีย

รูปแบบการเล่นเกม Puppet Punch นั้นมีรูปแบบใกล้เคียงกับ Fruit Ninja และ Jetpack Joyride ที่เน้นการเล่นเกมที่จบเร็ว ลดความยืดเยื้อบนสมาร์ทโฟน สำหรับกลุ่มคนทำงานที่ต้องอาศัยการเดินทางระหว่างบ้าน และที่ทำงาน ช่วงอายุที่วิเคราะห์มาดีคือ 25 ปีโดยเฉลี่ย ตามสภาพแวดล้อมของประเทศตัวเอง (แตกต่างกับประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และไทย ที่เน้นฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ แบบยืดเยื้อ) นับเป็นเหตุผลหลักที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของประเทศอินเดียที่ แม้จะมี Startups พัฒนาเกมบน Mobile เปิดตัวมากมายเป็นร้อยในประเทศอินเดีย แต่ไอเดียของการผู้เล่นมาก่อน และเข้าใจผู้เล่นดีกับรูปแบบเกมที่ผสมผสานกัน ก็ทำให้ไอเดียของสตูดิโอ Mech Mocha นี้ชนะใจแซงหน้าสตูดิโออื่นๆ ที่เปิดก่อนกับแนวเกมที่แทบจะคล้ายคลึงเกมดังๆ ใน Store ทำให้สตูดิโอนี้กลายเป็นหน้าใหม่ที่น่าจับตามองในเอเชียไปทันที

ตลาด Startups เกมสตูอิโอหน้าใหม่ของประเทศไทย?
ประเทศไทยส่วนมากนั้น สตูดิโอใหญ่ๆ ที่รับพัฒนาเกมจะอยู่ในฐานของ Outsource เสียส่วนมากที่แฝงอยู่ในความสำเร็จของ Big Player แต่สตูดิโอของประเทศไทยอย่าง Startups ทั้งหลายกลับทำกำไรในสถานะของ Published หรือ Game Provider เสียมากกว่า ดังนั้น อาจจะนำมาเป็นผลงานเทียบชั้นยังคงไม่ได้ แม้จะมีกลุ่มนักพัฒนามากหน้าหลายตาที่กำลังวิ่งวุ่นในการหา VC (Venture Capital) อยู่ตอนนี้ก็ตาม สังเกตจากงาน Mobile Monday ทุกครั้งที่ได้เข้าร่วม และพบเจอกลุ่มนักพัฒนาอิสระเหล่านี้ อีกทั้งโอกาสในการประกวด และโครงการในการผลักดันนั้น ประเทศไทยยังคงให้ความสนับสนุนไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เลยกลายเป็นว่า สตูดิโอเกมหน้าใหม่ของประเทศไทย เลยได้รับความนิยมในรูปแบบ Outsource แทนเสียมากกว่า

แต่อย่าเสียใจไปเลยครับ เรายังเหลือเวลาให้สู้ หรือผลักดันกันอีกตั้ง 2-3 ปี เพราะแนวโน้มของ Mobile Game นั้นก็ดูจะไม่มีท่าทีว่าจะลดลงง่ายๆ เพียงอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ และองค์กรสนับสนุนธุรกิจเกมอย่างจริงๆ จังมากกว่า จะเป็นแค่ผู้ให้บริการที่ซื้อเกม MMO มาแปลภาษาไทย เพราะนั่นไม่ใช่การขยายธุรกิจเกมให้คึกคักพร้อมกับพัฒนาสตูดิโอเกมหน้าใหม่ เพราะถ้าให้ตอบแบบเหน็บแนม ก็จะได้ว่า “มันก็แค่สร้างผู้เล่นขนาดใหญ่ให้ ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียมากอบโกยเงินจากเราแค่นั้นครับ”

Contributor

banyapol2

บัญญพนต์ พูนสวัสดิ์

อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,นักเทคโนโลยีการศึกษา ชำนาญการด้าน Blended Learning และ Game-Based Learning ควบตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท เดย์เดฟ จำกัด ที่ปรึกษาด้านธุรกิจดิจิทัลด้วยประสบการณ์ในสายงานมากกว่า 10 ปี

Facebook: banyapon

Website: www.daydev.com

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

CHATBOT
ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต

ว่าด้วยเรื่องของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อกฎขึ้นมาในวงสนทนาเมื่อไร มักจะถูกคนทั่วไปมองหน้าเอาว่า นี่มันคือพวกเนิร์ด (Nerd) หรือกี๊ก (Geek) บ้าคอมฯ และพูดอะไรเข้าใจอยากแบบมนุษย์ต่างดาวแน่นอน ไม่ต้องแปลกใจครับ หลายคนมักเข้าใจว่าภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นภาษาที่คนทั่วไปไม่น่าจะเข้าใจได้ง่าย...