ผลสำรวจชี้คนไทย ใช้จ่ายผ่านโมบายล์สูงขึ้น

สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย

ยอดใช้จ่ายออนไลน์ทั้งหมดของประเทศไทยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2559 และยอดการซื้อสินค้าออนไลน์จากเว็บไซต์ของไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 84 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2560

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยมีสัดส่วนการซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศผ่านอุปกรณ์มือถือ เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีน ซึ่งการที่ผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์ จะช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้

การใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์กำลังมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
จากการสำรวจพบว่า ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 และจากกลุ่มผู้ซื้อสินค้าออนไลน์เหล่านั้นราว 82 เปอร์เซ็นต์ มองว่าความสะดวกสบายของการซื้อสินค้าออนไลน์ น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาหันไปใช้จ่ายด้วยวิธีนี้มากขึ้น ส่วน 37 เปอร์เซ็นต์ มองว่า การส่งของที่รวดเร็วเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลัก และ 35 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่า ซึ่งเหตุผลดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ และคาดว่าในปี 2560 นี้ พวกเขาจะหันมาใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคในประเทศไทยต่างหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซเพื่อทำกิจธุระประจำวันมากขึ้น โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จากจำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศกว่า 54 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะซื้อสินค้าในหมวดหมู่ประเภทแฟชั่นมากที่สุด อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับ ตามมาด้วยสินค้าในหมวดหมู่การศึกษาและสื่อบันเทิง ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค 39 เปอร์เซ็นต์

แต่อย่างไรก็ตาม สินค้า 3 ประเภทที่คาดว่าจะมีการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือน สินค้าบริโภค และสินค้าสำหรับเด็ก ที่มีการเติบโต 24 เปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็นต์ และ 16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

เทรนด์การใช้จ่ายผ่านอุปกรณ์มือถือของคนไทยกำลังเป็นที่นิยม
จากการสำรวจในหลายประเทศพบว่า ประเทศจีนและประเทศไทยมีผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศที่นิยมซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถือมากที่สุด โดยกว่า 47 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ชาวจีนที่ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ จะซื้อสินค้าผ่านแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ส่วนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์จากประเทศไทยกว่า 46 เปอร์เซ็นต์ นิยมซื้อสินค้าข้ามประเทศผ่านอุปกรณ์มือถือ ทั้งนี้จากข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด โดยเฉลี่ยจะมีผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศที่ซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถืออยู่ที่ประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนสูงถึง 27 เปอร์เซ็นต์

ฉบับที่ 219 เดือนมีนาคม

ยุค IoT ของพลเมืองสูงวัย

 

จากจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ทาง PayPal ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2560 นี้ ยอดการซื้อ-ขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือจะเพิ่มขึ้นจาก 141.7 พันล้านบาท ในปี 2559 มาเป็น 173.6 พันล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนอุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น ผนวกกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุปกรณ์มือถือใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การซื้อ-ขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือนั้นเป็นทั้งประสบการณ์ และโอกาสทางธุรกิจทั้งสำหรับผู้ซื้อและผู้ค้าขายออนไลน์

“อินเทอร์เน็ตและการใช้อุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น กำลังปฏิวัติรูปแบบการค้าปลีกแบบเดิมๆ ทำให้การซื้อ-ขายนั้นไร้พรมแดนมากขึ้น และนี่คือโอกาสครั้งใหญ่ของธุรกิจไทยในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก ข้อมูลจากผลสำรวจ PayPal พบว่า ช่องทางในการเติบโตนั้นยังมีอีกมากในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกโดยปราศจากต้นทุนที่สูงเหมือนการขยายสาขาแบบดั้งเดิม” สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย กล่าว

ค่าขนส่งและการจ่ายภาษี ยังเป็นอุปสรรคของการช้อปปิ้งออนไลน์
ถึงแม้ว่าการซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่เป็นปัญหา เพราะกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สำรวจทั้งหมดระบุว่า ค่าขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ไม่สามารถซื้อของข้ามประเทศได้บ่อยครั้งเท่าที่ควร ส่วนปัจจัยรองลงมาก็คือ การจ่ายค่าภาษีศุลกากร และความชัดเจนของอัตราภาษีศุลกากร ที่มีสัดส่วนราว 44 เปอร์เซ็นต์ และ 42 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดั้งนั้นร้านค้าควรจะหาช่องทางที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและกล้าซื้อสินค้ามากขึ้น

ทั้งนี้ PayPal เองก็มีบริการที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ชอบซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น Refunded Returns การคืนเงินค่าจัดส่ง ที่ให้สูงสุด 15 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับสินค้าที่เข้าร่วม

บริการ Buyer Protection การคุ้มครองผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์มีความมั่นใจทุกครั้งในการช้อปปิ้ง และก้าวข้ามข้อจำกัดในการตัดสินใจที่จะซื้อในแต่ละครั้ง ซึ่งนโยบายนี้ครอบคลุมการซื้อในกลุ่มสินค้าที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไฟล์เพลงดิจิทัล อีบุ๊ก เกม และการโหลดซอฟต์แวร์ ตลอดจนยังมีนโยบายคุ้มครองผู้ขายด้วยเช่นเดียวกันที่เรียกว่า Seller Protection ที่จะคุ้มครองผู้ขายจากการถูกหลอกลวงด้านธุรกรรมออนไลน์

การปรับตัวของผู้ค้าออนไลน์สร้างโอกาสการแข่งขันและเติบโต
ในงานสัมมนาหัวข้อ Payment Gateway Ecosystem ทางด้าน นภัสกร วิบูลย์ศรีสัจจะ รองประธานด้านการตลาด โพเมโล แฟชั่น เล่าว่า จากการศึกษาตลาดแฟชั่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้มองเห็นถึงโอกาสของตลาดในประเทศไทย ที่คนเริ่มหันมาซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น และประเทศไทยเองก็มีความสามารถในการเป็น Hub (ฮับ) ทางด้านแฟชั่นในแถบอาเซียนนี้ได้ โพเมโล จึงอยากเข้ามาตอบโจทย์ตรงจุดนี้ โดยในระยะแรกเน้นการทำตลาดผ่านช่องทาง Facebook เพียงอย่างเดียว และมองว่าถ้าสินค้าสวย มีรูปแบบและโมเดลที่ดี คนก็จะให้ความสนใจ จากนั้นการประชาสัมพันธ์ก็จะง่าย และเป็นช่องทางที่สามารถขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง

นภัสกร วิบูลย์ศรีสัจจะ รองประธานด้านการตลาด โพเมโล แฟชั่น

ในขณะที่ปัจจุบัน โพเมโล มีฐานหลักอยู่ที่ประเทศไทย แต่ได้มีการขยายสาขาไปยังประเทศสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย พร้อมกับแผนในการขยายออกไป 1 ประเทศทุกปี และมีจำนวนคนที่เข้าชมเว็บไซต์มากกว่า 2 แสนคนต่อเดือน และยังเพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน โดยที่ผ่านมาการทำตลาดในประเทศไทยมีความยากมากที่สุด เพราะมีคู่แข่งจำนวนมาก มีระดับราคาหลากหลาย ซึ่งจะต้องเน้นไปที่การบริการลูกค้า และการโต้ตอบกับลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ

“คนไทยชอบการพูดคุย เพราะบางครั้งรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ราคา ไซส์ เราระบุไว้ชัดเจนหมดแล้ว แต่ก็ยังมีที่ชอบเข้ามาถาม ซึ่งเรื่องนี้เราอย่าไปมองว่าเราระบุไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องตอบ แต่เราต้องยิ่งตอบให้เร็วที่สุด เพราะหากทำได้ โอกาสปิดการขายจะสูงมาก ถ้าช้าไปแค่ไม่กี่ชั่วโมง ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจ”

ทั้งนี้ โพเมโล มีการสร้างความแตกต่างของแบรนด์ที่ช่วยสร้างความพอใจให้กับลูกค้าได้มากที่สุด เช่น นโยบายการรับประกันและคืนสินค้าที่ยาวนานถึง 1 ปี ถ้าหากไม่ตัดป้ายออก หรือไม่ได้ใส่ก็สามารถรับเงินคืน ซึ่งในวงการแฟชั่นส่วนใหญ่ยังไม่มีแบรนด์ใดทำ

“ระบบรับชำระเงินนั้น เราได้เตรียมไว้รองรับในหลากหลายรูปแบบ โดยช่วงแรกจะมาจากการแชตผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่เราก็ต้องมาคอยจัดการสั่งสินค้าให้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวส่งผลให้ต้องเพิ่มจำนวนคน จึงคิดว่าไม่ใช่แนวทางที่ดีของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ดังนั้นจึงต้องไปให้ความรู้กับลูกค้าเพื่อให้เกิดการสั่งซื้อด้วยตนเอง ทำให้ในช่วงแรกอาจมีติดขัดบ้าง ซึ่งก็ต้องตัดใจไม่รับออเดอร์ใดๆ เลย แต่ท้ายที่สุดแล้วก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดี ปัญหาส่วนใหญ่ของคนไทยคือยังไม่ชิน หรือยังไม่มั่นใจกับการใช้งานบัตรเครดิตในการซื้อสินค้าออนไลน์ ดังนั้นต้องเข้าไปสนับสนุน ให้ความรู้ความเข้าใจ สุดท้ายจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายกับทุกฝ่าย ซึ่งทุกวันนี้ได้มีช่องทางการชำระเงินแบบดิจิทัลเพิ่มเข้ามาก็ยิ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกมากขึ้น” นภัสกร กล่าวทิ้งท้าย

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

chatbot
การแชทช่วยให้ข้อมูลสำคัญแก่ธุรกิจ

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล CEO บริษัท Mojito Technology แชทบอท กำลังกลายเป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้บริโภคจะใช้สื่อสารกับแบรนด์...

  • Chatbot-Thailand
    เสริมศักยภาพองค์กร ด้วยการใช้เทคโนโลยี Chatbot

    Chatbot จุดเริ่มต้นของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาคอุตสาหกรรม การแชทผ่านแอพฯ ในปัจจุบัน เป็นช่องทางที่หลายๆ คนเลือกใช้เป็นช่องทางหลักมากกว่าการโทร หรือส่งอีเมล ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถตอบกลับกันได้อย่างทันที ซึ่งการใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะไม่ได้พบเจออุปสรรคมากนัก  แต่การใช้งานในระดับองค์กรที่ต้องรับข้อความวันละหลายร้อยข้อความ นับว่าเป็นปัญหาที่หนัก และต้องใช้แรงานคนเข้ามาจัดการจำนวนมากเลยทีเดียว การนำระบบแชทบอท...

  • DAAT
    เทรนด์โฆษณาดิจิทัล ธุรกิจความงามเติบโตสูงสุด

    ศุภชัย ปาจริยานนท์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) สื่อโฆษณาดิจิทัลเป็นสื่อที่มีบทบาทมากขึ้นในยุคการตลาด 4.0 อีกทั้งรูปแบบของการโฆษณาดิจิทัลก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

  • GOOGLE-MOBILESITE
    โมบายล์ไซต์ เชื่อมต่อการค้าบนเดสก์ท็อป

    กิลาน เลอ ฌาเตลิเยร์  ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โซลูชันส์การตลาด Google ไม่กี่ปีที่ผ่านมา...