วัฒนธรรมสำหรับสตาร์ทอัพ ดันธุรกิจสู่ความสำเร็จ

Geir Windsvoll หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง Santora Nakama

Geir Windsvoll หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง Santora Nakama

การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการปลูกฝังวัฒนธรรมขององค์กรมีผลต่อความสำเร็จในธุรกิจสตาร์ทอัพ

ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของเหล่าสตาร์ทอัพ อาจไม่จำเป็นต้องทำงานหนักตลอดเวลา หรือให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการแต่งกาย มากไปกว่าการคำนึงถึงวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายสำคัญที่ผู้ก่อตั้งต้องการจะเป็น ซึ่งการสร้างวัฒนธรรมนั้น อาจหมายถึงการจัดวางสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม วิธีการสื่อสารของผู้นำที่สื่อถึงวิสัยทัศน์ผ่านค่านิยมและพฤติกรรมต่างๆ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันภายในทีม เพื่อนำพาองค์กรให้แข็งแกร่งและบรรลุเป้าหมาย

ความเชื่อช่วยสร้างวัฒนธรรม แบ่งปันความชอบให้คนในทีม
Geir Windsvoll หุ้นส่วนผู้ก่อตั้ง Santora Nakama กล่าวว่า สตาร์ทอัพจะต้องมีการร่วมมือและเรียนรู้บางอย่างเกี่ยวกับอำนาจทางธุรกิจ รวมถึงศึกษาว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่เหมาะสำหรับการสร้างวัฒนธรรมในสตาร์ทอัพ คือมุ่งไปที่จุดเริ่มต้นของการสร้างองค์กร ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเริ่มต้นธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงแรกที่จะต้องใช้เวลาในการทำงาน และสร้างให้คนในทีมมีแรงบันดาลใจ ด้วยการแบ่งปันความชอบให้กับคนในทีม ที่น่าสนใจคือ การมองว่าสิ่งที่ผู้ก่อตั้งทำนั้นเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่ใครที่จะมีความเชื่อมั่นในค่านิยมขององค์กรมาก่อนที่จะมีการร่วมมือกันก่อตั้งบริษัท ซึ่งการที่ได้เห็นสิ่งที่พวกเขาลงมือทำด้วยประสบการณ์จริง ทำให้ได้คำตอบว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และอะไรเป็นจุดยืนภายใต้ความกดดันที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล

“ความเชื่ออาจเกี่ยวกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังพูดถึง ซึ่งอาจเป็นแค่คำพูด หรือคำถามของการเริ่มต้นธุรกิจ และมันอาจฟังดูเหมือนบางอย่างที่น่าเชื่อถือ แต่หลังจากนั้นก็อาจจะมีปัญหาตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นอะไร และการตัดสินของคุณจะดีหรือไม่ อาจมีกลุ่มคนเสียงข้างน้อยที่จะจากคุณไปได้ทุกเวลา แต่ผมกลับพอใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะทำให้เกิดการเติบโตไปอย่างรวดเร็ว เหมือนกับการที่ผมเปลี่ยนทีม และเป็นเหตุผลว่าทำไมผมถึงพยายามทำให้มันอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของคุณค่า ซึ่งการที่คนจำนวนมากในองค์กรได้ช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน มันคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และวัฒนธรรมความเป็นทีมในแบบของผมคือ ผมไม่ต้องการคนที่โดดเด่น แต่คุณต้องดีจริงและจำเป็นสำหรับทีมในฐานะที่จะได้ทำธุรกิจร่วมกัน” Gier กล่าว

Jakob Lykkegaard ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอ Playlab

Jakob Lykkegaard ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอ Playlab

ถ้าคุณมีคนเก่ง คุณควรจะฝึกให้เขาตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ให้เขาเลือกตัดสินใจแบบเดียวกันเหมือนกับที่คุณทำ และทำให้สิ่งนั้นมีการพัฒนาก้าวหน้า เพื่อทำให้ผู้คนสนใจในผลิตภัณฑ์มากกว่าที่คุณจะสามารถทำได้

การสื่อสารคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสร้างปฏิสัมพันธ์และมอบการตัดสินใจ
ด้าน Jakob Lykkegaard ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอ Playlab กล่าวว่า การเพิ่มจำนวนทีมในสตาร์ทอัพ วัฒนธรรมองค์กรนั้นเกี่ยวข้องมากกว่าการที่คนจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน หรือการที่คุณต้องการให้พวกเขารับผิดชอบสิ่งที่ทำอย่างไร หรือแม้กระทั่งการที่คุณต้องการเป็นเจ้าของที่จะต้องมีมากกว่าเงินทุน ล้วนเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่สิ่งสำคัญคือ ถ้าคุณมีคนเก่ง คุณควรจะฝึกให้เขาตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ให้เขาเลือกตัดสินใจแบบเดียวกันเหมือนกับที่คุณทำ และทำให้สิ่งนั้นมีการพัฒนาก้าวหน้า เพื่อทำให้ผู้คนสนใจในผลิตภัณฑ์มากกว่าที่คุณจะสามารถทำได้ โดยที่พวกเขาควรจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ และปรับปรุงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้ดีกว่าที่คุณทำ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป ขณะที่คุณเองก็สามารถคาดหวังให้พวกเขาตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีกว่า เพื่อบริษัทและตัวของพวกเขาเองได้

“วัฒนธรรมจะสร้างความเชื่อถือให้กับทีม และสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าคุณมีทีมที่เชื่อมั่นในตัวคุณ และคุณเองก็ไม่เสแสร้งกับเขา อย่างเช่น ในกรณีเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ลูกจ้างพยายามจะแก้ไขทุกอย่างจากความล้มเหลวนั้น แต่ก็ยังไม่สำเร็จ เราจะเข้าไปช่วยเขา ซึ่งเป็นการฝึก 2 ทาง ระหว่างการจัดการและการทำความเข้าใจ ตราบใดที่พวกเขายังอยู่ในสัญญาจ้างและยังต้องทำงานให้กับเรา มันจึงสำคัญที่การคัดกรองคนเข้ามา เพราะว่าพวกเขาสามารถส่งผลกระทบต่อคนอื่นในบริษัท” Jakob กล่าว

จ้างงานคนที่เหมาะสมสร้างวิธีเรียนรู้และส่งต่อให้คนในทีม
ทิวา ยอร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kaidee .com กล่าวว่า วัฒนธรรมสตาร์ทอัพขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเชื่อ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยคนสองคนหรือสิบคนก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้มารวมตัวกัน ที่ Kaidee เรามีการจ้างงานคนหลากหลายประเภท วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่พร้อมเสมอ เพราะผู้คนต่างออกความเห็นและพวกเขารู้วิธีที่จะปฏิบัติตัวท่ามกลางคนอื่นๆ และหัวหน้างาน แต่เรามองว่า ท่ามกลางคนหลากหลายประเภทนั้น ควรมีการจัดการให้ทุกคนอยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถจ้างคนได้ถูกจุดประสงค์ แต่เราจะรู้ได้อย่างไร เพราะทุกอย่างไม่ได้เหมาะกับทุกคน ดังนั้น ถ้าคุณต้องการที่จะหาคำตอบ คุณก็จะต้องเริ่มมีปฏิสัมพันธ์ และสนใจในสิ่งที่พวกเขาพูดเกี่ยวกับองค์กร

ทิวา ยอร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kaidee .com

ทิวา ยอร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kaidee .com

“ธุรกิจของผม ผมไม่ได้ต้องการความสมบูรณ์แบบ แต่ผมต้องการให้คนในทีมออกไปหาประสบการณ์จากข้างนอก และปรับปรุงตัวเองให้พร้อมที่จะกลับมาอยู่เสมอ และการกระทำนั้นเป็นวัฒนธรรมที่เราต้องการให้ผู้คนเชื่อ ซึ่งมันเป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่มักจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขณะที่ผู้ก่อตั้งเองควรมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ ถ้าองค์กรของคุณดี ผลิตภัณฑ์ก็จะออกมาดี และให้ผลตอบแทนตามมา อย่างไรก็ตาม ผมมองว่ามันไม่มีความสำเร็จที่ถูกต้อง วัฒนธรรมอาจเป็นแค่สิ่งที่คุณคิดว่าคุณอยากจะทำงานเพื่ออะไร ทำอย่างไร ทั้งในบทบาทของหัวหน้า ผู้จัดการ ผู้ก่อตั้ง ซึ่งไม่ว่าคุณจะอยู่ในก้าวใด เราต่างต้องการเพื่อนร่วมทีมที่มาพยายามทำสิ่งต่างๆ ด้วยกัน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอิทธิพลของวัฒนธรรม” ทิวา กล่าว

 Andreas Holmer ซีอีโอ และ ผู้อำนวยการด้านการออกแบบ MAQE

Andreas Holmer ซีอีโอ และ ผู้อำนวยการด้านการออกแบบ MAQE

วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่ากุญแจสำคัญในการทำงานคืออะไร ทำให้พวกเราแบ่งปันในสิ่งที่น่าหลงใหล และเป็นวิธีในการทำงานให้กับองค์กร

ผลิตภัณฑ์คือ ผลงานของวัฒนธรรมสร้างการทำงานที่แตกต่างกันให้กับทีม
เช่นเดียวกับ Andreas Holmer ซีอีโอ และ ผู้อำนวยการด้านการออกแบบ MAQE กล่าวว่า กุญแจสำคัญของการเรียนรู้เมื่อมันเป็นธุรกิจของคุณ คือทันทีที่คุณผลิตสินค้าขึ้น คุณจะต้องทำมันให้ดีขึ้น และดียิ่งขึ้นไป การที่คุณพยายามทำให้คนจำนวนมากเห็นด้วยในสิ่งที่ยากและเป็นนามธรรมอย่างวัฒนธรรม จะต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมาก ไม่ว่าอะไรก็ตามที่คุณทำในขณะที่กำลังทำงาน  สิ่งนั้นควรจะเป็นตัวชี้นำให้กับจุดมุ่งหมายแต่ละจุดที่ธุรกิจได้ตั้งเป้าไว้ ทุกอย่างที่ผมเห็นในตอนนี้คือ วัฒนธรรมของสตาร์ทอัพแตกต่างกันอย่างมากจากที่เคยได้คุยกันกับผู้ร่วมก่อตั้ง พวกเขาไม่สนใจว่าผมจะทำอะไร พวกเขาใช้สิ่งที่พวกเขาคิด แต่พวกเขาก็ประสบความสำเร็จ ดังนั้น มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะนิยามคำว่า สำเร็จ ของคุณไปในทิศทางใด

“ในฐานะวิศวกรของทีม วิศวกรจะทำเฉพาะแค่ขั้นตอนเดียว โดยจะให้ความสนใจแยกไปจากข้อมูล แอพฯ และเว็บไซต์ แตกต่างจากสิ่งที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่ากุญแจสำคัญในการทำงานคืออะไร ทำให้พวกเราแบ่งปันในสิ่งที่น่าหลงใหล และเป็นวิธีในการทำงานให้กับองค์กร ซึ่งเรามีทีมผู้ผลิต เป็นคนที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์สำเร็จ โดยที่ในผลิตภัณฑ์เดียวกันจะมี 4 ทีม ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน และผมคิดว่านี่คือ วัฒนธรรม ถ้าหากคุณต้องไปทำงานที่องค์กรอื่น คุณจะต้องก้าวผ่านผู้คนที่ต่างวัฒนธรรม ด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์เพื่อที่จะเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรใหม่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากหนังสือ” Andreas กล่าว

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ธนาคารกรุงเทพรับสมัครสตาร์ตอัพ เข้าโครงการ Bangkok Bank InnoHub Season 2

ธนาคารกรุงเทพร่วมกับบริษัท Nest ที่มากด้วยประสบการณ์ด้านสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค ค้นหาธุรกิจสตาร์ทอัพ 5 กลุ่ม …