สตาร์ทอัพรายไหน ที่เหมาะกับ VC น้องใหม่ อย่าง “AddVentures” ของ SCG

การเริ่มต้น “เทคสตาร์ทอัพ” ในไทยเราจะเห็นจากในฝั่งของ ธุรกิจสื่อสารด้าน “ฟินเทค” ซะส่วนใหญ่  หรือในฝั่งของอสังหาริมทรัพย์ ที่เรียกว่า “พร็อพเทค” ให้เห็นกันแล้ว ล่าสุดธุรกิจขนาดใหญ่อย่าง “เอสซีจี” ก็มาจับทางหนุนสตาร์ทอัพ ตั้ง AddVentures รูปแบบ Corporate Venture Capital หวังนำนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพมาต่อยอดธุรกิจในเครือ

ยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี กล่าวว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน ยังสามารถการพลิกโฉมธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ทั่วโลก

ที่มาของ AddVenture และจะช่วยสตาร์ทอัพอย่างไร

AddVenture มาจากคำว่า Add คือบวก หรือเสริมเข้ามา ส่วน Ventures คือการลงทุน การจัดตั้งไม่ใช่แค่ลงทุนแต่บวกหลายๆ เรื่องให้สตาร์ทอัพด้วย ถ้าตัดตัว d ตัวที่ 2 ออก ก็ยังเดินไปด้วยกัน ผจญภัยไปด้วยกันจึงใช้ Add กลายเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว

การที่เอสซีจีจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนในเทคโนโลยีสตาร์ทอัพ ปลายทางคือหาสิ่งที่จะตอบโจทย์ของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจาก ธุรกิจหลักของเอสซีจีอยู่ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ซีเมนต์และวัสดุ บรรจุภัณฑ์ โลจิสติก เทรดดิ้ง และค้าปลีก ดังนั้น สตาร์ตอัพที่บริษัทจะเลือกเข้าไปลงทุนจึงอยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและอาเซียน

สตาร์ทอัพที่เหมาะกับ AddVentures  3 กลุ่มหลักที่กำลังมองหา

1.Industrial ทุกอย่างเกี่ยวของกับโรงงาน หุ่นยนต์ และประหยัดพลังงาน

2.Enterprise ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับองค์กร อีคอมเมิร์ซ Omni channel AI AR/VR และ Blockchain

3.B2B เป็นสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Marketplace Platform

ทั้ง 3 กลุ่มจะถูกนำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมให้ธุกิจของเอสซีจี ได้แก่ ซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เคมิคอลส์ แพคเกจจิ้ง

สิ่งที่ค้นพบในการทำงานสตาร์ทอัพมีสองแนวทางหลัก คือ การนำผลิตภัณฑ์ของสตาร์ทอัพเข้ามาใช้ เข้ามาต่อยอด เช่น การทำ Smart Home Solution นวัตกรรมที่สตาร์ทอัพคิดค้น สามารถต่อยอดได้อีก และสตาร์ทอัพมาใช้ข้อมูลที่เอสซีจีมีไปต่อยอด เพราะมีฐานข้อมูลของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้า

ทั้งนี้ การจัดตั้ง AddVentures โดยมี ดร.จาชชัว แพส กรรมการผู้จัดการ AddVentures เป็นหัวเรือหลัก ถือเป็นอีกก้าวที่เอสซีจีจะได้ร่วมสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ กับกลุ่มสตาร์ทอัพที่มีจุดเด่นในเรื่อง Spirit ของ Entrepreneurship และการสร้าง Innovation ที่ถือเป็น Outside-in innovation จากการมองในมุมของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เมื่อประกอบกับ Speed ในกระบวนการทำงานที่เรียกว่า Lean Startups รวมทั้งการใช้ Digital technology จึงทำให้ข้อจำกัดในการทำธุรกิจแบบเดิมหายไป

เป้าหมายที่ AddVentures สนใจลงทุน

ในการลงทุนของ AddVentures ได้เตรียมงบลงทุนไว้ 300-500 ล้านบาทต่อปี หรือ 2,000-3,000 ล้านบาท ใน 5 ปี โดยสตาร์ทอัพแต่ละรายจะได้รับเงินลงทุนเฉลี่ยครั้งละ 1-5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในปีนี้อาจจะรับอยู่ที่ 2-3 รายก่อน

จะไม่ได้สนับสนุนแค่ด้านการเงินให้แก่สตาร์ทอัพเท่านั้น แต่จะสนับสนุนทั้งองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงต่างๆ เครือข่ายลูกค้าของเอสซีจีที่มีอยู่ทั่วอาเซียน ตลอดจนทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน ผ่านการทำงานร่วมกันกับสตาร์ทอัพอย่างใกล้ชิด

การที่ธุรกิจ Industrial นำเทคโนโลยีเข้าไป Disrupt โดยใช้นวัตกรรมจากสตาร์ทอัพเข้ามาทำให้เพิ่มสปีดในการเติบโตขึ้น จากเดิมที่เอสซีจีมีพนักงาน 50,000 คน มีแค่ 50,000 ความคิด แต่ตอนนี้เปิดกว้างรับอีกหลายพันล้านความคิดจากคนทั่วโลก เป็น Outside-in innovation มากขึ้น

สำหรับสตาร์ทอัพทั่วโลกที่สนใจร่วมงานกับ AddVentures สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.addventures.co.th และ facebook.com/AddVenturesbySCG หรือ LinkedIn: AddVentures by SCG

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts