สรุปประเด็น Google I/O 2015 ก้าวต่อไปของยักษ์ใหญ่

เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Google ได้จัด Google I/O 2015 งานสัมมนานักพัฒนาประจำปี ที่จัดต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 8 แล้ว ถึงแม้ว่างานในปีนี้จะไม่ได้มีอะไรน่าตื่นเต้นเท่ากับงานในปี 2014 ที่เปิดตัว Android 5 Lollipop, Android Wear, Android Auto, Android TV, Android One แต่ก็ถือว่าเป็นการตบสิ่งต่างๆ ที่กูเกิลมีอยู่ในมือให้เข้ารูปเข้ารอยมากขึ้นครับ

1

ทั้งโลกมีผู้ใช้ Android มากกว่า 1 พันล้านคนแล้ว แถม Android ก็ไม่ใช่บริการเดียวของกูเกิลมีผู้ใช้ถึงระดับพันล้านคน แต่บริการอย่าง Google Search, YouTube, Google Maps, Chrome, Gmail ก็มีผู้ใช้งานในระดับนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่บริษัทไอทีมากมายอยากมาถึงจุดนี้

Android M ไม่เน้นฟีเจอร์ใหม่ แต่ปรับให้ดีขึ้น
ถึงแม้ว่าหลายๆ คนจะบ่นว่า Android มีปัญหาเยอะ ใช้ๆ ไปแล้วเครื่องช้า เครื่องที่ซื้อไปก็ไม่ค่อยได้รับการอัพเกรดเป็นรุ่นใหม่ๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้นะครับว่า Android คือระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ตัวเลขที่ Sundar Pichai ผู้บริหารของกูเกิลประกาศออกมาในงาน I/O 2015 คือทั้งโลกมีผู้ใช้ Android มากกว่า 1 พันล้านคนแล้ว แถม Android ก็ไม่ใช่บริการเดียวของกูเกิลมีผู้ใช้ถึงระดับพันล้านคน แต่บริการอย่าง Google Search, YouTube, Google Maps, Chrome, Gmail ก็มีผู้ใช้งานในระดับนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่บริษัทไอทีมากมายอยากมาถึงจุดนี้

Android M คือรหัสของ Android ตัวถัดไปที่ออกต่อจาก Android L (ที่ต่อมารู้จักในชื่อ Lollipop หรือ Android 5.0) โดยในรุ่นนี้กูเกิลแก้ปัญหาหลายอย่างที่คาราคาซังมานานคือ

  • App Permissions ประเด็นเรื่องการขอสิทธิ์ของแอพฯ ต่างๆ นี้ Android ตกเป็นเป้าโจมตีมานาน เพราะ Android จะแสดงหน้าต่างขอสิทธิ์แบบเหมาเข่งในตอนติดตั้งแอพฯ ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีความรู้พอสมควรจึงจะเข้าใจว่าแอพฯ ต่างๆ ต้องการสิทธิ์เหล่านั้นไปทำไม แต่ใน Android M กูเกิลได้ปรับวิธีการขอสิทธิ์ตามวิธีของแอปเปิล คือจะขออนุญาตในเวลาที่ต้องใช้ เช่น ต้องการถ่ายรูป ก็ค่อยขออนุญาตเข้าถึงกล้อง หรือต้องการเปิดแผนที่ ก็ค่อยขออนุญาตระบุพิกัด แถมยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าไปปิดการเข้าถึงข้อมูลบางอย่างหลังจากให้สิทธิ์กับแอพฯ ไปแล้วด้วย
  • ปัญหาด้านพลังงาน Android M จะมีฟีเจอร์ใหม่เรียกว่า Doze ที่จะตรวจจับการเคลื่อนไหวของเครื่องแล้วปรับการใช้พลังงานให้เหมาะสม เช่น ถ้าวางเครื่องไว้นิ่งๆ สักพักหนึ่ง ระบบก็จะซิงก์ข้อมูลช้าลง เพราะถือว่าผู้ใช้ไม่ได้อยู่ใกล้อุปกรณ์ ซึ่งกูเกิลเคลมว่า ฟีเจอร์นี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้สูงสุด 2 เท่า เมื่อเทียบกับการ Standby ตามปกติ นอกจากนี้ Android M ยังรองรับมาตรฐาน USB Type C ทำให้ใช้พอร์ตแบบใหม่ที่เสียบด้านไหนก็ได้ เหมือนสาย Lighting ของ iPhone และรองรับ Fast Charging ทำให้ชาร์จไฟได้เร็วขึ้นด้วย
  • ปรับ Chrome ให้ใช้ในแอพฯ ต่างๆ ได้ด้วย ต่อไปแม้ว่าผู้ใช้จะเปิดหน้าเว็บฯ จากแอพฯ อื่นๆ เช่น Twitter, Facebook นักพัฒนาก็สามารถใช้เครื่องมือของ Chrome ในการแสดงผลเว็บฯ ในแอพฯ ของตัวเองได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ฟีเจอร์ของ Chrome อย่างการบันทึกรหัสผ่านที่ซิงก์จากคอมพิวเตอร์ได้ด้วย
  • Android Pay เรียกว่าตามแอปเปิลมาติดๆ สำหรับระบบชำระเงินของกูเกิล ที่ลักษณะการทำงานคล้ายๆ กันคือ ใช้ NFC แตะแล้วยืนยัน โดยชูว่าเป็นแพลตฟอร์มเปิดที่ใครๆ ก็เข้าร่วมได้ ซึ่งตอนนี้จับมือกับ Visa, Mastercard, AMEX, Discover แล้ว
  • Fingerprint ใน Android M จะมีมาตรฐานกลางสำหรับการใช้ลายนิ้วมือแล้ว ทำให้นักพัฒนาสามารถใช้ความสามารถในการอ่านลายนิ้วมือของ   สมาร์ทโฟนได้กว้างขึ้น ไม่ต้องมานั่งเขียนสำหรับอุปกรณ์ในแต่ละแบรนด์

ก็จะเห็นว่า Android M นั้นไม่ได้หวือหวาเท่า Android L ที่เปิดตัวพร้อมหน้าตาแบบใหม่เมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ถือเป็นการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันมากขึ้น (หรือพูดอีกแง่ว่าปรับในจุดให้สู้กับ iOS ได้)

Project Brillo ระบบปฏิบัติการของ Internet of Things
IoT หรือ Internet of Things เป็นสิ่งที่จะมาๆ อยู่นานหลายปีแล้วนะครับ แต่สุดท้ายสิ่งที่พวกเราเห็นกันคือ เทคโนโลยีราคาแพง แต่ไม่ได้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้เท่าไร เพราะเหล่าอุปกรณ์ IoT พวกทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ไม่ได้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเดียวครับ ต่างอุปกรณ์ก็ทำงานกันไปโดดๆ แต่ระยะหลังเราก็เห็นยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ส่ง Homekit เข้ามาจับตลาดนี้ เพื่อให้อุปกรณ์สำหรับคุยกันในระบบของแอปเปิลได้ ส่วนกูเกิลก็ขอส่ง Project Brillo ออกมาให้เอาไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้เลย

3

ถึง IoT จะยังไม่เป็นกระแสหลักในช่วงนี้ แต่ภายใน 5 ปีข้างหน้า หลังจาก Apple และ Google รุกตลาดนี้เต็มตัว อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็น่าจะเข้าสู่ยุค Internet of Things กันได้สักที

พื้นฐานของ Project Brillo นั้นมาจาก Android ครับ แต่นำมาปรับแต่งให้ใช้ทรัพยากรน้อยลง เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ประสิทธิภาพด้านสมองกลไม่สูงมาก นอกจากนี้ กูเกิลยังพัฒนาภาษา Weave ขึ้นมาเพื่อให้อุปกรณ์ IoT สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ง่ายๆ ซึ่ง Brillo นั้นจะเริ่มให้นักพัฒนาทดลองใช้ในไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วน Weave จะพัฒนาเสร็จพร้อมให้ใช้งานในไตรมาส 4

ถึงเวลา IoT จะยังไม่เป็นกระแสหลักในช่วงนี้ แต่ภายใน 5 ปีข้างหน้า หลังจาก Apple และ Google รุกตลาดนี้เต็มตัว อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็น่าจะเข้าสู่ยุค Internet of Things กันได้สักที

e199

ฉบับที่ 199 เดือนกรกฏาคม

YouTuber นักสร้างสรรค์โฆษณาดิจิตอล

Google Now  ที่ปรับปรุงขึ้น
หลายคนอาจจะรู้จัก Google Now ในฐานะคู่แข่งของ Siri จากแอปเปิลนะครับ (จริงๆ ก็ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรงซะทีเดียว Siri นั้นเหมือนเป็นผู้ช่วยส่วนตัว ส่วน Google Now นั้นเหมือนเป็นคอมพิวเตอร์ผู้ช่วยมากกว่า) แต่ใครที่เคยใช้ Google Now ก็น่าจะพอรู้พลังที่น่าทึ่ง (และแอบน่ากลัว) ขององค์ความรู้จากกูเกิลกันมาบ้าง เช่น เมื่อเราจองเที่ยวบินแล้วได้ใบจองจากสายการบินในอีเมล Google Now ก็สามารถแจ้งเตือนเราได้ทันทีว่าเราต้องขึ้นเครื่องกี่โมง เดินทางไปสายการบินอย่างไร พร้อมแจ้งสภาพอากาศที่ปลายทาง แถมยังกาในปฏิทินให้อีกว่าเราต้องเดินทาง แต่ Google Now ที่ปรับปรุงขึ้นที่นำมาแสดงใน Google I/O ครั้งนี้มันจะยิ่งน่าทึ่งขึ้นไปอีกครับ

ความสามารถใหม่นี้ เรียกว่า Now On Tap ซึ่งรวบรวมความฉลาดของกูเกิล มาอยู่ในที่เดียวกัน ตรวจสอบบริบทที่เกิดขึ้นระหว่างการกระทำเพื่อหาคำตอบ

ตัวอย่างที่กูเกิลยกขึ้นมานำเสนอคือ เมื่อกดปุ่มโฮมใน Android M เพื่อเรียกใช้ Google Now ระบบก็จะอ่านเนื้อหาที่อยู่บนจอเพื่อตรวจสอบบริบท เช่นเล่นเพลงอยู่ แล้วเราอยากรู้ว่านักร้องนำของเพลงที่กำลังเล่นอยู่นั้นชื่ออะไร ก็ถามไปว่า “Ok Google, Who’s the lead singer” ระบบก็จะไปหาข้อมูลกลับมา หรือกำลังอ่านข้อความจากเพื่อนที่ชวนไปร้านอาหาร ก็สามารถกดเรียก Now on Tap เพื่อแสดงข้อมูลร้านอาหารนั้นได้ทันที โดยไม่ต้องป้อนอะไรเข้าไปอีก

Google Now นั้นเป็นเหมือนส่วนเชื่อมต่อกับมนุษย์ที่แสดงให้เห็นว่า สมองกลนั้นเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัวขนาดไหนนะครับ ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดที่นำมาใช้นี้ กูเกิลใช้เวลารวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อยู่นาน (ก็พูดได้ว่าตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทนั้นแหละ) ตามความต้องการของผู้ก่อตั้งที่ว่า “Organize the world’s information and make it universally accessible and useful”

แต่ที่น่ากลัวคือ กูเกิ้ลรู้มากเกินไปหรือเปล่า แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่สมองกลรู้ คนจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว

Google Photos ของดีๆ ที่แยกออกจาก Google+ (สักที)
ระยะหลังเมื่อกูเกิลค่อยๆ ลดความสำคัญของ Google+ เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เรียกได้ว่าไม่ค่อยจะเวิร์กของกูเกิล บริการต่างๆ ที่เคยอยู่ในระบบก็แยกออกมาเป็นแอพฯ เดี่ยวๆ มากขึ้น อย่าง Hangout และล่าสุดคือ Photos

Google Photos ก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาความฉลาดของกูเกิลไปใช้ คือเมื่ออัพโหลดภาพขึ้นไประบบจะเรียนรู้ได้เองว่ามันคือภาพของอะไร พร้อมนำไปจัดหมวดหมู่ตามวันเวลา สถานที่ เรื่องราวโดยอัตโนมัติ ให้ผู้ใช้ค้นหาภาพโดยที่ไม่ต้องไปนั่งแปะแท็กภาพว่าคืออะไร (เช่น อัพโหลดภาพไป 30,000 ภาพ ก็พิมพ์ค้นหา “แมว”, “ผู้หญิง”, “แต่งงาน” ได้เลย ระบบก็จะหารูปที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับคนนั้นมาให้โดยอัตโนมัติ)

และที่สำคัญคือ Google Photos นั้นให้พื้นที่จัดเก็บภาพไม่จำกัด ฟรี! จะใช้แอพฯ ของ Android, iOS เพื่ออัพโหลดก็ได้ แถมมีโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่ออัพโหลดภาพด้วย แต่มีเงื่อนไขว่าภาพที่เก็บได้ไม่จำกัดนั้น จะไม่ใช่ไฟล์ต้นฉบับ กูเกิลจะขอปรับภาพให้มีขนาดไม่เกิน 16 ล้านพิกเซล และบีบอัดใหม่โดยไม่เสียคุณภาพเมื่อมองด้วยตาเปล่า ส่วนถ้าใครต้องการบันทึกภาพเป็นไฟล์ต้นฉบับ Google Photos ก็เก็บภาพไว้ให้ได้ แต่ให้บริการแบบจำกัดพื้นที่ ใครที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่ Photos.google.com

จากงาน Google I/O 2015 เราน่าจะเห็นภาพของกูเกิลในปีนี้แล้วนะครับว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่ที่น่าสนใจคือ หลังจากกูเกิลได้ผู้ใช้พันล้านคนแล้ว พันล้านคนต่อไปที่เข้าถึงเทคโนโลยียากกว่าพันล้านคนแรกจะทำอย่างไรต่อไป Project Loon ที่ใช้บอลลูนกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกลจะได้ผลดีขนาดไหน นี่จึงน่าจะเป็นภารกิจของ Google ในยุคถัดไปครับ

Contributor

eka-x

Eka-X

เอกพล ชูเชิด

วุ่นวายกับเทคโนโลยีมาตั้งแต่เยาว์วัย จนเริ่มมีอายุเยอะก็จับคีย์บอร์ดหาเลี้ยงชีพด้วยงานเขียนด้านเทคโนโลยีมาตลอด ทั้งยังเปิด Aofapp.com เว็บไซต์ส่วนตัวที่เล็กมากๆ เพื่อเขียนรีวิวแอพฯ มือถือเรื่อยๆ ในเวลาว่าง ถึงจะสาหัสกับงานขนาดไหนก็ยังเขียน แชร์ บ่นไปเรื่อยใน Twitter

Twitter: Twitter.com/eka_x

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

future car
รถอัจฉริยะกับอุบัติเหตุ

รถอัจฉริยะของกูเกิล จะมีมนุษย์นั่งไปด้วยเพื่อเข้ามาควบคุมรถแทนในสถานการณ์ที่รถอัจฉริยะยังทำเองไม่ได้ ในบทความที่แล้วผมได้นำเสนอประเด็นเรื่องรูปแบบการจราจร และการใช้รถอัจฉริยะร่วมกับระบบขนส่งมวลชนไปแล้ว บทความนี้ ผมจะนำเสนอเรื่องของรถอัจฉริยะต่อในอีกมุมหนึ่ง นั่นคือ...

  • Mobile-2.0
  • CHATBOT
    ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต

    ว่าด้วยเรื่องของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อกฎขึ้นมาในวงสนทนาเมื่อไร มักจะถูกคนทั่วไปมองหน้าเอาว่า นี่มันคือพวกเนิร์ด (Nerd) หรือกี๊ก (Geek) บ้าคอมฯ และพูดอะไรเข้าใจอยากแบบมนุษย์ต่างดาวแน่นอน ไม่ต้องแปลกใจครับ หลายคนมักเข้าใจว่าภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นภาษาที่คนทั่วไปไม่น่าจะเข้าใจได้ง่าย...

  • future-smart-car
    รถอัจฉริยะกับสังคมในอนาคต

    แท็กซี่ไร้คนขับ ที่มารับ-ส่งผู้โดยสารตามคำร้องขอผ่านแอพพลิเคชั่น รถอัจฉริยะหรือรถขับขี่อัตโนมัติ (Self-Driving Car) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจและผลักดันจากหลายฝ่าย ทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี การมาถึงของรถอัจฉริยะนั้นอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน...