สร้างโมเดลธุรกิจรับตลาดมิวสิคสตรีมมิ่ง

เรียกได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สร้างความฮือฮาในวงการตลาดเพลงออนไลน์ โดยเฉพาะบริการฟังเพลงฟรีแบบออฟไลน์จาก JOOX ที่โหลดฟรี ที่มาสู้กับฟังเพลงออนไลน์แบบเสียเงินก่อนหน้าอย่าง Tidal, LINE Music, KKBOX, Deezer หรือไม่เว้นแม้กระทั่งรายใหญ่อย่าง Apple Music ด้วย

กฤตธี มโนลีหกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด

กฤตธี มโนลีหกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด

หลังจากปล่อยให้ผู้ใช้งานชาวไทยได้ดาวน์โหลดตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา  สร้างเสียงตอบรับในแง่บวกอย่างมากมายบนโลกออนไลน์ จากการรีวิวในหมู่ผู้ใช้งาน จนก้าวขึ้นสู่อันดับ 1 บน App Store และติด 1 ใน 10 แอพ-พลิเคชั่นยอดฮิต มีผู้เข้าชมแล้วมากกว่า 20 ล้าน สกรีนวิว ก่อนทำการตลาดอย่างเต็มรูปแบบ  โดยใช้งานผ่านการเชื่อมต่อ Facebook หรือ WeChat

นายกฤตธี มโนลีหกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด กล่าวว่า แม้ตอนนี้ธุรกิจเพลงมีการเติบโตลดลงแต่ไม่ได้แปลว่าคนไทยฟังเพลงกันน้อยลง มิวสิคสตรีมมิ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ปัจจุบันคนไทยหันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าจากผลสำรวจแล้วตลาด Music Streaming จะมีอยู่เพียงแค่ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ แต่เชื่อได้ว่าภายใน 3 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดเพลง

สอดคล้องกับข้อมูลจาก Global Web Index ที่ระบุว่า ผู้บริโภคชาวไทยนิยมฟังเพลงออนไลน์สูงถึง 46.2 เปอร์เซ็นต์ โดย 28 เปอร์เซ็นต์ เป็นการฟังผ่านโมบายล์เเพลตฟอร์ม ส่งผลให้ปัจจุบันตลาดเพลงดิจิทัลมีมูลค่าสูงกว่า 1,200 ล้านบาท โดยขณะเดียวกันค่ายเพลงก็ขยายเข้าสู่ช่องทางออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่าบริการ 4G ที่กำลังจะมา จะช่วยกระตุ้นให้คนไทยหันมาฟังเพลงแบบสตรีมมิ่งมากขึ้น

การให้บริการของ JOOX จะเน้นสร้างประสบการณ์การฟังเพลงในรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้ฟังเพลงชาวไทยด้วยฟีเจอร์

  • การเลือกฟังเพลงตามชอบใจแบบออนดีมาน (On-Demand)
  • การฟังเพลงจากเพลย์ลิสต์ (Playlists)
  • JOOX Radio ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยทีมงานที่มีประสบการณ์ทางด้านเพลง
  • การดาวน์โหลดเพลงที่ชอบมาฟังแบบออฟไลน์ได้อีกด้วย
  • ‘Lyrics Card’ เเบ่งปันเนื้อร้องเป็นข้อความโดนๆ สื่อถึงคนที่รัก เพื่อนๆ หรือครอบครัวได้ทันทีผ่าน Facebook เเละ WeChat โดยสามารถเลือกท่อนเพลงที่ชอบได้สูงสุดถึง 5 ท่อน พร้อมปรับเปลี่ยนภาพพื้นเเละรูปแบบตัวอักษรเติมเต็มอารมณ์ความรู้สึก ฟีเจอร์ ‘Lyrics Card’ รองรับการใช้งานเเล้ววันนี้ทั้งผู้ใช้อุปกรณ์ iOS และ Android
  • DTS (Digital Theatre System) ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเข้าใจถึงอารมณ์ ด้วยฟีเจอร์การปรับแต่งเสียงคุณภาพเยี่ยมที่นำมาให้ทดลองใช้กันอย่างจุใจ 3 เดือน พร้อมคลังเพลงจำนวนมากกว่า 3.5 ล้านเพลง
แอพพลิเคชั่น JOOX

แอพพลิเคชั่น JOOX

ราย ได้หลักส่วนใหญ่ก็จะมาจากสปอนเซอร์ 80 เปอร์เซ็นต์ จะมีการขายโฆษณาหลายรูปแบบทั้งการขายในรูปแบบเพลย์ลิสต์ที่เลือกเพลงได้ตาม คอนเซ็ปต์สินค้า สปอตโฆษณาหลังจบเพลง และแบนเนอร์ที่จะไปอยู่บนเว็บฯ สนุกมิวสิค

ปัจจุบันมีคอนเทนต์พาร์ตเนอร์ที่เป็นค่ายเพลงไทยเเละสากลรวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ค่ายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น แกรมมี่, โซนี-บีอีซี, Spicy Disc, Warner Music, Universal Music, Small Room, What the Duck ฯลฯ ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้ส่งผลให้แอพพลิเคชั่นของเราตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนไทยมากขึ้น จนเราได้รับการรีวิวระดับ 5 ดาวถึงกว่า 7,000 เรตติ้งผ่านทาง App Store และ กว่า 40,000 เรตติ้งทาง Play Store ซึ่งมากกว่ามิวสิคแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ในประเทศไทย ในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน

เรามีกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน JOOX คือสมาชิกของสนุก จะสามารถฟังเพลงของ JOOX ผ่านหน้าเว็บฯ สนุกมิวสิคได้อีกช่องทางหนึ่งที่ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังนิยมค้นหาเพลงหรือเอ็มวีเพื่อฟังผ่านเดสก์ท็อป ในขณะเดียวกัน Sanook ได้มีการปรับโฉมใหม่ให้ผู้ฟัง JOOX ได้เข้าถึงคอนเทนต์ทางดนตรี ภายใต้ชื่อ Sanook! Music Powered By JOOX เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ฟังเพลงที่ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม แก่ผู้ใช้งานสนุกจำนวนกว่า 35 ล้านคนต่อเดือน

e206

ฉบับที่ 206 เดือนกุมภาพันธ์

การแข่งขันบริการ Streaming บน 4G

“ที่เปิดให้บริการฟังเพลงฟรีเพราะว่าเราเชื่อว่ายังไงคนไทยไม่ชอบการจ่ายเงิน แต่บริการนี้ทำมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างพฤติกรรมให้คนรุ่นใหม่ได้รู้และสนับสนุนการฟังเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ โดยที่ไม่ต้องพยายามไปหาวิธีดาวน์โหลดจากแหล่งเถื่อน จุดเด่นคือ เราสามารถดาวน์โหลดไว้ฟังออฟไลน์ได้ด้วย สามารถเปิดโหมดเครื่องบิน แล้วใช้งานได้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งที่รายอื่นยังไม่ได้ทำตรงนี้ สัดส่วนเพลงฟรีของเรามี 80 เปอร์เซ็นต์ และ VIP ที่ต้องเสียเงิน 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากบางค่ายเพลงไม่สามารถให้ฟรีได้จริงๆ รายได้หลักส่วนใหญ่ก็จะมาจากสปอนเซอร์ 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากตั้งใจให้เป็นบริการที่ฟังเพลงฟรีอยู่แล้ว สำหรับสปอนเซอร์ก็จะมีการขายโฆษณาหลายรูปแบบทั้งการขายในรูปแบบเพลย์ลิสต์ที่เลือกเพลงได้ตามคอนเซ็ปต์สินค้า สปอตโฆษณาหลังจบเพลง และแบนเนอร์ที่จะไปอยู่บนเว็บฯ สนุกมิวสิคด้วย”

โดยบัญชีแบบ VIP สามารถโหลดเพลงมาฟังแบบ Offline ได้ทุกเพลงตลอดการเป็นสมาชิก VIP และ ถ้า VIP หมดอายุ ก็ยังสามารถฟังเพลงและโหลดเพลงเก็บไว้ฟังแบบ Offline ผ่านแอพฯ ได้เช่นกัน เรียกได้ว่าแม้ไม่เป็นสมาชิกก็สามารถฟังเพลงแบบ Offline ได้ตลอด ยกเว้นเพลงที่ขึ้น VIP ที่สมาชิกฟรีไม่มี VIP จะไม่สามารถฟังเพลงได้  ซึ่งการฟังเพลง Offline นี้ ช่วยประหยัดเรื่องเน็ต 3G, 4G และสามารถฟังได้ทุกที่ทุกเวลาโดยเฉพาะกรณีขณะนั่งบนเครื่อง

ถึงแม้ว่าอัตราค่าบริการจะดูสูงแต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีโปรโมชั่น แต่ทั้งนี้ JOOX ได้เตรียมกิจกรรมพิเศษๆ ในแอพฯ เอาไว้ให้ร่วมสนุก เพื่อให้คุณสามารถใช้งาน JOOX VIP แบบฟรีๆ ได้เมื่อปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อรับสิทธิ์การใช้งาน VIP ฟรี

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

chatbot
การแชทช่วยให้ข้อมูลสำคัญแก่ธุรกิจ

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล CEO บริษัท Mojito Technology แชทบอท กำลังกลายเป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้บริโภคจะใช้สื่อสารกับแบรนด์...

  • Chatbot-Thailand
    เสริมศักยภาพองค์กร ด้วยการใช้เทคโนโลยี Chatbot

    Chatbot จุดเริ่มต้นของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาคอุตสาหกรรม การแชทผ่านแอพฯ ในปัจจุบัน เป็นช่องทางที่หลายๆ คนเลือกใช้เป็นช่องทางหลักมากกว่าการโทร หรือส่งอีเมล ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถตอบกลับกันได้อย่างทันที ซึ่งการใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะไม่ได้พบเจออุปสรรคมากนัก  แต่การใช้งานในระดับองค์กรที่ต้องรับข้อความวันละหลายร้อยข้อความ นับว่าเป็นปัญหาที่หนัก และต้องใช้แรงานคนเข้ามาจัดการจำนวนมากเลยทีเดียว การนำระบบแชทบอท...

  • DAAT
    เทรนด์โฆษณาดิจิทัล ธุรกิจความงามเติบโตสูงสุด

    ศุภชัย ปาจริยานนท์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) สื่อโฆษณาดิจิทัลเป็นสื่อที่มีบทบาทมากขึ้นในยุคการตลาด 4.0 อีกทั้งรูปแบบของการโฆษณาดิจิทัลก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

  • GOOGLE-MOBILESITE
    โมบายล์ไซต์ เชื่อมต่อการค้าบนเดสก์ท็อป

    กิลาน เลอ ฌาเตลิเยร์  ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โซลูชันส์การตลาด Google ไม่กี่ปีที่ผ่านมา...