ผู้หญิงหลายคนมักมีคำถามเกี่ยวกับการใช้เงินและความคุ้มค่าในการใช้จ่าย รวมทั้งการลงทุนในด้านต่างๆ ที่อาจไม่สามารถหาคำตอบด้วยตัวเองได้ เพราะความไม่มั่นใจและขาดข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ
ล่าสุด เปิดตัวเว็บไซต์ AsianMoneyGuide.com ที่เป็นแหล่งความรู้ทางการเงินสำหรับผู้หญิง ช่วยผู้หญิงให้มีความรู้ ความสามารถในการดูแลตัวเองได้ และมีความเป็นอิสระในด้านความคิดในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
หลังจากเปิดตัวที่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จึงเข้ามาสู่ประเทศไทย เป็นเว็บไซต์ที่เน้นเนื้อหาสาระด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการเรื่องเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซับซ้อน ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและตอบโจทย์ผู้หญิงได้อย่างดี
ฟีเจอร์ต่างๆ ออกแบบเพื่อให้ “การเงินเป็นเรื่องง่ายดาย” เน้นเรื่องความจำเป็นด้านการเงินของผู้หญิง นักเขียนส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงและ Influencer ที่มาจากหลากหลายวงการในภูมิภาคนี้ เพราะเข้าใจผู้หญิง ต่างจากหนังสือ หรือเวปไซต์ทั่วไปตรงที่ไม่มีศัพท์วิชาการ ทำให้เข้าใจง่ายสำหรับผู้อ่านที่ไม่พื้นฐานเรื่องการเงิน แม้จะอยู่ต่างสถานการณ์หรือมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน ก็สามารถวางแผนทางการเงินได้
ส่วนคอนเทนต์จะมีทั้งบทความ เรื่องจริงจากประสบการณ์ วิดีโอ รายการ และเนื้อหาในรูปแบบอื่น ๆ แบ่งตามหมวดหมู่ ดังนี้ การออม, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต, การลงทุน, การเกษียณอายุ, คริปโตเคอเรนซี่และฟินเทค, เรื่องของภาษี, ประกันชีวิตและประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, ผู้ประกอบการ/นักธุรกิจ, กิจกรรมทางสังคมและอีเว้นท์, หางาน, ท่องเที่ยว, บ้านและที่อยู่อาศัยรอบรู้เรื่องสุขภาพ และสมดุลในชีวิตการทำงาน เป็นต้น
ที่น่าสนใจก็ คือ มีบทความให้ความรู้เรื่องคริปโตเคอเรนซี่และฟินเทค โดยผู้เข้าร่วมในงานแถลงข่าวผู้หญิงหลายคนให้ความสนใจศึกษาและเริ่มลงทุนในสกุลเงินบิทคอยน์กันบ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความเสี่ยงสูงและไม่มีการรับประกันเงิน รวมถึงระบบซีเคียวริตี้ที่ยังไม่ปลอดภัยมากนัก จึงต้องหาแหล่งข้อมูลในการศึกษาที่น่าเชื่อถือก่อนการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชั่น ที่เหมาะกับความต้องการที่หลากหลายของหญิงในวัยต่างๆ อาทิ การบริหารการเงินในวัยเกษียณ (Retirement) การบริหารเงินในการกู้ยืม (Loan and Morgate) หรือการออม (Saving) เป็นต้น เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการวิเคราะห์คำนวนได้ด้วยตนเองก่อนการตัดสินใจด้านการเงิน