โอนเงินข้ามประเทศ ในเอเชีย ด้วย TrueMoney

สราญรัตน์ ศรีจิรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด

สราญรัตน์ ศรีจิรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด

ทรูมันนี่ เปิดบริการโอนเงินข้ามประเทศ โดยเลือกเมียนมาร์ประเทศแรก เพราะเห็นพฤติกรรมชาวเมียนมาร์ที่อยู่ในไทยกว่า 2 ล้านคน นิยมใช้วิธีโอนเงินผ่านระบบโพยก๊วน อีกทั้งยังมีพฤติกรรมชอบใช้งานสมาร์ทโฟน และใช้แอพฯ ในการสื่อสาร

ในจำนวนประชากรชาวเมียนมาร์ทั้งหมด พบว่า มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มีบัญชีธนาคาร เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังคงติดปัญหาด้านการสื่อสารทางภาษาในการทำธุรกรรมที่ธนาคาร และด้วยค่าธรรมเนียมที่สูงในการโอนเงินข้ามประเทศ เป็นจุดอ่อนที่สร้างโอกาสให้บริการทรานสเฟอร์ เข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภค ซึ่งทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ เป็นบริการ e-Payment ที่เข้ามาช่วยชาว เมียนมาร์ลดค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกในการโอนเงินกลับประเทศได้

6

เจาะกลุ่มแรงงานเมียนมาร์ รับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล
สราญรัตน์ ศรีจิรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด กล่าวว่า จากสถิติพบว่า แรงงานชาวเมียนมาร์ มีการโอนเงินจากประเทศไทยกลับสู่ประเทศตัวเองแบบเดือนเว้นเดือน หรือปีละประมาณ 6 ครั้ง โดยมีการโอนเงินเฉลี่ยครั้งละ 6,650 บาท เฉลี่ยโอนเงิน 30,000 บาท ต่อคนต่อปี รวมรายการ 12 ล้าน ทราน แซคชั่นต่อปี คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 77,000 ล้านบาท แต่ด้วยข้อจำกัดของการไม่มีบัญชีธนาคาร สถานะทางกฎหมาย อุปสรรคทางด้านภาษา และการเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคาร ทำให้แรงงานชาวเมียนมาร์ถึง 67 เปอร์เซ็นต์ เลือกใช้บริการส่งเงินออกนอกประเทศผ่านนายหน้ารับเงิน หรือที่เรียกกันว่า “โพยก๊วน” ซึ่งมีการคิดค่าธรรมเนียมสูง อีกทั้งใช้ระยะเวลานานถึง 4-5 วัน กว่าจะถึงมือผู้รับเงิน และยังมีความไม่ปลอดภัย หรือไม่มีหลักประกันรับรองว่า ผู้รับจะได้รับเงินดังกล่าว ขณะที่โอนเงินผ่านธนาคารมีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์

ฉบับที่ 215 เดือนพฤศจิกายน

เจาะตลาดข้ามประเทศด้วยระบบส่งเงิน

เพื่อแรงงานสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ถูกต้อง ทรูมันนี่ จึงได้ออกบริการ ทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ (TrueMoney Transfer) เพื่อให้การโอนเงินระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย ด้วยค่าธรรมเนียมที่เป็นธรรม

“หลังจากที่เราได้รับประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ขยายคุณสมบัติให้ผู้ประกอบการด้านบริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สามารถยื่นขอใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศได้ เราเชื่อว่า บริการทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ จะช่วยขยายบริการที่มีอยู่ของทรูมันนี่ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น โดยในช่วงเริ่มต้นของการให้บริการจะเน้นไปที่กลุ่มแรงงานชาวเมียนมาร์ โดยข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ (UN) พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้แรงงานชาวเมียนมาร์ที่อาศัยอยู่ในไทยถึง 2 ล้านคน ในจำนวนนี้ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง จากจำนวนแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาทั้งหมด 3.91 ล้านคน ซึ่งถึงแม้ว่าชาวเมียนมาร์จะมีบัญชีธนาคารเป็นส่วนน้อย แต่ชาวเมียนมาร์กลับเป็นผู้บริโภคยุคดิจิทัล มีการใช้สมาร์ทโฟน และชอบใช้แอพพลิ-เคชั่น Viber ในการสื่อสารกัน ซึ่งจึงเป็นจุดที่สร้างโอกาสได้มาก” สราญรัตน์ กล่าว

อรุณ สุดเวหา ผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด

อรุณ สุดเวหา ผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด

ชูค่าธรรมเนียมถูกกว่าแบงก์ ดึงส่วนแบ่งตลาดโพยก๊วน
อรุณ สุดเวหา ผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด กล่าวว่า ทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ ให้บริการการรับส่งเงินที่รวดเร็วแบบเรียลไทม์ ด้วยการใช้ระบบเดียวกันทั้งในไทยและเมียนมาร์ ทำให้ส่งเงินและรับเงินปลายทางได้ทันที และด้วยการใช้รหัสยืนยันการทำรายการ 8 หลัก ในการส่งและรับเงินทำให้มีความปลอดภัย ผ่านจุดให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด 250 จุด ภายในสิ้นปี 2559 เช่น กรุงเทพฯ สมุทรสาครสมุทรปราการ ตาก ระนอง กาญจนบุรี และภูเก็ต พร้อมทั้งจุดให้บริการในประเทศเมียนมาร์กว่า 681 จุด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากธนาคาร AGD (Asia Green Development Bank) ธนาคารพาณิชย์เอกชนรายใหญ่ของเมียนมาร์ ที่ให้บริการครอบคลุมถึง 91 เปอร์เซ็นต์ของทุกเมือง ที่ส่วนใหญ่เป็นภูมิลำเนาของผู้ใช้แรงงานในไทย อาทิ รัฐมอญ เขตตะนาวศรี รัฐกะเหรี่ยง รัฐฉาน เขตย่างกุ้ง และเขตพะโค

4

ถึงแม้ว่าชาวเมียนมาร์จะมีบัญชีธนาคารเป็นส่วนน้อย แต่ชาวเมียนมาร์กลับเป็นผู้บริโภคยุคดิจิทัล มีการใช้สมาร์ทโฟน และชอบใช้แอพพลิเคชั่น Viber ในการสื่อสารกัน

“เรามีการศึกษาพฤติกรรมการโอนเงินกลับประเทศของชาวเมียนมาร์ โดยลงไปยังพื้นที่ชุมชน พบว่า ประสบการณ์ที่แย่ที่สุดของการโอนเงินผ่านโพยก๊วนคือ การถูกเชิดเงินหนีไป และไม่สามารถเรียกร้องได้ อีกทั้งในการฝากเงินแต่ละครั้ง ก็ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่ไม่ชัดเจนได้ ขณะที่ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างช่องทางธนาคาร จะเริ่มต้นค่าธรรมเนียมที่ 150 บาทต่อการโอนเงิน 3,000-6,000 บาท แต่โพยก๊วนจะเสียค่าธรรมเนียมแค่ 30 บาท ทำให้คนส่วนใหญ่ยังเลือกใช้โพยก๊วน โดยจะเปลี่ยนนายหน้าไปเรื่อยๆ เมื่อมีเพื่อนหรือคนรู้จักแนะนำว่าดี เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเงิน ทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ จึงเข้ามาตอบโจทย์ส่วนนี้ โดยจะคิดค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 50 บาท เมื่อโอนเงินตั้งแต่ 100 – 5,000 บาท สามารถโอนได้สูงสุด 30,000 บาทต่อครั้ง ไม่เกิน 200,000 บาทต่อวันต่อคน” อรุณ กล่าว

วณัฏฐ์ สวนศิลป์พงศ์ ผู้จัดการสายงานบริหารผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด

วณัฏฐ์ สวนศิลป์พงศ์ ผู้จัดการสายงานบริหารผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด

ด้าน วณัฏฐ์ สวนศิลป์พงศ์ ผู้จัดการ สายงานบริหารผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด กล่าวว่า วิธีการโอนเงินไปยังประเทศเมียนมาร์นั้น สามารถทำได้ดังนี้

1. ผู้ส่งเงินแจ้งความประสงค์ต้องการส่งเงินกับผู้ให้บริการทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ และทำการลงทะเบียนด้วยบัตรประจำตัว พร้อมแจ้งชื่อพร้อมเบอร์โทรศัพท์ของผู้รับเงินปลายทาง

2. แจ้งจำนวนเงินที่ต้องการโอน โดยจะแปลงค่าเงินเป็นสกุลเงินจั๊ดในทันที

3. ผู้ส่งเงินจะได้รับรหัสยืนยันการทำรายการ 8 หลักทาง SMS และต้องแจ้งรหัสดังกล่าวไปยังผู้รับเงินปลายทาง ให้ไปรับเงินตามจุดบริการทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ ในประเทศเมียนมาร์

4. ผู้รับเงินแสดงหลักฐาน บัตรประจำตัว เบอร์โทรศัพท์มือถือ และแจ้งรหัสยืนยัน 8 หลัก ที่ได้รับจากผู้ส่งเงินทาง SMS ก็จะสามารถรับเงินได้ในทันที

5

ใช้ Influencer หวังกระแสบอกต่อก่อนขยายสู่ตลาดประเทศอื่น
สราญรัตน์ กล่าวเสริมว่า สำหรับแผนการตลาดได้วางงบประมาณที่ 30 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์บนสื่อออนไลน์ และการจัดงานอีเวนต์ และได้เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ เพ่ยเพ่ย ซึ่งเป็น Influencer ของชาวเมียนมาร์ ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อสารโดยตรง โดยหวังกระตุ้นให้เกิดกระแสการบอกต่อ ผ่านภาพยนตร์โฆษณาที่จะมีการเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ทรูมันนี่คาดว่า จะมีชาวเมียนมาร์ใช้งานทรูมันนี่ ทรานสเฟอร์ ถึง 2.4 ล้านทรานแซคชั่น โดยตั้งเป้ามีส่วนแบ่งราว 20 เปอร์เซ็นต์ ของรายการโอนเงินกลับไปยังเมียนมาร์ ภายในสิ้นปี 2560

“ทรูมันนี่มีเครือข่ายอยู่ 6 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศต่อไปที่จะมีการเปิดให้บริการโอนเงินข้ามประเทศ คาดว่าจะเป็นประเทศกัมพูชา และลาว เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้แรงงานที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากเช่นเดียวกัน แต่ยังคงติดข้อจำกัดในเรื่องของกฎหมาย และรัฐบาลในการอนุญาตให้ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน สามารถให้บริการโอนเงินข้ามประเทศได้ ซึ่งหากรัฐบาลของแต่ละประเทศเปิดอนุญาต เชื่อว่าจะสามารถรองรับการให้บริการโอนเงินข้ามประเทศได้ทันที ด้วยความพร้อมของแพลตฟอร์ม International Remittance System (IRS) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมารองรับการโอนเงินระหว่างประเทศบนเทคโนโลยีคลาวด์” สราญรัตน์ กล่าว

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย