พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เตรียมตัวหรือยัง รัฐเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซจริงจัง

ผู้ค้าอีคอมเมิร์ซอาจจะเริ่มได้ยินถึงเรื่องของการจัดเก็บภาษีกันแล้ว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะเมื่อมีการซื้อขายก็ต้องมีการเสียภาษีกันเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซตามกฎหมายแล้วจำเป็นต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อเสียภาษีรายได้เป็นประจำทุกปี โดยแบ่งการเสียภาษีดังนี้

อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ภาษีอีคอมเมิร์ซเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงยุโรป ซึ่งในประเทศไทยเองก็ยอมรับว่าปัญหาการจัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมายหลายปี ส่วนหนึ่งเกิดจากจุดรั่วไหลในการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะในกรณีการค้าขายออนไลน์ ที่ส่วนใหญ่เสียภาษีไม่ถูกต้อง และไม่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้รัฐจัดเก็บภาษีโดยรวมได้ต่ำกว่าเป้า พร้อมให้กรมสรรพากรหาแนวทางการแก้ไขมานำเสนอภายในเดือนมิถุนายนนี้

โดยจากข้อมูลสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) คาดภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยปี 2560 อีคอมเมิร์ซกลุ่มเอสเอ็มอีและร้านค้าออนไลน์รายย่อย จะมีมูลค่า 509,998 ล้านบาท เติบโตถึง 43% ส่วนใหญ่เป็นการค้าออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (โซเชียลคอมเมิร์ซ) ประมาณ 2.7 แสนล้านบาท

หักภาษีไม่ได้ เพราะร้านค้าไม่จดทะเบียน

หนึ่งในปัจจัยที่ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้คือ การที่ร้านค้าเหล่านี้จัดตั้งขึ้นได้ โดยที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างถูกต้อง มีเพียงการโอนเงินผ่านไปมาจากบุคคล ถึงบุคคล ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบรายได้ ได้อย่างชัดเจน

ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร

ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและการโอนเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงการดำเนินธุรกิจบนนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ อย่าง e-Payment และ e-Wallet ก็เข้าข่ายต้องชำระภาษี ซึ่งกฎหมายจะให้อำนาจสถาบันการเงินเป็นผู้จัดเก็บภาษี หัก ณ ที่จ่าย แทนกรมสรรพากร โดยเมื่อใดที่มีการโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ ทางสถาบันการเงินในไทยมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจำนวน 5% เพื่อนำไปชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากร

ซึ่งคาดว่าจากการออกกฎหมายนี้จะทำให้มีมูลค่าการจัดเก็บภาษีได้พอสมควร เพราะมูลค่าการทำธุรกรรมบนธุรกิจออนไลน์สูงหลักล้านล้านบาท ทั้งในส่วนอยู่ในระบบที่เสียภาษีถูกต้องแล้ว และส่วนที่ไม่อยู่ในระบบ

ตัวอย่างกรณีการให้บริการแท็กซี่ของอูเบอร์ ที่ไม่มีการเสียภาษี แม้จะดูเหมือนว่า อูเบอร์ทำธุรกิจเกี่ยวกับขนส่ง ซึ่งไม่มีภาระภาษี แต่จริงๆ แล้วอูเบอร์ ไม่ได้ทำธุรกิจขนส่ง แต่กินหัวคิวค่าบริหารจัดการระบบ ซึ่งรายได้ทั้งหมดถูกโอนไปยังอูเบอร์ประเทศเนเธอร์แลนด์ และจะโอนกลับมายังคนขับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ไม่มีการเสียภาษีเลย

แล้วธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบไหน จะต้องเสียภาษีอย่างไร

สำหรับคนทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่รู้ตัวว่าจะต้องเสียภาษี และกำลังสงสัยว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไรนั้น เริ่มต้นให้ตรวจสอบจากรูปแบบของธุรกิจและรายได้ก่อน  ว่าอยู่ในรูปแบบของ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล

และยังมีภาษีอีกประเภทหนึ่งที่ต้องเสีย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม

ทั้งนี้หากธุรกิจอีคอมเมิร์ซไม่เสียภาษี จะถือว่าธุรกิจผิดกฎหมายและจะต้องมีการรับโทษ โดยการเสียค่าปรับและดอกเบี้ย ที่เรียกว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม”  ที่จะต้องเสียในอัตราแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของภาษี

อย่างไรก็ตาม นอกจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่จะต้องเสียภาษีแล้ว ทราบหรือไม่ว่า ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ 10 ประเภท ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นมีอะไรบ้าง

10 ประเภทอีคอมเมิร์ซ

  1. เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า Catalog Website
  2. เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้าe-Shopping
  3. การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง Community Web
  4. เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้า e-Auction (electronic auction)
  5. เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ e-Market Place หรือ Shopping Mall
  6. เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอล Stock Photo
  7. การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเกิ้ล Google AdSense
  8. การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิ้ลติดลำดับแรกๆ SEO หรือ Search Engine Optimization
  9. เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้าและบริการ Affiliate Marketing
  10. การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ Game Online

โดยการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี สำหรับนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ดังนี้

1. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ
จะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี(ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

2. การเสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ
 ระยะเวลาบัญชีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

รู้อย่างนี้แล้ว คนทำธุรกิจคอมเมิร์ซอย่าลืมติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด รวมถึงทำการเสียภาษีให้ถูกต้อง จะได้ไม่โดนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มกัน

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

กระแสนิยม O2O จากจีน สู่การเปลี่ยนแปลงตลาดออนไลน์ในไทย

ETDA ได้คาดการณ์ว่า ปี 61 ประเทศไทย การค้าในรูปแบบ E-Commerce ในปัจจุบัน จะเติบโตถึง 3 ล้านล้านบาท ซึ่งหลาย ๆ คนคิดว่าเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน แต่ตอนนี้...