การทำงานของพนักงานในยุคนี้ ใช่ว่าจะอยู่ในออฟฟิศอย่างเดียว แต่ยังต้องไปทำงานนอกสถานที่ด้วย การสื่อสารจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากสามารถประชุมผ่านอุปกรณ์ดีไซท์ต่างๆ ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
จากการสำรวจของ ZK Research พบว่า องค์ประกอบของการทำงานร่วมกันที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา สองคำตอบที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในทีมงาน 72 % และการส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบุคลากรที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์กร 68 %
ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือช่วยให้บุคลากรนอกสถาน แต่ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศของบริษัท เป็นการขจัดอุปสรรคด้านระยะทางที่อยู่ห่างไกลกัน และโซนเวลาที่แตกต่างกัน ช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
‘Cisco Spark’ แพล็ตฟอร์มที่รองรับหลายอุตสาหกรรม
ล่าสุด Cisco เปิดตัว Cisco Spark คลาวด์แพลตฟอร์ม สำหรับการประชุมผ่านวิดีโอ มาพร้อมกับ Spark Board กระดานบอร์ดดิจิทัลเชื่อมต่อคลาวด์ ในประเทศไทย โดยมีขนาด 55 นิ้ว เป็นกระดานบอร์ดดิจิทัลทัชสกรีน เชื่อมต่อได้กับทุกอุปกรณ์ เช่นมือถือ แท็บเล็ต ตัวฮาร์ดแวร์มาพร้อมกับซอฟต์แวร์โซลูชั่นบนคลาวด์ที่ลูกค้าและองค์กรต้องจ่ายเงินเป็นค่า subscription
ฟีเจอร์ Spark Board
- ตัวฮาร์ดแวร์มีกล้องความละเอียดสูง
- เชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายผ่านไวร์เลส
- ใช้แอพพลิเคชั่นเชื่อมต่อบอร์ดกับมือถือและแท็บเล็ต
- มีระบบติดตามเสียงผู้พูด แม้จะอยู่ฝั่งหนึ่งของห้องก็เสียงดังเท่าเดิม
- เข้าร่วมการประชุมผ่าน Spark Board ได้แม้ไม่อยู่ในห้องประชุม
- ระบบความปลอดภัย เข้ารหัสข้อมูล
- ผู้เข้าร่วมประชุม ขีดเขียนบนบอร์ดได้พร้อมกันในการวางแผนงาน
นอกจากนี้ ยังมี Spark Room Kit อุปกรณ์ที่มีกล้องความละเอียดสูง 5K ตรวจจับใบหน้า และนับจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมได้ โดยสามารถเชื่อมต่อกับจอ HD มาตรฐานทั่วไปได้เลย และแปลงเป็นระบบประชุมแบบวิดีโอ จับใบหน้าผู้พูดอัตโนมัติ มีสองเวอร์ชั่น คือ Spark Room Kit ออกแบบมาเพื่อห้องประชุมขนาดเล็กที่มีผู้เข้าร่วมประชุมไม่เกิน 7 คน และ Spark Room Kit Plus สำหรับห้องประชุมไม่เกิน 14 คน
ขยายฟีเจอร์ด้านการให้บริการลูกค้า
นอกจากนี้ Cisco Spark ยังช่วยให้ฝ่ายบริการสนับสนุนและทีมงานขนาดเล็กสามารถให้บริการแก่ลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยใช้บริการเว็บแชท และการโทรกลับ ซึ่งออกแบบโซลูชั่นคอลล์เซ็นเตอร์ ผ่านบริการที่เรียกว่า “Cisco Spark care” จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้รวดเร็วและตรงจุดมากขึ้น
Cisco Spark care เป็นไลเซนส์เสริมบนแพลตฟอร์มการประสานงานร่วมกัน Cisco Spark พร้อมด้วยระบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กรและการบริหารจัดการระบบอย่างครบวงจร บริการนี้ประกอบด้วยพื้นที่ทำงานสำหรับผู้ใช้ฝ่ายบริการลูกค้า และระบบการรายงานความคิดเห็นของลูกค้า ทีมงานขนาดเล็กจะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และ ภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า แนวโน้มการใช้อุปกรณ์โมบายล์ในประเทศไทยน่าจะมีสัดส่วนที่มากกว่าแนวโน้มของโลก ดังนั้นจึงมีพันธมิตรหลายรายที่นำแพลตฟอร์มของ Cisco Spark ไปประยุกต์ใช้กับลูกค้าของตนเอง
“ยกตัวอย่าง วัตสัน แพล็ตฟอร์ม AI ของ ไอบีเอ็ม ในการทำหน้าที่เลขาอัจฉริยะในการแจ้งเตือนนัดหมายต่างๆ ซึ่ง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีการนำมาใช้ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว”
โดย Cisco Spark ยังมีฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ให้พาร์ทเนอร์สามารถนำไปพัฒนาต่อได้และนำไปใช้ในส่วนงานที่ต้องการ ให้พันธมิตร นักพัฒนา ไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากการประชุมด้วย เช่น สาธารณสุข, การศึกษา และ ภาคการเงิน เป็นต้น