อนาคตของรถยนต์

Google Car

Google Car

ถ้าเทียบเทคโนโลยีของรถยนต์กับเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตหรือคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ต้องบอกว่ารถยนต์นั้นก้าวในจังหวะที่ช้ากว่ามาก เพราะในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีของรถยนต์ที่คนส่วนใหญ่ได้ใช้จะเน้นการปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าการปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบไปเลย เช่น ปรับให้รถขับง่ายขึ้นด้วยพวงมาลัยพาวเวอร์ หรือเกียร์อัตโนมัติ ปรับปรุงความปลอดภัยด้วยเบรค ABS ถุงลมนิรภัย หรือปรับปรุงเรื่องความประหยัดด้วยเครื่องยนต์ Hybrid แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราจะพบกับเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนโลกของรถยนต์ไปได้แล้ว

รถยนต์ไร้คนขับ
รถยนต์ไร้คนขับเป็นความฝันอันยาวนานของมนุษย์ แต่ความยากของมันคือ ทำยังไรให้ใช้บนถนนที่มีคนจริงๆ ใช้ร่วมอยู่ด้วยได้ คือถ้าเราสามารถทำให้ทั้งระบบขนส่งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทุกอย่างจะง่ายขึ้น เพราะควบคุมจากศูนย์กลางเดียวกัน รถทุกคันจะรู้หลีกหลบระหว่างกันด้วยข้อมูลเครือข่าย แต่ตอนนี้เรายังต้องสร้างระบบอัตโนมัติที่ทำงานร่วมกับคนที่เอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ ระบบจึงต้องคิดเยอะมาก

ค่ายที่มีข่าวรถยนต์ไร้คนขับออกมาเยอะที่สุดคือ Google ที่เริ่มมีข่าวออกมาตั้งแต่ปี 2009 ว่ากำลังพัฒนารถยนต์ไร้คนขับอยู่ จนถึงปัจจุบันรถยนต์ไร้คนขับของ Google วิ่งไปแล้วกว่า 1.5 ล้านไมล์เพื่อทดสอบการทำงาน

Google-car2

หลักการทำงานของรถยนต์ไร้คนขับอาจสรุปได้ 4 ข้อคือ

  1. รู้ว่าตัวเองอยู่ไหน ด้วยเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อให้รถรู้ตำแหน่งและสถานะของตัวเอง
  2. รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นรอบๆ และรู้ด้วยว่าสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งเซ็นเซอร์ต้องแยกแยะได้
  3. คาดเดาได้กว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เช่น รถด้านไหนกำลังจะวิ่งไปทางไหน คนที่อยู่ข้างถนนกำลังจะข้ามมาหรือไม่
  4. ตัดสินใจได้ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป

ซึ่งรถยนต์ไร้คนขับนี้คงจะไม่ได้สำเร็จเร็วๆ นี้ แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าในปี 2040 ในท้องถนนจะมีรถยนต์ไร้คนขับมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับคือ ลดปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ ทั้งความผิดพลาดในการขับขี่ต่างๆ เช่น ง่วง เหนื่อยล้า จนตัดสินใจผิด และสร้างความเท่าเทียมกันในโลก เพราะต่อไปทุกคนก็สามารถไปไหนด้วยตัวเองกับรถยนต์ไร้คนขับ แม้ว่าจะตาบอด พิการจนไม่สามารถขับรถได้ นอกจากนี้เมื่อมองในแง่ของสังคมก็จะทำให้รถติดน้อยลงด้วย เพราะจุดเด่นอย่างหนึ่งของรถไร้คนขับคือ เอาไปใช้เป็นบริการสาธารณะที่วิ่งได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน

Google Prius

Google Prius

ประโยชน์ของรถยนต์ไร้คนขับคือ ลดปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ ทั้งความผิดพลาดในการขับขี่ต่างๆ และสร้างความเท่าเทียมกันในโลก เพราะต่อไปทุกคนก็สามารถไปไหนด้วยตัวเองกับรถยนต์ไร้คนขับ

รถยนต์พลังงานไฟฟ้ากับ Tesla
รถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งที่คิดและเริ่มมีในท้องตลาดกันมาหลายปีแล้วนะครับ แต่ที่ยังไม่เกิดอย่างจริงจังก็เพราะว่าการใช้รถไฟฟ้านั้นก็ต้องมีสาธารณูปโภครองรับด้วย ในที่นี้คือ สถานีชาร์จไฟ แต่ถ้าจะมีแบรนด์ที่ทำให้รถไฟฟ้าเกิดได้จริงจัง แบรนด์นั้นคงเป็น Tesla

model3

Tesla Model 3

Tesla Model S

Tesla Model S

Tesla Model X

Tesla Model X

e210-small

ฉบับที่ 210 เดือนมิถุนายน

FinTech 2.0 การเงินคลื่นลูกใหม่

Tesla เป็นหนึ่งในบริษัทท้าทายอนาคตของ Elon Musk เจ้าของเดียวกันกับ SpaceX, Hyperloop หรือ OpenAI โดย Elon Musk เคยตอบคำถามใน TED Talk ว่าทำไมเขาถึงมุ่งที่จะผลิตรถไฟฟ้า คำตอบคือ Musk มองว่ารถไฟฟ้านั้นมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากกว่ารถที่ใช้น้ำมันแบบเดิม เพราะกระแสไฟฟ้านั้นได้จากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานจากน้ำมัน พลังงานจากลม พลังงานนิวเคลียร์ ฯลฯ ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าสูงกว่าเครื่องยนต์น้ำมันเล็กๆ ในรถจะทำได้ นอกจากนี้รถไฟฟ้ายังมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม มีแรงบิดสูง สามารถไต่ความเร็วได้ในเวลาไม่กี่วินาที

tesla motors

Elon Musk ผู้ก่อตั้ง Tesla Motors

และทำไมต้องเปิดตัวเป็นรถสปอร์ตราคาแพงอย่าง Tesla Roadster หรือ Model S ก่อนที่จะเปิดตัวรถสำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไปอย่าง Model 3 เรื่องนี้ Musk ให้เหตุผลว่า เขาต้องการสื่อภาพลักษณ์ของสินค้าไฮเทค ล้ำสมัยให้เป็นที่ติดตาในตลาดก่อน ให้ผู้คนรู้สึกว่ารถไฟฟ้ามันคูล! แล้วระหว่างนี้ก็ค่อยๆ พัฒนาเทคโนโลยีที่จะทำให้ผลิตรถในราคาถูกลงได้ จนเพิ่งเปิดตัว Tesla Model 3 ที่มีราคาเริ่มต้น $35,000 หรือประมาณ 1,230,000 บาท เมื่อเดือนมีนาคม 2016 ที่ผ่านมานี่เอง

เทคโนโลยีของ Tesla มีอะไรบ้าง หลักๆ คือเทคโนโลยีแบตเตอรี่ความจุสูงพร้อมสถานีชาร์จ Supercharger ที่ติดตั้งไปทั่วอเมริกา ซึ่งผู้ใช้รถ Tesla สามารถเข้าชาร์จได้ฟรี นอกจากนี้ยังมีระบบ Autopilot ที่กึ่งๆ รถยนต์ไร้คนขับด้วย โดยรถของ Tesla จะมีกล้องติดอยู่ในรถพร้อมโซน่าร์ตรวจสอบรอบคัน เพื่อสามารถช่วยคนขับในบางสถานการณ์ได้ แถมยังช่วยจอดรถได้ด้วย

แม้ว่า tesla จะล้ำขนาดไหน มันก็ยังไม่เข้าไทยอยู่ดี

แม้ว่า tesla จะล้ำขนาดไหน มันก็ยังไม่เข้าไทยอยู่ดี

เทคโนโลยีของ Tesla หลักๆ คือ แบตเตอรี่ความจุสูงพร้อมสถานีชาร์จ Supercharger ที่ติดตั้งไปทั่วอเมริกา ซึ่งผู้ใช้รถ Tesla สามารถเข้าชาร์จได้ฟรี นอกจากนี้ยังมีระบบ Autopilot ที่กึ่งๆ รถยนต์ไร้คนขับด้วย

แล้วรถยนต์ในปัจจุบันล่ะ?
เรื่องที่เล่าไปก่อนหน้านี้อาจจะไกลตัวพวกเราสักหน่อย รถยนต์ไร้คนขับก็ต้องพัฒนาอีกเป็นสิบปีกว่าจะได้ใช้จริงๆ รถไฟฟ้าก็ยังไม่แพร่หลายในไทย มาลองดูเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์ที่เราหาได้ตอนนี้ดีกว่า

Apple CarPlay และ Android Auto
เมื่อสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมในปัจจุบัน ก็เป็นหน้าที่ของรถยนต์ที่จะต้องเชื่อมต่อข้อมูลจากสมาร์ทโฟนมาใช้ให้ได้ ซึ่งก็มีเทคโนโลยีหลักอยู่ 2 ตัวตามค่ายของสมาร์ทโฟนคือ ฝั่ง Apple ก็เป็น CarPlay ที่ใช้ได้กับ iPhone 5 ขึ้นไป ส่วนฝั่ง Google ก็เป็น Android Auto ที่ใช้ได้กับสมาร์ทโฟน Android 5.0 ขึ้นไป

gps-satellite-tracking-system
Apple CarPlay

Apple CarPlay

การใช้งานทั้ง 2 ระบบนี้จะคล้ายๆ กันคือ เมื่อรถ หรือ Front ในรถรองรับ Carplay และ Android Auto ก็แค่เสียบสายเชื่อมกับสมาร์ทโฟน และผู้ใช้จะสามารถเล่นเพลงจากในสมาร์ทโฟน คุยโทรศัพท์ สั่งงานด้วยเสียง นำทางด้วยแผนที่จากสมาร์ทโฟน (ถ้านำด้วย Apple Maps ก็ใช้วิจารณญาณเยอะๆ นะครับ :P) รวมถึงสามารถใช้งานแอพฯ บางตัวผ่านหน้าคอนโซลรถยนต์ได้ด้วย เช่น Tunein สำหรับฟังวิทยุ หรือ Skype สำหรับใช้งาน VOIP

ระบบ GPS พร้อมรายงานสภาพการจราจร
ทุกวันนี้เราก็รู้จักระบบ GPS หรือ Global Positioning System กันดีนะครับ ซึ่งก็ขอเล่าที่ไปที่มาของมันให้ฟังกันสักหน่อย

GPS พัฒนาโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ระบุตำแหน่งบนพื้นโลกและระบุเวลาที่แม่นยำ โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 1978 หรือเกือบ 40 ปีที่แล้ว (แต่เราเพิ่งมาได้ยินชื่อเยอะๆ เมื่อไม่เกิน 10 ปีนี่เอง) การทำงานของ GPS จะอาศัยดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อระบุตำแหน่งของผู้ใช้บนพื้นโลก ซึ่งในวงโคจรตอนนี้มีดาวเทียม GPS อยู่มากกว่า 70 ดวง แต่ดวงที่ยังใช้งานได้มี 31 ดวง (ก็เริ่มโครงการมาเกือบ 40 ปีแล้ว ดาวเทียมก็หมดอายุไปบ้าง)

แต่ระบบแบบ GPS นั้นไม่ได้มีแต่ของอเมริกาอย่างเดียว เรายังมี

  • The Russian Global Navigation Satellite System (GLONASS) ระบบจากรัสเซีย
  • Union Galileo positioning system ระบบจากยุโรป
  • BeiDou Navigation Satellite System ระบบจากจีน
  • Quasi-Zenith Satellite System ระบบจากญี่ปุ่น

เพราะระบบพวกนี้พัฒนาเพื่อการทหาร แต่ละประเทศมหาอำนาจก็ต้องมีระบบของตัวเอง เวลาเกิดปัญหาจะได้ใช้ระบบของตัวเอง ไม่ใช่ยืมจมูกของศัตรู แต่ปัจจุบันก็มีแค่ GPS และ GLONASS ที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลก

และหลายคนอาจจะสงสัยว่า ระบบนำทางสำหรับใช้ในรถยนต์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น มันรู้สภาพการจราจรได้ยังไง ข้อมูลการจราจรที่ใช้ใน Google Maps หรือระบบของ Garmin นั้นมาจากหลายแหล่งครับ แหล่งที่เป็นทางการก็คือ ข้อมูลจากศูนย์จราจรของประเทศนั้นๆ แต่ยุคนี้เรามีข้อมูลของถนนแทบทุกสาย เพราะใช้ข้อมูลแบบ Crowdsourcing หรือใช้ข้อมูลจากผู้ใช้งานทั่วโลกมาประมวลผลว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น เชื่อได้ว่าปัจจุบันนี้ทุกถนนต้องมีคนที่ใช้งาน GPS เพื่อนำทางอยู่ ระบบก็นำข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้มาประมวลผลว่ากำลังวิ่งไปทางไหน ความเร็วเท่าไร ซึ่งถ้าเกิด GPS วิ่งช้าหลายๆ คนระบบก็จะรู้ว่ารถติด และประเมินล่วงหน้าได้ว่าจะติดมากขนาดไหน อนาคตจะเป็นอย่างไร

Contributor

eka-x

Eka-X

เอกพล ชูเชิด

วุ่นวายกับเทคโนโลยีมาตั้งแต่เยาว์วัย จนเริ่มมีอายุเยอะก็จับคีย์บอร์ดหาเลี้ยงชีพด้วยงานเขียนด้านเทคโนโลยีมาตลอด ทั้งยังเปิด Aofapp.com เว็บไซต์ส่วนตัวที่เล็กมากๆ เพื่อเขียนรีวิวแอพฯ มือถือเรื่อยๆ ในเวลาว่าง ถึงจะสาหัสกับงานขนาดไหนก็ยังเขียน แชร์ บ่นไปเรื่อยใน Twitter

Twitter: Twitter.com/eka_x

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

future car
รถอัจฉริยะกับอุบัติเหตุ

รถอัจฉริยะของกูเกิล จะมีมนุษย์นั่งไปด้วยเพื่อเข้ามาควบคุมรถแทนในสถานการณ์ที่รถอัจฉริยะยังทำเองไม่ได้ ในบทความที่แล้วผมได้นำเสนอประเด็นเรื่องรูปแบบการจราจร และการใช้รถอัจฉริยะร่วมกับระบบขนส่งมวลชนไปแล้ว บทความนี้ ผมจะนำเสนอเรื่องของรถอัจฉริยะต่อในอีกมุมหนึ่ง นั่นคือ...

  • Mobile-2.0
  • CHATBOT
    ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต

    ว่าด้วยเรื่องของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อกฎขึ้นมาในวงสนทนาเมื่อไร มักจะถูกคนทั่วไปมองหน้าเอาว่า นี่มันคือพวกเนิร์ด (Nerd) หรือกี๊ก (Geek) บ้าคอมฯ และพูดอะไรเข้าใจอยากแบบมนุษย์ต่างดาวแน่นอน ไม่ต้องแปลกใจครับ หลายคนมักเข้าใจว่าภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นภาษาที่คนทั่วไปไม่น่าจะเข้าใจได้ง่าย...

  • future-smart-car
    รถอัจฉริยะกับสังคมในอนาคต

    แท็กซี่ไร้คนขับ ที่มารับ-ส่งผู้โดยสารตามคำร้องขอผ่านแอพพลิเคชั่น รถอัจฉริยะหรือรถขับขี่อัตโนมัติ (Self-Driving Car) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจและผลักดันจากหลายฝ่าย ทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี การมาถึงของรถอัจฉริยะนั้นอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน...