เครื่องจัดการแยกโลหะกับไม่ใช่โลหะ ช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากร [KidBright ตอนที่ 3]

นักเรียนกำลังโชว์ผลงานและสาธิตการใช้งาน

ผ่านไปสองทีม คงได้เห็นความสามารถของเด็กไทยที่มีความสามารถ เข้ามาอบรมและเรียนรู้การทำงานของ บอร์ด KidBright จนนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมช่วยเหลือสังคมได้อีกมากมาย สำหรับทีมที่สาม ก็เก่งไม่แพ้กัน แม้จะคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ไป แต่ไอเดียก็น่าสนใจมากทีเดียว

กับผลงานเครื่องแยกขยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชินี โดยมี เด็กหญิง พลอยชมพู ศรีสกุลวิวัฒน์ เด็กหญิง อรกัญญา ชัยวรพงศา และ เด็กหญิง อสึชิ มัทสึกาว่า บอกเล่าที่มาของการคิดเครื่องแยกขยะขึ้นมา

ทีมจากโรงเรียนราชินี รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการบัวหลวงเพื่อ KidBright

Q: ผลงานของเรามีชื่อว่าอะไร

A: เซ็นเซอร์แยกขยะค่ะ ช่วยแก้ปัญหาปริมาณขยะในปัจจุบัน

Q:มีแนวคิดอย่างไร ในการสร้างเครื่องนี้

A: เดินผ่านถังขยะในโรงเรียน เห็นขยะที่เป็นโลหะ และไม่ใช่โลหะ ทางกลุ่มของเราเลยคิดทำเครื่องแยกขยะทั้งสองชนิดออกจากกัน เพราะว่าโลหะสามารถนำไปทำรายได้ หรือผลิตเป็นอย่างอื่นได้อีก เช่น กระป๋องน้ำอัดลม เป็นต้น เลยสร้างเครื่องแยกขยะตัวนี้ขึ้นมาจากบอร์ด KidBright

Q: มีรูปแบบการทำงานอย่างไรบ้าง กับวิธีการแยกขยะทั้งสองชนิด

A: ขั้นตอนแรกถ้าเป็นขยะโลหะ เซ็นเซอร์จะทำการจับและไม้กั้นก็จะพาดขยะก็จะตกไปในช่องที่เรากำหนดไว้ เมื่อขยะตกลงไปเซ็นเซอร์จะทำงานอีกครั้ง ไม้กั้นก็จะกลับไปอยู่ที่เดิม ถ้าเป็นไม่ใช่โลหะก็จะผ่านสายผ่านโดยไม้กั้นจะไม่ลงมา และผ่านมาลงช่องที่กำหนดไว้

ฟีเจอร์ของระบบเซ็นเซอร์แยกขยะ

Q: หลังจากลองใช้งานบอร์ด KidBright คิดอย่างไร

A: ในโครงการจะมีการอบรมก่อน โดยใช้เวลา 1 เดือน ในการสร้างเครื่องนี้ขึ้นมา บอร์ด KidBright จะเป็นบล็อกให้ทำงานง่าย เรียนรู้สักพักก็เข้าใจ เราจึงนำมาออกแบบใช้เซ็นเซอร์จับขยะ และแยกประเภท โดยเราแบ่งหน้าที่กันสร้างแบบจำลอง และเขียนโปรแกรม อยากให้ศูนย์เนคเทคช่วยพัฒนาบอร์ด KidBright ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกระดับ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ได้อีกขั้นหนึ่งในอนาคต

Q: คิดว่าผลงานของกลุ่มเราสามารถต่อยอดด้านไหนได้

A: อาจเริ่มจากสร้างถังขยะเพื่อแยกขยะประเภทอื่นๆ ออกจากกัน หรือนำไปต่อยอดโรงงานอุตสาหกรรมในการคัดแยกขยะในปริมาณที่มาก เพื่อลดการใช้ทรัพยากร และสามารถแยกขยะที่ถูกวิธี ลดต้นทนที่ต้องจำจัดขยะด้วย

Q: รู้สึกอย่างไรกับรางวัลที่ได้รับ

A: รู้สึกตกใจที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากทั้งหมด 10 ทีมที่เข้าร่วมโครงการ คิดว่าประสบความสำเร็จในเรื่องของการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสังคมได้

Q: ฝากถึงเพื่อนๆ เกี่ยวกับการคิดและสร้างนวัตกรรม

A: อยากให้น้องๆ และเพื่อนคนอื่นๆ ลองคิดดูว่าอยากจะสร้างสิ่งประดิษฐ์อะไรใหม่ๆ โดยเริ่มจากบอร์ด KidBright เหมือนอย่างพวกเราก็ได้ ลองทำดูเพื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นแนวทางช่วยให้สังคมไทยดีขึ้นค่ะ

จากผลงานทั้งสามทีม แสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และไม่ใช่เรื่องไกลตัว เรียกได้ว่าแทบจะอยู่ติดตัวเราตลอดเวลา ดังนั้น การส่งเสริมการเรียนรู้เยาวชน ผ่านเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ จึงเป็นการเปลี่ยนจินตนาการสู่ผลงานสร้างสรรค์ ซึ่งน้องๆ ยังได้พิสูจน์สมมุติฐานด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สู่ผลงานที่ใช้ได้จริง และจะเป็นการดีที่จะมีบุคลาการเข้ามาสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้น

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

SuperBoss Live-Игры – Погружение в Эмоции и Реальные Восторги Онлайн

Современные развлечения стремительно меняются, предлагая участникам уникальные возможности для...