เปลี่ยนวิธีการขายของ กับนักท่องเที่ยวจีน ผ่าน WeChat Pay

เซีย หลิงหยุน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการรับชำระเงินระหว่างประเทศ เทนเซนต์กรุ๊ป

เซีย หลิงหยุน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการรับชำระเงินระหว่างประเทศ เทนเซนต์กรุ๊ป

ตลาด e-Payment ไทย กำลังคึกคัก โดยเฉพาะบริษัทจากประเทศจีน ทยอยเข้ามาในตลาดกันเรื่อยๆ ด้วยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์สูง WeChat เป็นอีกหนึ่งที่รุกตลาดอย่างรวดเร็ว

การเปิดบริการ WeChat Pay ในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อจับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวยังประเทศไทย โดยทาง Tencent เจ้าของ WeChat ได้ร่วมมือกับ 2 พันธมิตร ได้แก่ บริษัท แอสเซส ไบร์ท จำกัด (มหาชน) ที่ทำธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ และ Ksher ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยเริ่มวางระบบ IT การชำระสินค้าและบริการ และติดต่อร้านค้าเข้าร่วมสมาชิกเป็นอันดับแรก

4

คนจีนติด WeChat ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโต
หากพูดถึงแอพพลิเคชั่น WeChat คนไทยอาจจะคงคุ้นหูกันบ้าง แต่สำหรับคนจีนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร สังคมออนไลน์ การเปิดร้านค้า และการจ่ายเงิน เรียกได้ว่าทุกกิจกรรมในการใช้งาน WeChat กลายเป็นองค์ประกอบของการเติบโตในธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ของจีนอย่างมาก โดยทุกครั้งที่จับมือถือจะเปิดดู WeChat เป็นอันดับแรก มากกว่า 50 ล้านครั้งต่อเดือน จึงมียอดผู้ใช้งานมากถึง 8,000 ล้านราย

แม้ว่า WeChat จะเป็นที่ได้รับความนิยมมาก แต่ไม่ใช่รายแรกในประเทศจีน ด้วยฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์คนจีนจึงสามารถมาแรงแซงทางโค้งรายอื่นๆ ไปได้อย่างไม่เห็นฝุ่น โดย WeChat ทำให้หุ้นของ Tencent มีมูลค่าตลาดมากกว่าหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่สามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาล นั่นก็คือ การที่ WeChat เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนจีนอย่างสมบูรณ์แบบ

เซีย หลิงหยุน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการรับชำระเงินระหว่างประเทศ เทนเซนต์กรุ๊ป กล่าวว่า “มูลค่าตลาด Tencent มีมากกว่า 9 ล้านล้านบาท หรือกว่า 2 ล้านล้านเหรียญฮ่องกง โดยผลมาจากการซื้อสินค้าผ่าน WeChat ของคนจีนมีการใช้จ่ายที่สูงมาก ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถใช้จ่ายผ่านมือถือได้ทั่วโลก และยังช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่ร้านค้าในแต่ละประเทศเข้าถึงลูกค้าชาวจีนมากขึ้น ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 15 เปอร์เซ็นต์”

พูดได้ว่า WeChat กำลังจะเป็นเจ้าแห่งตลาดในประเทศจีน และเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนโดยแท้ ซึ่งสิ้นปี 2015 ประเทศจีนมี GDP ประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การเติบโตของเศรษฐกิจจีน แบ่งสัดส่วนจากกิจกรรมช่องทางออนไลน์ มากกว่า 3 ใน 4 ของรายได้รวม

3

ปี 2015 ประเทศจีนมี GDP ประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การเติบโตของเศรษฐกิจจีน แบ่งสัดส่วนจากกิจกรรมช่องทางออนไลน์ มากกว่า 3 ใน 4 ของรายได้รวม

แห่เที่ยวไทยรองรับการใช้จ่ายชาวจีน
ยิ่งอัตรานักท่องเที่ยวจีนที่นิยมเดินทางมาไทย ในปีที่ผ่านมา กว่า 8 ล้านราย มีเม็ดเงินการใช้จ่ายราว 4.2 แสนล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี 2559 จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 10 ล้านราย และมีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนล้านบาท โดยเฉลี่ยการใช้จ่ายตกอยู่ที่ 52,000 บาท ต่อคน

การเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากนั้น แม้ว่าจะสร้างผลดีต่อผู้ประกอบการของไทย แต่กลับพบปัญหา “ทัวร์ศูนย์เหรียญ” ที่ทำร้ายอุตสาหกรรมการท่องท่องเที่ยวของไทยอย่างหนักหน่วง จากพฤติกรรมของผู้ประกอบการท่องเที่ยว โดยเริ่มจากบริษัททัวร์ต้นทางจากจีนขายแพ็กเกจทัวร์ในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง คิดค่าตั๋วเครื่องบินบวกกำไรนิดหน่อย และส่งต่อนักท่องเที่ยวขายค่าหัวให้กับบริษัททัวร์ในไทย

การซื้อนักท่องเที่ยวจีนต่อมานั้น บริษัททัวร์ไทยได้ประโยชน์ในการสร้างกำไรจาก การช้อปปิ้งซื้อสินค้ากลับประเทศของคนจีน โดยมีลักษณะพาเที่ยวพร้อมกับพาแวะซื้อของฝากกับร้านค้าที่มีการตกลงกันแบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย จนกว่าจะคืนทุนค่าหัว หรือเรียกได้ว่าเป็นการหาเงินจากการขายสินค้าที่แพงกว่าปกตินั่นเอง นี่อาจส่งผลร้ายต่อการท่องเที่ยว และเป็นสิ่งที่ต้องมีการแก้ปัญหา

ด้วยปัจจัยที่นักท่องเที่ยวชาวจีนมีกำลังซื้อเป็นจำนวนมากนั้น ทำให้มีผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์จากจีน อย่าง WeChat Pay เพิ่มช่องทางการใช้จ่ายของคนจีนหมุนเวียนเงินกลับประเทศ แต่ว่าก่อนหน้านี้ การชำระเงินผ่าน WeChat Pay ในไทยยังไม่ได้ผ่านระบบของทางธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทำให้ทาง Tencent จำเป็นต้องจับมือกับพาร์ตเนอร์ในไทยอย่าง แอสเซทไบร์ท ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์และมีการจดทะเบียนอีเพย์เมนต์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน)

ปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน)

ปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การร่วมมือในครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นจับตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นหลัก สาเหตุที่เขาเลือกเป็นพันธมิตร เพราะมีการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สามารถเอื้อกันได้ ซึ่งแอสเซท ไบร์ท ช่วยในการหาร้านค้า และได้ส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมที่ได้ตกลงกัน

“ในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติ หลังยื่นเอกสารเพิ่มเติมกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มใช้งานได้จริงไตรมาส 4 ของปีนี้ และยังช่วยให้ภาครัฐและกระทรวงการท่องเที่ยวควบคุมการใช้จ่ายในประเทศให้ถูกต้องมากขึ้น” ปรเมษฐ์ กล่าว

ช่องทางชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดร้านค้า
สำหรับรูปแบบวิธีการใช้งาน WeChat Pay คือ ระบบชำระเงิน ที่เชื่อมต่อกับ e-Wallet ภายในแอพพลิเคชั่น โดยฝั่งผู้ใช้จะเติมเงิน ผูกบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตเข้ากับวอลเล็ต และสามารถชำระสินค้าต่างๆ ได้ โดยเลือกร้านค้าที่ต้องการชำระ สแกนคิวอาร์โค้ด ระบบจะทำการชำระเงินโดยการหักเงินในกระเป๋าสตางค์ให้เรียบร้อย พร้อมมีข้อความแจ้งเตือนทั้งผู้ใช้บริการและร้านค้า

ในส่วนการสมัครใช้งานของร้านค้า เพียงแค่มีแอพพลิเคชั่น WeChat และมี QR Code ก็สามารถรับชำระเงินจากนักท่องเที่ยวได้ โดยที่เบื้องต้น เงินจะตัดจากกระเป๋าเงินของนักท่องเที่ยวที่ผูกกับ WeChat Pay ที่จีน จากนั้นวันรุ่งขึ้น ทางจีนก็จะโอนเงินเข้าธนาคารของผู้ขายในประเทศไทย พร้อมมีการแปลงค่าเงินเป็นเงินบาทเรียบร้อย

ฉบับที่ 215 เดือนพฤศจิกายน

เจาะตลาดข้ามประเทศด้วยระบบส่งเงิน

นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเชื่อมร้านค้ากับลูกค้าชาวจีน สามารถติดตาแอ็กเคานต์ร้านค้า เช่น ร้านค้าทุเรียนกรอบ คนจีนสามารถจ่ายเงินผ่าน WeChat Pay ได้ เมื่อกลับประเทศจีนไปแล้ว แต่อยากกินทุเรียนกรอบอีกครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังประเทศไทย สามารถสั่งซื้อจ่ายเงินผ่านแอ็กเคานต์ร้านค้าได้ทันที ซึ่งทางร้านค้าจะมีโลจิสติกส่งสินค้าข้ามประเทศ เป็นการเปลี่ยนวิธีการซื้อขายแบบเก่าที่ซื้อครั้งเดียวจบ ลูกค้ากับร้านค้าจะมีคอนแทคกัน ในการซื้อสินค้าหรือการเปลี่ยนสินค้าได้

ปรเมษฐ์ มองว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ในไทยตอนนี้ก็มีการแข่งขันสูง แต่ติดอยู่ที่คนไทยยังนิยมใช้ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบการใช้จ่ายผ่านมือถือของคนจีนมีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ โดยเบื้องต้น ตั้งเป้าร้านค้าที่จะร่วมใช้ WeChat Pay 100 ร้านค้า ภายในสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 5,000 ร้านค้า ในปีหน้า เน้นพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวก่อน อย่างในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา และภูเก็ต ส่วนรายได้ตั้งเป้าประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของยอดคนจีนที่เข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทย และมีผู้ใช้งาน 10 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน

6

ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังประเทศไทย ก็สามารถสั่งซื้อจ่ายเงินผ่านแอคเค้าท์ร้านค้าได้ทันที ทางร้านค้าจะมีโลจิสติกส่งสินค้าข้ามประเทศ เปลี่ยนวิธีการซื้อขายแบบเก่าที่ซื้อครั้งเดียวจบ ลูกค้ากับร้านค้าจะมีคอนแทคกัน

อาลีย์เพย์ คู่แข่งรายใหญ่แย่งชิงผู้ใช้งาน
ด้านฝั่งอาลีเพย์ (AliPay) ที่เข้ามาตีตลาดไทยก่อน ภายใต้บริษัท Ant Financial Services Group ในเครือ Alibaba นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการจ่ายเงินสำหรับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาไทย โดยมีการใช้งานกว่า 120 ล้านคน มีร้านค้าที่รองรับในประเทศไทยถึง 15,000 ร้าน เยอะกว่า WeChat Pay มากหลายเท่าตัว และยังสามารถชำระเงินได้หลากหลายช่องทางผ่านพันธมิตรของไทย ทั้ง 7 ราย ได้แก่ True Money, Counter Service, GHL Thailand, ธนาคารกสิกรไทย, บัตรกรุงไทย, เพย์สบาย และพระยาเปย์

นอกจากนี้ อาลีเพย์ ยังเพิ่มช่องทางให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับร้านค้า โปรโมชั่น และการเดินทางไปยังร้านค้าพร้อมช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการใช้จ่าย เป็นตัวกระตุ้นให้นักเดินทางที่ต้องการเดินทางเข้ามาในไทยสามารถเลือกค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ

ฝั่งผู้ใช้จะเติมเงิน ผูกบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตเข้ากับวอลเล็ต เลือกร้านค้าที่ต้องการชำระ สแกนคิวอาร์โค้ด  ระบบจะทำการชำระเงินโดยการหักเงินในกระเป๋าสตางค์ให้เรียบร้อย พร้อมมีข้อความแจ้งเตือนทั้งผู้ใช้บริการและร้านค้า

ฝั่งผู้ใช้จะเติมเงิน ผูกบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตเข้ากับวอลเล็ต เลือกร้านค้าที่ต้องการชำระ สแกนคิวอาร์โค้ด
ระบบจะทำการชำระเงินโดยการหักเงินในกระเป๋าสตางค์ให้เรียบร้อย พร้อมมีข้อความแจ้งเตือนทั้งผู้ใช้บริการและร้านค้า

การเข้ามาของ WeChat Pay ทำให้ Alipay เองต้องเตรียมรับมือ เพราะทั้งคู่ต่างก็เป็นทุนใหญ่จากจีน อย่างไรก็ตาม WeChat Pay ยังคงใช้ความแข็งแกร่งด้านโซเชียลมีเดีย รวมถึงระบบโมบายล์แมสเซจจิ้งที่คนจีนนิยมใช้มากในขณะนี้ และมี Active User ทั่วโลกกว่า 400 ล้านบัญชี พร้อมต้องการแบ่งสัดส่วนผู้ใช้งานจากอาลีเพย์

นี่คือธุรกิจออนไลน์ของจีน ที่ขยายขอบเขตธุรกิจของตัวเอง ไปพร้อมกับนักท่องเที่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงไม่ใช่เรื่องยากที่จับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน (เพราะร้านค้าพร้อมอยู่แล้ว) แม้จะยังไม่ค่อยได้รับความนิยมสำหรับคนไทย แต่อีกไม่นานจะเข้ามามีผลต่อชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย