โอ ช้อปปิ้ง เตรียมพร้อม การสั่งซื้อผ่านมือถือ

โอ ช้อปปิ้ง ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้งสัญชาติเกาหลี ที่มาร่วมหุ้นเปิดให้บริการกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2555 โดยเริ่มจากการทำทีวีโฮมช้อปปิ้งในการแนะนำสินค้าให้เลือกซื้อได้ทั้งผ่าน Contact Center และเว็บไซต์ Oshoppingtv.com

ซอง นัก เจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด

ซอง นัก เจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด

การใช้ LINE Pay จะทำให้โอ ช้อปปิ้ง ได้ลูกค้ากลุ่มเด็ก ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ยังไงเราจะต้องเตรียมทั้งสินค้าและบริการให้เหมาะกับคนใช้ LINE Pay เพิ่มมากขึ้น

อีคอมเมิร์ซผ่านสื่อทีวี
ซอง นัก เจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด กล่าวว่า โอ ช้อปปิ้ง ที่เกาหลีเริ่มต้นด้วยการขายสินค้าผ่านหน้าจอทีวีและการซื้อ-ขายแบบอีคอมเมิร์ซ ซึ่งตอนนี้สัดส่วนการขายผ่านหน้าจอทีวีลดลงเหลือเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนช่องทางอีคอมเมิร์ซ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และโมบายล์ เพิ่มขึ้นเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับ โอ ช้อปปิ้ง ประเทศไทยช่องทางทีวียังมีสัดส่วนที่มากกว่าอีคอมเมิร์ซ

เจ เผยว่า กลุ่มลูกค้าโอ ช้อปปิ้ง ประเทศไทย จะแบ่งเป็น 2 ช่องทาง ได้แก่ ทีวีจะเป็นกลุ่มอายุ 30-60 ปี ส่วนอีคอมเมิร์ซเป็นกลุ่มอายุ 18-30 ปี และสินค้าที่ขายดีในส่วนของทีวีและอีคอมเมิร์ซก็แตกต่างกันด้วยรวมถึงราคา โดยสินค้าที่ขายดีในส่วนของทีวี ได้แก่ เครื่องครัว เครื่องออกกำลังกาย และเครื่องสำอาง ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้จะมีราคาสูง ส่วนของอีคอมเมิร์ซจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ดังนั้นสินค้าที่ขายดี ได้แก่ อุปกรณ์ไอที แกดเจ็ต หรือของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยราคาจะไม่เกิน 2,000 บาท จากทั้งสองช่องทางนี้จะเห็นถึงความแตกต่างกัน

เจ กล่าวว่า ที่ไม่ได้โปรโมตแอพพลิเคชั่นอย่างเต็มที่ เนื่องจากลักษณะของสินค้าที่เหมาะกับโมบายล์จะแตกต่างจากการขายบนหน้าจอทีวี สำหรับการให้คนเข้ามาดูสินค้าบนโมบายล์จะต้องมีสินค้าจำนวนมากและเป็นสินค้าที่เหมาะกับกลุ่มคนที่ชื่นชอบการดูและซื้อสินค้าผ่านโมบายล์ โดยราคาสินค้าอาจไม่ได้สูงมากซึ่งของเหล่านี้จะแตกต่างจากทีวี

โอ ช้อปปิ้ง กำลังคัดเลือกสินค้าเพื่อมาตอบโจทย์ให้กับลูกค้าโมบายล์ ถึงแม้แพลตฟอร์มจะพร้อมแต่สินค้ายังมีไม่มาก จึงอยากให้ระบบพร้อมและสินค้ามีมากพอกับความต้องการ รวมถึงระบบ    โลจิสติกส์ด้วย เพราะสินค้าชิ้นเล็กในการจัดส่งจะไม่เหมือนสินค้าชิ้นใหญ่เหมือนสินค้าที่ขายผ่านจอทีวี ตอนนี้อยากเตรียมหลังบ้านให้พร้อมก่อนถึงจะโปรโมตแอพพลิเคชั่น ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้จะทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

ช่องทางการชำระเงิน
โอ ช้อปปิ้ง มีระบบการชำระเงินแบ่งเป็น 3 แบบคือ 1. บัตรเครดิต ซึ่งสามารถชำระได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ Call Center และชำระเงินตอนรับสินค้าที่บ้าน (Cash on Delivery: COD) 2. ระบบโอนเงิน เช่น Bill Payment คือการปริ้นต์เอกสารการซื้อและชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือโอนเข้าเลขที่บัญชีได้ แต่รูปแบบนี้คนใช้น้อย และ LINE Pay แต่ที่คนนิยมชำระเงินอันดับแรกคือ COD และบัตรเครดิต

เจ กล่าวว่า การเพิ่มช่องทางการชำระเงิน LINE Pay เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สร้างความเชื่อมั่นและสะดวกสบายให้กับลูกค้า เนื่องจากคนไทยเล่น LINE เป็นจำนวนมาก และมองว่า LINE Pay จะตอบโจทย์ให้กับลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่นิยมซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อโมบายล์แอพฯ เปิดใช้งานอย่างเต็มตัวจะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้นในการชำระเงิน

“การใช้ LINE Pay จะทำให้โอ ช้อปปิ้งได้ลูกค้ากลุ่มเด็ก ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ยังไงเราจะต้องเตรียมทั้งสินค้าและบริการให้เหมาะกับคนใช้ LINE Pay เพิ่มมากขึ้น และตอนนี้มีแคมเปญร่วมกับ LINE Pay อย่างต่อเนื่องในการชำระเงินผ่าน LINE Pay เมื่อซื้อสินค้าบนโอ ช้อปปิ้ง จะได้รับเสื้อทีเชิ้ต และของพรีเมี่ยมจาก LINE”

e200

ฉบับที่ 200 เดือนสิงหาคม

ชำระเงินผ่านแอพฯ แชต รับตลาดโมบายล์

ตลาดที่แตกต่าง
เจ กล่าวว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์คนไทยกับเกาหลีแตกต่างกันมาก สำหรับประเทศเกาหลีหากไม่นับผู้สูงอายุ คนเกาหลีส่วนใหญ่เล่นอินเทอร์เน็ตและสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ นอกจากนี้สิ่งที่แตกต่างจากเมืองไทยอีกคือ จำนวนเครดิตการ์ด ตอนนี้ประเทศเกาหลีมีประชากรประมาณ 40 ล้านคน แต่มีจำนวนบัตรเครดิตสูงถึง 100 ล้านใบ แสดงว่าแต่ละคนมีบัตรเครดิต 2-3 ใบ เมื่อโอ ช้อปปิ้ง เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนคือ ช่องทางการชำระเงินให้สอดคล้องกับพฤติกรรมคนไทย

นอกจากนี้ พฤติกรรมของคนทั้งสองประเทศในการซื้อสินค้าออนไลน์ก็แตกต่างกันเยอะมาก ลูกค้าคนไทยยังกลัวไม่กล้ากดสั่งสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ ในขั้นตอนการสั่งซื้อมีส่วนหนึ่งจะต้องโทรมาที่ Call Center เพื่อยืนยันการสั่งซื้อกับพนักงาน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้ขายมีตัวตนที่แท้จริง และอีกกลุ่มหนึ่งคือ จะต้องไปสัมผัสสินค้าตัวจริงให้รู้สึกมั่นใจก่อนและกลับมากดสั่งซื้อสินค้า บนเว็บฯ

“แม้คนที่ใช้โมบายล์แอพพลิเคชั่นจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุประมาณ 20-30 ปี ซึ่งมีความรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยี แต่สุดท้ายพบว่า ยังมีการโทรสั่งซื้อผ่าน Contact Center เพราะอย่างน้อยได้ยินเสียงคนเพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ขายถึงจะสบายใจ ซึ่งแบ่งเป็นสัดส่วน 50 เปอร์เซ็นต์”  

2

แม้คนที่ใช้โมบายล์แอพพลิเคชั่นจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุประมาณ 20-30 ปี ซึ่งมีความรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยี แต่สุดท้ายพบว่า ยังมีการโทรสั่งซื้อผ่าน Contact Center เพราะอย่างน้อยได้ยินเสียงคนเพื่อยืนยัน

เจ กล่าวต่อว่า ผู้บริโภคคนไทยใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์นานมาก เพราะต้องหาข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อจนกลายเป็นเรื่องซีเรียสกับการช้อปปิ้ง ซึ่งแตกต่างจากคนเกาหลี ถ้าคิดจะซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งมีทางเลือกในหัวว่า จะซื้อผ่านช่องทางไหน เช่น อยากได้มือถือ จะไปซื้อที่ห้างฯ หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือออนไลน์ โดยที่เขาไม่ได้ซีเรียส แต่คิดเพียงว่าจะซื้อที่ไหนดีที่ตรงกับความต้องการ

สำหรับประเทศไทยไม่ใช่ เพราะคนเลือกแค่จะไปห้างฯ ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือตลาด ออนไลน์ช้อปปิ้งยังไม่ได้ใส่ในหัวของคนไทยว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการซื้อสินค้า แต่เกาหลีดูไม่คิดว่าออฟไลน์หรือออนไลน์ เชื่อว่า ประมาณปี 2020 คนไทยจะเริ่มเปลี่ยนความคิดในการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยมีช่องทางออนไลน์เป็นหนึ่งในช่องทางหลักกับการเลือกซื้อสินค้าเช่นเดียวกับคนเกาหลี

ตอนนี้ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการเติบโตเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มประเทศที่ซีเจ ไปลงทุนด้านอีคอมเมิร์ซในต่างประเทศในแง่ของยอดขายสินค้า โดยรองจากจีน และอินเดีย แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการเติบโตมาก เพราะเปิดมาได้เพียง 3 ปี ถือเป็นประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดกว่าทุกประเทศ

ศักยภาพตลาดอีคอมเมิร์ซไทย
สำหรับอีคอมเมิร์ซประเทศไทย ตลาดมีความเหมาะสมในการทำธุรกิจอย่างมาก อย่างแรกขนาดของตลาดมีขนาดใหญ่ สองกำลังซื้อของผู้บริโภคสูง ซึ่งทำให้เกาหลีมองว่าเป็นประเทศที่พัฒนามากๆ และเป็นตลาดที่พร้อมมากที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

ในตลาดอีคอมเมิร์ซในเกาหลีเป็นที่ทราบว่ามีมานานมากกว่าเมืองไทย ถ้าเรามองถึงตลาดอีคอมเมิร์ซหรือรีเทลออนไลน์เทียบกับตลาดค้าปลีกทั่วไป แต่ละปีมีการเติบโตประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่เมืองไทยเติบโตไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับค้าปลีก ซึ่งจะต้องใช้เวลาเยอะมากในการขยายตลาดออนไลน์ให้เติบโตขึ้น ซึ่งประเทศไทยมาถูกทางและรวดเร็วมาก โดยคาดว่าประมาณปี 2020 ตลาดออนไลน์ของไทยจะเติบโตถึง 3-5 เปอร์เซ็นต์ของรีเทล

เจ กล่าวว่า ตลอด 3 ปีที่เข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรคที่เห็นในตลาดอีคอมเมิร์ซในเมืองไทยคือความเชื่อมั่น เนื่องจากอาจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซน้อย เมื่อมีความรู้ความเข้าใจน้อยจึงทำให้ไม่กล้าซื้อสินค้าออนไลน์ สิ่งที่จะช่วยเรื่องนี้คือ หน่วยงานภาครัฐให้ช่วยสร้างความมั่นใจ เมื่อถ้ามีปัญหาสามารถจัดการและดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้คนเกิดความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าในช่องทางใหม่นี้ ดังเช่นหน่วยงานของรัฐที่เกาหลีที่เข้ามาดูแลจัดการกับปัญหาต่างๆ ให้กับประชาชนเมื่อซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ จึงทำให้คนมั่นใจและกล้าจะซื้อสินค้าจนเกิดเป็นความเคยชิน

บ่มเพาะความเชื่อมั่น
สาเหตุที่ลูกค้าไม่มีความเชื่อมั่นมี 3 อย่าง ได้แก่ 1. ลูกค้ากลัวว่าสั่งแล้วไม่ได้รับสินค้า 2. สินค้าที่สั่งมาจะเหมือนที่เห็นในเว็บไซต์หรือทีวีไหม 3. กังวลว่าสินค้ามีปัญหาจะเปลี่ยนได้ไหม ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ลูกค้ากลัวและกังวล เมื่อลูกค้ากังวลกับสิ่งเหล่านี้ ผู้ให้บริการจึงต้องพัฒนาบริการและให้แก้ปัญหาในสิ่งต่างๆ นี้ให้ได้

เจ กล่าวต่อว่า “โอ ช้อปปิ้ง ได้ทำการแก้ไขปัญหาที่กล่าวมานี้โดยตลอด ด้วยการมีบริการเปลี่ยนคืนได้ไม่ยุ่งยาก หรือถ้ากลัวว่าสั่งซื้อแล้วจะไม่ได้รับสินค้า เรามีบริการจัดส่งให้ถึงบ้านและค่อยจ่ายเงิน โอ ช้อปปิ้ง พยายามแก้ไขปัญหาเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้า และเกิดประสบการณ์ที่ดีในการช้อปปิ้ง ดังนั้น จึงมาพร้อมกับสโลแกนที่ว่า ส่งฟรีทั่วไทย รับของก่อนจ่าย เปลี่ยนคืนได้ไม่ยุ่งยาก เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นมากที่สุด”

ตอนนี้ซีเจ โอช้อปปิ้ง มีการทำตลาดนอกจากเกาหลี ทั้งหมด 9 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน (ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น) ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินเดีย ตุรกี และเม็กซิโก

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย