เพิ่มความสนุกการชมพิพิธภัณฑ์ แปลงโบราณวัตถุเป็นภาพ 3 มิติ ด้วยโซลูชั่น ReMake

ปัจจุบันเครื่องสแกน และกล้องถ่ายรูปเป็นที่แพร่หลายทั่วไป ช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลเชิงดิจิทัลของโลกรอบตัวเราได้ แต่สำหรับการเก็บภาพทางวัตถุ ให้กลายเป็นภาพดิจิทัลนั้นกำลังได้รับความนิยมไม่แพ้กัน โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์แสกนเนอร์ จับภาพวัตถุจากที่เป็น 2 มิติ ให้กลายเป็น 3 มิติได้

แต่การสร้างสรรค์แบบจำลอง 3D จากของจริงเป็นกระบวนการทำงานที่ช้าและใช้เวลายาวนาน ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ จึงมีบริษัทอย่าง AutoDesk ได้พัฒนาโซลูชั่น  ReMake ที่ทำให้กระบวนการจำลองภาพ 3 D ง่ายขึ้น พร้อมเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลายสามารถเข้าถึงเรียลลิตี้ คอมพิวติ้ง

ReMake คือ โซลูชั่นแบบครบวงจรที่ใช้ในการแปลงวัตถุของจริงจากภาพถ่ายหรือภาพสแกนไปเป็นโมเดล 3 มิติ ที่มีความคมชัดสูง โดยโมเดล 3 มิติที่ได้สามารถทำการแก้ไข ปรับแต่ง ปรับสัดส่วน วัด เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ทำลาย ปรับตำแหน่ง เปรียบเทียบ และเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการบริหารจัดการลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานแบบดาวน์ตรีม

โปรแกรมสามารถใช้กับงานวิศวกรรมแบบย้อนกลับ (reverse engineering) ในส่วนของงานออกแบบ และ งานวิศวกรรม การสร้างข้อมูลในการใช้งานในโลกเสมือนจริง (AR/VR) ที่ใช้ใน ภาพยนต์ เกมส์ ศิลปะ รวมทั้งการจัดเก็บและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การผลิตผลงานด้ายเทคโนโลยีทางดิจิตอล และการสร้างประสบการณ์แบบอินเตอร์แอคทีฟบนเว็บและมือถือ

ทำให้ขั้นตอนการทำงานที่สลับซับซ้อนนั้นง่ายดายยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นโซลูชั่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการสร้างแบบจำลองดิจิทัลคุณภาพสูงจากวัตถุจริง โดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ทางด้าน 3D โมเดลลิ่ง

แปลงโบราณวัตถุ สู่รูปแบบดิจิทัล

ทุกคนคงจะรู้สึกแบบเดียวกัน เมื่อเดินชมวัตถุโบราณในพิพิธภัณฑ์คงทำได้แค่ยืนมอง ไม่สามารถสัมผัสหรือจับต้องได้ เห็นเพียงลวดลายภายนอกที่ไม่ชัดเจนนัก แม้ใจอยากจะเข้าไปสัมผัสแต่ก็ตาม รวมถึงพื้นที่จัดแสดงน้อย ทำให้ไม่สามารถชมได้ทั้งหมดที่มี

ทั้งนี้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้มีความสนใจที่จะเปลี่ยนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ให้สนุกขึ้น โดยนำเทคโนโลยี ReMake มาเพิ่มขีดจำกัดการรับชมโบราณวัตถุของไทยที่มีจำนวนมากในรูปแบบ 3 มิติ และเป็นประโยชน์ให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงโบราณวัตถุง่ายขึ้น

ศิริพร เฟื่องฟูลอย นักจัดการความรู้อาวุโส สพร.

ศิริพร เฟื่องฟูลอย นักจัดการความรู้อาวุโส สพร. กล่าวว่า สพร.เลือกใช้ Remake ของ Autodesk สแกนวัตถุให้ออกมาเป็นสามมิติ เพราะสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้ เช่น ปรับสีพื้นผิวให้ชัดเพื่อจะได้เห็นลวดลาย ข้อความที่สลักบนวัตถุ เพิ่มเสียงและข้อความได้ ดูวัตถุได้รอบ 360 องศา

นอกจากนี้ มีการจัดโครงการโดยเริ่มจากจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีแก่พิพิธภัณฑ์ใน 5 ภูมิภาค ภาคกลางคือ มิวเซียมสยาม ภาคเหนือคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ภาคใต้คือ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ภาคตะวันออกคือ พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด และจะขยายไปครอบคลุมพิพิธภัณฑ์ทั้งหมด 1500 แห่งทั่วประเทศ

ศึกษาฟอสซิลมนุษย์แบบ 3 มิติ บนเว็บไซต์

นอกเหนือจากการสร้างการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว ReMake ยังสามารถดิจิไทซ์วัตถุชนิดอื่นๆ ให้สามารถชมบนเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาข้อมูล แต่ไม่สามารถเดินทางไปดูของจริงได้ โดยทาง สพร. เริ่มดำเนินการบนเว็บไซต์ของมิวเซียมสยามบ้างแล้ว

ธัตจานา ตามบาโซวา ผู้จัดการอาวุโสด้านผลิตภัณฑ์ AutoDesk

อย่างกรณี ฟอสซิลของมนุษย์ตั้งแต่ยุคแรกถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ประเทศเคนย่า มีคนพบเห็นและศึกษาฟอสซิลเหล่านี้น้อย เพราะไม่ทราบว่ามีอยู่ หรือไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงนำมาจัดทำในรูปแบบเว็บไซต์ ถ่ายภาพโครงกระดูกมนุษย์เป็นดิจิทัล ในการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สามารถดาวน์โหลดดูภาพสามมิติ นอกเหนือจากการอ่านหนังสือได้

เว็บไซต์ Africanfossils.org สามารถดูเป็นภาพสามมิติ รายละเอียดทุกส่วนของวัตถุ และทำภาพซ้อนวัดขนาดได้

จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์โบราณวัตถุอันล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทั้งของไทยและทั่วโลก เมื่อวัตถุเหล่านี้ได้รับการดิจิไทซ์หรือทำให้อยู่ในรูปดิจิทัลแล้วก็จะเป็นประโยชน์ในวงกว้าง เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้และรับประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และโบราณวัตถุที่ไม่ต่างจากวัตถุของจริง

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

Ontdek de Spanning van Live Games met Professionele Dealers in Casinos

In de dynamische wereld van online gokken, zijn...