ใช้เทคโนโลยีมาช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ สำหรับโรงผลิตพลังงานในประเทศ

(ซ้าย) ใช้เทคโนโลยีเครื่องกังหันก๊าซรุ่น H-class ที่จังหวัดชัยภูมิ (ขวา) ใช้เทคโนโลยีถ่านหิน สะอาดระบบ Ultra-Supercritical ที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน แม่เมาะ

พลังงานมีความสำคัญต่อสรรพสิ่งในโลก ทำให้ชีวิตเจริญเติบโตเคลื่อนไหวทำงานได้ ไม่มีอะไรในโลกที่ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ดังนั้น หากขาดพลังงาน มนุษย์ก็คงต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายอย่างใหญ่หลวง ยิ่งประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้พลังงานก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรให้ช่วยลดการใช้พลังงาน หรือช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงได้บ้าง

สำหรับประเทศไทยถือเป็นผู้ริเริ่มใช้เทคโนโลยีเครื่องกังหันก๊าซรุ่นล่าสุด H-class ซึ่งมีศักยภาพที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นได้ราวร้อยละ 5 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ราว 0.3 ล้านตันต่อปีเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีแบบเดิมรุ่น F-class  และยังมีการติดตั้งเทคโนโลยีถ่านหิน สะอาดระบบ Ultra-Supercritical ที่จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกร้อยละ 5 และลดปริมาณ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ราว 0.4 ล้านตันต่อปีเมื่อเทียบกับเทคโนโลยี Supercritical แบบเก่า

โกวิทย์ คันธาภัสระ ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารจีอี ประเทศไทยและลาว

โกวิทย์ คันธาภัสระ ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารจีอี ประเทศไทยและลาว กล่าวว่า “การปรับเปลี่ยนภาคพลังงานให้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลคาดว่า จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างประโยชน์ได้อย่างมากมาย โดยการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาปรับใช้ โดยเฉพาะการใช้ซอฟแวร์และ IoT เพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องได้นานขึ้น

เผยข้อมูลลดต้นทุนการผลิต และลดการทำลายโลก

ทั้งนี้ จีอี (GE:NYSE) บริษัทด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทางอุตสาหกรรม ได้ทำการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล หากประเทศไทยมีการยกระดับประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า ที่มีอยู่ในปัจจุบันและโรงไฟฟ้าที่จะสร้างขึ้นใหม่ รวมไปถึงระบบสายส่งและการจ่ายไฟฟ้า ประเมินว่าจะได้รับ ผลดีหลายประการ  โดยจีอีคาดว่าการปรับปรุงโรงไฟฟ้า ระบบสายส่งและระบบการจ่ายไฟฟ้าจะช่วย ลดต้นทุนลงได้ถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 2 แสนล้านบาท

ในขณะที่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะช่วยเพิ่มมูลค่าได้อีก 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 86,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีการดำเนินการอย่างจริงจังยังจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้มากกว่า 8.6 ล้านตันต่อปี หรือประมาณร้อยละ 9 ของปริมาณการปล่อยก๊าซจากการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน

5 ข้อดีของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับโรงผลิตพลังงาน

นอกจากนี้ การปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 ซึ่งหมายถึงการลดต้นทุนได้ราว 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 1 แสนล้านบาทจากการยืดอายุการใช้งาน ของโรงไฟฟ้า  และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ราว 3.5 ล้านตันต่อปี  ทั้งหมดนี้ การเสริมสมรรถนะด้วยโซลูชั่นดิจิทัลนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

ทั้งนี้ ทางจีอี พัฒนาแพลตฟอร์ม Predix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติที่ทำงานบนคลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในวงการอุตสาหกรรม ทำงานสม่ำเสมอ ปลอดภัย และปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการ ทั้งยังช่วยให้ได้รับประโยชน์จากสมรรถนะการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถควบคุมระบบต่าง ๆ ได้แบบอัจฉริยะ Predix ยังได้รับการออกแบบให้สามารถบ่งชี้ปัญหา ตรวจสอบช่องโหว่ ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และควบคุมภายใต้กฎระเบียบด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่สามารถนำไปปรับใช้สำหรับโรงผลิตพลังงานต่างๆ ได้

จะเห็นได้ว่า การใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงโรงไฟฟ้าในไทยและระบบเครือข่าย ล้วนเป็นปัจจัยที่คาดหวังว่าจะช่วยให้ไทยสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้มาก เป็นการขับเคลื่อนสู่ยุคดิจิทัลตามนโยบายประเทศไทย 4.0 อีกหนึ่งทาง และสร้างความยั่งยืนในภาคพลังงานของประเทศไทย

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

Ontdek de Spanning van Live Games met Professionele Dealers in Casinos

In de dynamische wereld van online gokken, zijn...