Blockchain ทั่วโลกเติบโต อุตสาหกรรมไทยต้องเร่งทำความเข้าใจ

คำกล่าวจาก ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี แสดงให้เห็นว่าBlockchain เป็นเทคโนโลยีที่องค์กรไทยควรตระหนักและนำไปใช้ เพราะว่ามีจุดเด่นด้านการตรวจสอบความเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้องค์กรรับรู้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างโปร่งใส และสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย

มูลค่าตลาด Blockchain ทั่วโลกคาดว่าจะขยายตัวจาก 210 ล้านเหรียญสหรัฐในปี2016 มาเป็น 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021

ซึ่งธนาคารในประเทศไทยก็เริ่มมีการทำ Blockchain เข้ามาใช้งานแล้ว โดยเริ่มที่ฝั่งธนาคารกสิกรไทย ได้มีการเปิดทดลอง Blockchain บริการแรกคือ OriginCert API ที่ใช้กับการรับรองเอกสารหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee: LG) ซึ่งลูกค้าที่ใส่เอกสารเข้าไปจะถือเป็น เอกสารต้นฉบับที่ห้ามแก้ไข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาดูได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งขอการยืนยันจากธนาคาร ทำให้ลดขั้นตอน ลดเวลา และยืนยันความถูกต้องได้แน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม หลักการของ Blockchain คือ ใช้การตรวจสอบจากหลากหลายหน่วยงานเพื่อยืนยันความถูกต้อง จึงต้องมีการร่วมมือกันจากอีกหลายๆ หน่วยงาน

การสำรวจปี 2016 ของ IBM พบว่า 15% ของธนาคารใหญ่ระดับโลก กำลังมีแผนประยุกต์ Blockchain เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบในปีนี้ (2017) ก่อนที่ตัวเลขนี้จะขยับเพิ่มเป็น 65% ในอีก 3 ปีหรือปี 2019

ทั้งนี้ Blockchain ไม่ได้เหมาะกับเพียงระบบโอนเงินเท่านั้น แต่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกระบบที่ต้องการเก็บข้อมูล ทั้งรูปแบบจำกัดเฉพาะคนในองค์กร (Private) และแบบเปิดกว้างต่อสาธารณชน (Public) ไม่เพียงการโอนเงินที่ปลอดภัยและรวดเร็ว แต่ยังลดโอกาสที่ไวรัสหรือมัลแวร์จะทำลายข้อมูลในคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างไรบ้างในประเทศไทย ยังคงต้องสร้างความเข้าใจและพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ให้มากขึ้นก่อน

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

IT Brief 2 / ไอทีอัพเดต พ.ย. 60

อุ่นเครื่องอีสปอร์ตที่เกาหลีใต้ ก่อนถึงโอลิมปิก