Privacy

ดีแทค ประกาศความพร้อมรับการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้

ดีแทค ประกาศความพร้อมรับการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เผยเตรียมความพร้อมมากว่า 2 ปี โดยเริ่มพัฒนานโยบายความเป็นส่วนตัว ออกแนวปฏิบัติ และบังคับใช้ภายในองค์กร ตามแนวทางของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปหรือ GDPR และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 (PDPA) ของไทย ด้วยเส้นทางจากการพัฒนาแนวนโยบายสู่หลักปฏิบัติ ผ่านการออกแบบกระบวนการทำงาน การเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูล ตอกย้ำคุณค่าองค์กรด้านธรรมาภิบาลและหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นวัฒนธรรมขององค์กร ชี้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นหมุดหมายสำคัญนำพาประเทศสู่สังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน

จากหลักการรักษาสิทธิมนุษยชนสู่นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายสตีเฟ่น เจมส์ แฮลวิก รักษาการรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคมีจุดยืนในการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ด้วยหลักการรักษาสิทธิมนุษยชน ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคม มีหน้าที่สำคัญในการเคารพในหลักความเป็นส่วนตัว (Privacy) และเสรีภาพในการแสดงออกสำคัญ (Freedom of Expression) เราจึงปฏิบัติและดำเนินงานอย่างเคร่งครัด โดยพัฒนากระบวนการการทำงาน และความท้าทายต่างๆ กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของไทยหรือ PDPA ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของประเทศไทยในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงทางข้อมูลของผู้บริโภค ซึ่งดีแทคสนับสนุนและยินดีปฏิบัติตามอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค ธุรกิจ และสังคมส่วนรวม”

“ความเชื่อมั่นลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินกิจการของดีแทค โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ยุคแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น AI (ปัญญาประดิษฐ์) IoT (อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง) และ 5G จะทำให้เกิดและต้องการใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลในการส่งมอบคุณค่าลูกค้า ดังนั้น ความโปร่งใสจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเชื่อมั่นเกิดขึ้น” นายสตีเฟ่น กล่าว

สังคมดิจิทัลนำมาซึ่งโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก แต่ขณะเดียวกัน …

ทางการไทยจัดซื้อระบบตรวจใบหน้าบนโซเชียลและสื่อออนไลน์

กระทรวงดิจิตัลไทยจัดซื้อระบบ “ตรวจสอบเปรียบเทียบใบหน้าบุคคลบนสื่อสังคมออนไลน์” ตรวจสอบใบหน้าผู้โพสต์และผู้คอมเมนต์ในสื่อโซเชียลทุกชนิด เพื่อระบุตัวตนผู้คนจากรูปให้ได้แม้จะตั้งค่าเป็นส่วนตัวหรืออยู่ในกรุ๊ปต่างๆ

มรดกดิจิทัล : ตายแล้ว (เฟซบุ๊ก ไอจี อีเมล ฯลฯ) ไปไหน?

เคยมีปราชญ์ชาวตะวันตกท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า “สองสิ่งที่เราหนีไม่พ้นคือ ภาษี และ ความตาย” อย่างแรกเราจะไม่พูดถึง เพราะไม่ตรงกับชื่อหัวข้อ (ฮาฮา) แต่เราจะเน้นประเด็นที่สอง ซึ่งแน่นอนว่าความตายเป็นสิ่งลึกลับ ไม่มีใครรู้ว่าตายแล้วไปไหน? ตายแล้วจะมีอากงกับอาม่ามายืนยิ้มต้อนรับหรือที่เคยเห็นในหนังหรือเปล่า? หรือลูกหลานจะตบตีแย่งชิงทรัพย์สมบัติเหมือนที่เคยเห็นในข่าวหรือไม่? และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการแย่งมรดกกันจนบ้านแตก หลายคนจึงเลือกที่จะทำ “พินัยกรรม” เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงว่าทรัพย์สินก้อนนั้นชิ้นนี้จะตกเป็นของลูกหลานคนนั้นคนนี้เมื่อเราลาโลกไปพบยมบาลแล้ว

เมื่อก่อนสินทรัพย์ที่เรามีอยู่มักเป็นสิ่งที่ “จับต้องได้” ไม่ว่าจะเป็นเงิน ที่ดิน สิ่งของ แต่ในยุคปัจจุบันเราต่างสร้างหรือมี “สินทรัพย์ดิจิทัล” กันคนละไม่ใช่น้อย ทั้งบัญชีใช้งานโซเชียลมีเดีย บัญชีเงินฝาก/หุ้น/กองทุน/บิตคอยน์ ที่เราเคยสร้างไว้เม้มเงินไม่ให้ใครรู้ อีกทั้งอีเมล บล็อก เว็บไซต์ และบริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix และ Spotify ฯลฯ เคยลองคิดกันเล่น ๆ ไหมครับว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับสิ่งเหล่านั้นหลังจากที่เรามีอันเป็นไป?

วัตถุประสงค์ของบทความนี้จึงเป็นการ “สร้างความตระหนัก” ของการจัดการมรดกทางดิจิทัล และนำเสนอไกด์ไลน์สั้น ๆ อ่านเข้าใจง่ายเกี่ยวกับวิธีจัดการที่ใครก็ทำได้ โดยแบ่งสินทรัพย์ดังกล่าวเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน 2) บัญชีเงินฝากออนไลน์ และที่เกี่ยวกับการเงิน 3) บัญชีอีเมลและโซเชียลมีเดีย …