เจ้าของอาคารมักประสบปัญหาเรื่องของการจัดการอาคาร ที่แม้ว่าจะมีระบบบริหารจัดการแล้วก็ตาม แต่การแจ้งเตือนกลับไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากระบบเหล่านี้ไม่มีการประสานการทำงานร่วมกัน อุปกรณ์ถูกติดตั้งและทำงานแยกจากกัน แต่เมื่อยุคแห่ง Internet of Things (IoT) มาถึง การประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ด้วยแนวคิด “อาคารอัจฉริยะ” หรือ Smart Building
อาคารอัจฉริยะ เป็นการเชื่อมโยงการควบคุมและสั่งการระบบต่างๆจากศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็น ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ลิฟท์ ตลอดจน CCTV หรือ “กล้องวงจรปิด” ที่มีการคิดค้นและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่มากขึ้น
Building Solution ตอบโจทย์ธุรกิจ
โดยปัจจุบัน กล้องวงจรปิด ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่บันทึกภาพอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มีฟังชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น
“ขณะเดียวกันหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า เมื่อซื้อกล้องวงจรปิดมาติดตั้งแล้ว จำเป็นจะต้องมีการดูแล เพราะกล้องวงปิดมีอายุการใช้งานจำกัด ซึ่งหากไม่มีการดูแลหรือตรวจสอบการใช้งานอยู่เสมอ ใครจะรู้ว่า เมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น อาจเจอแจ็กพ็อต กล้องไม่ทำงานอย่างที่เป็นข่าวกล้องวงจรปิดเสียอยู่บ่อยๆก็ได้”
เพราะระบบ Smart Building จำเป็นจะต้องมี Sensors ที่เชื่อมต่อในระบบ IP โดยการทำงานผ่าน Platform เดียวกัน และแสดงค่ามายังผู้ดูแลระบบ ในรูปแบบที่ต้องการ และอุปกรณ์ Smart Device จะต้องอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์เสมอ และหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ภาพไม่ชัด อุณหภูมิสูงเกินไป จะต้องมีการแจ้งเตือนมายังผู้ดูแลระบบ เพื่อการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
ดังนั้น บริษัท กรุงเทพ โอเอ คอมส์ จำกัด (BOA) มองว่า นอกจากการเป็นผู้นำเข้าระบบกล้องวงจรปิดและระบบรักษาความปลอดภัย อาจไม่เพียงพอต่อการธุรกิจในยุค Digital Transformation ดังนั้นจึงให้บริการคำปรึกษาด้านการออกแบบและการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร หรือพูดง่ายๆว่า ให้บริการโซลูชั่นที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจของลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังให้บริการด้านการตรวจสอบและแจ้งเตือนการทำงานของระบบไปยังผู้ดูแลอีกด้วย โดยที่ธุรกิจไม่จำเป็นต้องยึดติดกับยี่ห้อของกล้องวงจรปิด
ยกตัวอย่างเช่น การใช้ CCTV เพื่อนับจำนวนคนเข้า-ออกในอาคาร (People Counting) โดยสามารถแยกเพศชาย หญิง รวมถึงการวิเคราะห์ระยะเวลาในการรอคิว ช่วยให้เจ้าของอาคารสามารถเก็บสถิติของลูกค้าเพื่อนำไปวางแผนทางการตลาดได้
การนำระบบ CCTV มาเชื่อมกับเครื่องคิดเงิน POS เพื่อควบคุมร้านค้าปลีกหรือ ร้านอาหาร ที่มีจำนวนสาขามาก ด้วยระบบตรวจเช็คยอดขายและบันทึกภาพของใบเสร็จรับเงินที่ออกมาทุกๆรายการที่มีการซื้อขาย ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถค้นหาความผิดปกติของการทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสามารถตรวจสอบพฤติกรรมพนักงานได้แบบรายบุคคล ลดความเสี่ยงจากการทุจริตของพนักงานแคชเชียร์
ซึ่งเป็นการนำระบบซอฟแวร์เป็นแพลตฟอร์มมาใช้ ทำให้สามารถใช้ได้กับกล้องทุกชนิด และค้นหาภาพได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมและรวมระบบต่างๆไว้ในที่เดียว ทำให้ง่ายต่อการควบคุมแบบเดิมๆ
เชื่อมโยงข้อมูลทำ Big Data
นอกจากนี้แล้วธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก รวมถึงร้านอาหาร Food Chain ขนาดใหญ่ สามารถนำเอาข้อมูลจากอุปกรณ์ Smart Device มาใช้ในการบริหารจัดการในรูปแบบ Big Data ได้
ยกตัวอย่าง ระบบตรวจสอบการเข้าออกอาคารและที่จอดรถโดยการใช้ซอฟแวร์ Video Analytic ซึ่งสามารถอ่านป้ายทะเบียนเพื่ออนุมัติการเข้า-ออกอาคาร เพื่อนับจำนวนรถ เช็คหาสิงผิดปกติของรถที่เข้ามาภายในอาคาร
ระบบ WIFI Analytic และเทคโนโลยี HEATWAVE สำหรับห้างสรรพสินค้า เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการเดินของลูกค้าในห้าง รวมถึงสามารถเก็บข้อมูลสถิติ เวลาที่ใช้ รูปแบบการเดิน ความสนใจ ช่วยวิเคราะห์การจัดโปรโมชั่นของกิจกรรมต่างๆ ภายในห้าง