เทรนด์ Digital Broadcast สร้างคอนเทนต์สื่อออนไลน์ และ VR กำลังได้รับความนิยม

ในยุคที่ผู้บริโภคเสพสื่อและคอนเทนต์หลากหลายช่องทางมากขึ้น เพราะต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน รวมถึงสื่อออนไลน์ (Online Media) เข้ามามีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมสื่อ Digital Broadcast ส่งผลให้ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์มองหาเครื่องมือเพื่อในการบริหารจัดการคอนเทนต์ที่ต้องนำมาใช้ประโยชน์ทุกช่องทาง โดยเฉพาะออนไลน์และโซเชียลมิเดีย ซึ่งกำลังกลายเป็นจอหลักในการหารายได้ปัจจุบัน

มร.ไมเคิล  ฮัลเลน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด บริษัท วิซอาร์ที โกลบอล คอร์ปอเรท จำกัด ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งในตลาดเอเชียแปซิฟิค กล่าวว่า ผู้ผลิตสื่อต่างๆ รวมทั้งเจ้าของช่องทางสื่อหลักอย่างสถานีโทรทัศน์ ต้องวางแนวทางและนโยบายในการเตรียมความพร้อมในเชิงกลยุทธ์ รวมถึงการคัดสรรเทคโนโลยีที่สามารถรองรับการผลิตและออกอากาศออกสู่ช่องทางสื่อใหม่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่ชาญฉลาด ทั้งยังต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

เทรนด์ Digital Broadcast ทั่วโลก

  1. ผู้บริโภคหันมาเสพคอนเทนต์ผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้ผลิตสื่อต่างๆ และสถานีโทรทัศน์ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการทั้งจอทีวีและสื่อออนไลน์
  3. ตลาดการชมกีฬากำลังโต มีการนำกราฟฟิกมาใช้สำหรับสื่อโฆษณาเข้าไปแฝงในเกมกีฬาถ่ายทอดสด
  4. ใช้เครื่องมือในการสร้างคอนเทนต์ Online Media
  5. ช่องสถานีโทรทัศน์รายใหญ่ๆ เริ่มมีการนำ AR/VR มาใช้ในการรายงานข่าว

ตัวอย่างรูปแบบการจัดรายการที่ใช้เทคโนโลยี VR

จะเห็นได้ว่า สถานีโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งรายการข่าว รายการกีฬา ที่มีการใช้ VR หรือการจำลองสถานการณ์ให้เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น และใช้ระบบบริหารจัดการในการเผยแพร่แก่ผู้ชม

ถึงกระนั้นเมื่อเทียบกับในฝั่งเอเชียแปซิฟิกแล้วนั้นกลับมีการเติบโตน้อยกว่าในเรื่องของการลงทุนซอฟแวร์ มาจากสาเหตุที่ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่มีเครื่องมือในรูปแบบสื่อดั้งเดิมอยู่ไม่มาก เมื่อมีการเปลี่ยนตัวเองไปสู่ดิจิทัลจึงมีการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามารองรับ ซื้อใหม่คุ้มกว่าการนำเครื่องมือเดิมมาปรับใช้ใหม่

“อย่างเช่น เมียนมาร์ เป็นประเทศที่กำลังเติบโตในอุตสาหกรรมนี้ เตรียมเปิดตัวสถานีใหม่ในปีนี้อีก 5 ช่อง และภายในปีหน้าอีก 5 ช่อง หรือไทย พม่า กัมพูชา มาเลเชีย ก็เริ่มเข้าสู่ดิจิทัลเช่นกัน”

 ผู้ประกอบการไทยลงทุนเทคโนโลยี รองรับทีวีดิจิทัล

เมื่อมองกลับมาดูอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ในประเทศไทยเอง ที่ออกอากาศ “ทีวีดิจิทัล” ในช่วง ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีจำนวนช่องฟรีทีวีเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการคอนเทนตร์สูงตามไปด้วย ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อทีวี จึงให้ความสำคัญการลงทุนด้านระบบไอทีและโซลูชั่นการบริหารคอนเทนต์สื่อดิจิทัล “มัลติ แพลตฟอร์ม” เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและต่อยอดการหารายได้

“ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ในเมืองไทยนับเป็นต้นแบบที่ดีมากให้กับสถานีโทรทัศน์ในแถบภาคพื้นนี้ มีกลุ่มลูกค้าใหม่ของวิซอาร์ทีในแถบเอเชียได้เดินทางมาเมืองไทย เพื่อขอเยี่ยมชมและดูงานอย่างมากมาย อย่างช่อง 3 เอง ก็มีทีวีดิจิทัลเป็นของตัวเองถึง 3 ช่อง ทำให้มีการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาจัดการ” มร.ไมเคิล  กล่าว

ฉะนั้น รูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างและคุณภาพของคอนเทนต์นับเป็นปัจจัยหลักที่สื่อทีวียุคใหม่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อรักษาฐานผู้ชมในระยะยาว และสร้างเรทติ้งให้สูงขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้จากค่าโฆษณาที่เริ่มหันมาให้ความสนใจการออกอากาศผ่านสื่อช่องทางใหม่มากยิ่งขึ้น

การสร้างเนื้อหาใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ พร้อมทั้งศักยภาพนำเสนอได้อย่างแตกต่าง เพื่อให้สามารถช่วยเจาะตลาดโดยขยายฐานไปยังผู้ชมกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเปิดรับในปัจจุบัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้นับเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการสื่อทีวียุคใหม่

แม้ว่าสถานการณ์ทีวีดิจิทัลอาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการบางราย ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือน ยิ่งทำให้ต้องการเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องการผลิตที่มีต้นทุนต่ำลง และใช้ทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์ให้ตรงจุด ถึงจะเป็นอย่างนั้นอุตสาหกรรมทีวีก็ยังคงเป็นตลาดใหญ่อยู่ และยังคงใช้เวลาอีกเกือบ 10 ปี กว่าประเทศไทยถึงจะเปลี่ยนเครื่องมือและเข้าสู่สื่อดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ วิซอาร์ที เป็นผู้ให้บริการซอฟแวร์บริหารจัดการและผลิตคอนเทนต์ดิจิทัล สำหรับธุรกิจสื่อและบันเทิง โดยมีสถานีโทรทัศน์ทั่วโลกใช้งานโซลูชั่นของวิซอาร์ที สำหรับประเทศไทยมีทีวีดิจิทัลหลายช่องใช้โซลูชั่น ของบริษัท ซึ่งลงทุนโซลูชั่นครบวงจรทั้ง ระบบถ่ายทำรายการ 3D ,สตูดิโอ ออโตเมชั่น และระบบบริการจัดการคอนเทนต์และสื่อ

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts