สถานการณ์ COVID-19 ทำให้ผู้คนเรียนรู้ว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญมากต่อเกือบทุกแง่มุมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสำหรับการทำงานร่วมกัน และอื่นๆซึ่งมีบทบาทในใช้ชีวิตและการทำกิจกรรมต่างๆ
…และต่อไปนี้คือเทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญในปี 2564 ที่สรุปโดยผู้ผลิตอุกรณ์เน็ตเวิร์คยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง CISCO
1) 5G และ Wi-Fi 6 ช่วยลดช่องว่างดิจิทัล
ทุกวันนี้ประชากรโลกราวครึ่งหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จึงขาดโอกาสทางการศึกษา ธุรกิจ และการรักษาพยาบาล และในเกือบทุกประเทศ ปัญหาช่องว่างดิจิทัล (Digital Divide) ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคนในชนบทและผู้ยากไร้
เทคโนโลยีไร้สายรุ่นอนาคต รวมถึง 5G และ Wi-Fi 6 ควรถูกขยายให้แก่ผู้คนเหล่านี้นับล้าน รวมถึงบุคลากรที่ไปทำงานบริการสาธารณสุข การศึกษา และอื่นๆในที่ห่างไกลเพื่อคนเหล่านี้
2) เซ็นเซอร์ถูกใช้งานแพร่หลาย
Internet of Things จะแพร่หลายขึ้น ด้วยการที่เซ็นเซอร์อัจฉริยะซึ่งมีราคาถูกลง ได้รับการติดตั้งใช้งานในทุกๆ ที่ และเราจะสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกของเรา เครื่องจักรต่างๆ และผู้คนทั่วโลกในรูปแบบที่ใหม่ๆ
ตัวอย่างเช่นการระบุพื้นที่คนหนาแน่นมากเกินไป หรือตรวจสอบควบคุมสภาวะต่างๆ เช่น อุณหภูมิห้อง ความชื้น คุณภาพของอากาศ และแสงสว่าง หรือสภาพแวดล้อมการทำงานที่อาจเป็นอันตราย
3) ระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียบง่าย แข็งแกร่ง และไม่ต้องใช้รหัสผ่าน
ระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรที่ทำงานโดยอัตโนมัติ และง่ายต่อการใช้งานและตรวจสอบ คือปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์
ซึ่ง “ระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่ต้องใช้รหัสผ่าน” ใกล้จะกลายเป็นความจริง เนื่องจากเทคโนโลยีที่รองรับ เช่น ไบโอเมตริก (Biometrics)
4) จ่ายค่าเทคโนโลยีตามการใช้จริง
ที่ผ่านมา องค์กรต่างๆได้ลงทุนติดตั้งโซลูชั่นเทคโนโลยีแบบสำเร็จรูปที่ใช้ได้กับทุกองค์กร (One Size Fits All) และเสียค่าใช้จ่ายสำหรับฟีเจอร์บางอย่างที่อาจไม่ได้ใช้งานเลย
แต่ปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ในรูปแบบบริการ (Software as a Service) ช่วยให้องค์กรเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะในส่วนของฟีเจอร์และเทคโนโลยีที่ตนเองต้องการใช้งานในขณะนั้น และมีทางเลือกที่จะขยายไปสู่บริการอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวเมื่อถึงคราวจำเป็น เกิดความยืดหยุ่นและการประหยัดค่าใช้จ่าย
5) เพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นโดยอาศัย App
สำหรับหลายๆองค์กรนั้น ระบบคลาวด์ช่วยตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของลูกค้าและพนักงาน โดยใช้งานผ่านแอพที่ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานนอกสถานที่หรือจากที่บ้านได้อย่างยืดหยุ่น
6) พัฒนาบริการสร้างความพึงพอใจ
องค์กรภาครัฐและเอกชนใช้แอพเชื่อมต่อกับประชาชนและลูกค้ากันมาก จากนั้นองค์กรต้องสามารถแปรเปลี่ยนข้อมูลเรียลไทม์จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากเครือข่ายให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้งานได้ในทางปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว
องค์กรควรจะตอบสนองต่อลูกค้าได้ก่อนที่ลูกค้าจะรายงานปัญหาหรือระบุความต้องการด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นการนำเสนอประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล (Personalization) โดยอาศัยระบบงานอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันและภักดีมากขึ้น
สรุปจาก