เทเลนอร์เผย 5 มุมมองปีนี้ที่มีต่อเทคโนโลยี – โควิด – และสังคม

5 มุมมองเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อสังคม  รวมถึงผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งเรื่องการศึกษา, การทำงาน, สุขภาพจิต, ปัญหาโลกร้อน, และความปลอดภัยทางดิจิทัล

ศูนย์วิจัยของ Telenor Group เผย 5 มุมมองเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อสังคม  รวมถึงผลกระทบจากโควิด-19 ตลอดปี 2021 ทั้งเรื่องการศึกษา, การทำงาน, สุขภาพจิต, ปัญหาโลกร้อน, และความปลอดภัยทางดิจิทัล

 

การศึกษา

 

เริ่มจากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโลก ซึ่งพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยยูนิเซฟระบุว่าเด็กนักเรียนทั่วโลกจำนวนกว่า 1.6 พันล้านคนได้รับผลกระทบจากการปิดโรงเรียน โดยเด็กนักเรียนในประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะมีจำนวนวันเข้าเรียนน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ

 

และแม้โรงเรียนต่างๆ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ทดแทน แต่นั่นกลับทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ประชาชนรายได้ต่ำมีจำนวนมาก ขาดแคลนอิยเตอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ที่เพียงพอ

 

และเมื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อย ขณะที่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงจะได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายิ่งถ่างกว้างขึ้นไปอีก

 

 

การทำงาน

 

เทรนด์ “Work From Home” นั้นเปลี่ยนวิถีการทำงาน  ซึ่งศูนย์วิจัยเทเลนอร์คาดว่าจะเข้าสู่ยุค “Society-as-a-service” ให้สามารถทำงานเป็นทีมจากที่ใดก็ได้ ้เช่นที่บ้าน ที่สาธารณะ หรือร้านกาแฟ ฯลฯ

 

หน่วยงานต่างๆจะต้องควรเพิ่มทรัพยากรเพื่อสนับสนุนเทรนด์นี้ เช่นเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัล และความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) และปรับวิธีคิดหรือ mindset ของพนักงานให้ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่างๆ

 

สุขภาพจิต

 

โควิด-19 ทำให้เกิดมาตรการระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และผลกระทบทางรายได้  ซึ่งอาจทำให้กระทบสุขภาพจิต

 

ซึ่งศูนย์วิจัยเทเลนอร์คาดว่า จะมีการพัฒนา eHealth หรือ การใช้เทคโนโลยีไอซีที เพื่อสนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 เช่นการใช้เทคโนโลยี AR และ VR ผสานกับเทคโนโลยีโฮโลแกรม เพื่อให้เกิดสัมผัสเสมือนเมื่อมีการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่งต่างจากการวิดีโอคอลในปัจจุบัน

 

นอกจากนี้ เราอาจได้เห็นการพัฒนาหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์ ทำให้หุ่นยนต์สามารถตอบโต้กับมนุษย์ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม การพูดคุย การสร้างความบันเทิง

 

เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน

 

วิกฤตโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ลดการเดินทาง เกิด “วิถีชีวิตปกติใหม่” (New normal) ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้ถึง 15%

 

นอกจากนี้ เราจะเห็นการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานสะอาดอื่นๆ เข้าด้วยกันมากขึ้น

 

เช่นการพยากรณ์แนวโน้มการใช้พลังงานของเมือง หรือการใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยเกษตรกรทำงานได้อย่างแม่นยำ ลดการเกิดผลกระทบทางสภาวะแวดล้อม

 

Digital dementia ภาวะสมองเสื่อมจากดิจิทัล

 

การใช้บริการดิจิทัลต่างๆ ที่มากยิ่งขึ้นกับอุปกรณ์ที่หลากหลาย อาจก่อภาวะ Digital Dementia หรืออาการสมองเสื่อมจากการใช้บริการดิจิทัลที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พาสเวิร์ด” ที่ปัจจุบันผู้ให้บริการต่างกำหนดให้พาสเวิร์ดต้องมีการประสมตัวเลข เครื่องหมายและตัวอักษรที่ซับซ้อนมากขึ้น

 

ดังนั้น จึงคาดว่าจะมีการนำโซลูชั่นที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ๆมาใช้งาน เช่นระบบจัดการพาสเวิร์ด (Password manager) หรือการใช้อัตลักษณ์บุคคล (Biometric) เพื่อการยืนยันตัวเอง เช่น ลายนิ้วมือหรือการสแกนม่านตา แทนการจำตัวเลขพาสเวิร์ด

 

 

 สรุปจาก
  moneyandbanking.co.th/article/covid-19-digital-technology-270164

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

Mobile Application for Mostbet Enjoy Gaming Anywhere Anytime

In Bulgaria, the demand for convenient entertainment options has surged, leading...