กฎระเบียบ GDPR กฎที่องค์กรต้องรักษาข้อมูลของผู้บริโภค

GDPR ถือว่าเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในระดับหนึ่ง ที่ทำให้องค์กรไม่ละเลยในข้อมูลของผู้บริโภค และพัฒนาระบบเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

แฮกเกอร์ หรือนักเลงคอมพิวเตอร์ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อนี้มานานมากแล้ว พวกเขาคือกลุ่มคนที่เข้าใจในระบบของคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง และเชี่ยวชาญมาก ทั้งในระบบปฏิบัติการ ระบบเครือข่าย และคนเหล่านี้เองที่เป็นบุคคลที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล

ในขณะที่เรากำลังแปรรูปสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดิจิทัล โดยแฮกเกอร์จะเข้าเจาะระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และนำข้อมูลออกมา แฮกเกอร์เหล่านี้ทำเพื่อเงิน ซึ่งคาดกันว่าอาชญากรรมไซเบอร์จะมีมูลค่ามากถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2564

กฎระเบียบรองรับความปลอดภัยในข้อมูล

ปัจจุบัน ระบบข้อมูลส่วนตัวนั้น บางครั้งเราต้องจำเป็นที่ต้องเปิดเผย เพื่อการใช้บริการของหน่วยงานต่างๆ และโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบออนไลน์ ทำให้เกิดกฎระเบียบให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (GDPR) หรือ General Data Protection Regulation ช่วยปกป้องพลเมืองในสหภาพยุโรป

ส่งผลต่อทุกบริษัทที่ครอบครองและจัดเก็บข้อมูลของผู้บริโภค ซึ่งจะสามารถเก็บข้อมูลภายใต้การอนุญาตเท่านั้น และไม่ให้เก็บข้อมูลนานเกินกว่าที่กำหนดไว้และควรทำลายทิ้งเมื่อไม่ได้ใช้อีกต่อไป

กระแสดังกล่าวอาจจะทำให้องค์กรของไทยตระหนักถึงหลักกฎข้อบังคับนี้ และศึกษาอย่างรายละเอียดอย่างจริงจังและเริ่มปฏิบัติตาม GDPR เพิ่มขึ้นในอนาคต

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

การป้องกันกลโกงการชำระเงินรูปแบบผ่านช่องทางออนไลน์

การชำระเงินในรูปแบบที่ไม่ใช้ธนบัตรหรือเงินสด เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 โดยเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Manual Imprinting (ZipZap) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่เพียงกดโทรศัพท์มือถือ หรือการสแกนผ่าน QR Code ที่มีความปลอดภัยและรวดเร็วขึ้นตามสมัย แต่กลโกงหรือมิจฉาชีพก็พัฒนาตามเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน แต่เราจะสามารถระวังตัว ระวังกลุ่มมิจฉาชีพได้อย่างไรบ้าง