นำเทคโนโลยีปรับใช้ภาคการผลิต ลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การเติบโตทางเศรฐกิจและอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ประชากรโลกต้องรับผิดชอบร่วมกัน แต่ความจริงแล้วเราสามารถใช้บทบาทของ "เทคโนโลยี" ช่วยลดปัญหานั้นได้ ผ่าน "โซ่อุปทานสีเขียว" ซึ่งทั้งประชาชน ภาครัฐและเอกชนมีส่วนช่วยกันกำหนดทิศทาง

จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของโลกเป็นอย่างมาก ขณะนี้กำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น หลายประเทศทั่วโลกต่างพากันออกนโยบายที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง

สำหรับประเทศไทยเอง ได้มองถึงมิติของการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภค ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทั้งในเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการมลพิษ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หรือการพัฒนาประเทศในทิศทางต่างๆ โดยงานเสวนาของศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว (PRO-Green) ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว

เริ่มจากการทำธุรกิจภายใต้โซ่อุปทาน โดยแต่เดิมนั้นผู้ประกอบการจะเน้นไปที่การลดต้นทุนการผลิต แต่ปัจจุบันต้องมองปัจจัยด้านผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งผู้บริโภคในยุคนี้นั้นให้ความสนใจถึงที่มาที่ไปของตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น เช่น สินค้าทำจากอะไร ขั้นตอนผลิตเป็นอย่างไร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกในการทำธุรกิจให้กลายเป็น “โซ่อุปทานสีเขียว”

อย่างกรณีอุตสาหกรรมมือถือ หลายคนตั้งคำถามว่าแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วนั้นสุดท้ายแล้วไปอยู่ที่ใด มีวิธีการกำจัดอย่างไร หรืออุตสาหกรรมนำดื่ม ก็มีการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาทิ ปรับให้ฝาขวดให้สั้นลงเพื่อลดการใช้พลาสติก และปรับขวดบางลงจนสามารถบิดได้ เพื่อง่ายต่อการรีไซเคิล ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การที่จะสร้างโซ่อุปทานสีเขียวนั้นต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจที่ตนอยู่ ซึ่งนวัตกรรมใหม่ ๆ จะเป็นทางออกของการผลิตได้เป็นอย่างดี

สำหรับเทรนด์ภาคการผลิตในอนาคตที่คาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาทดแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ทั้งยังก่อภาวะทางอากาศ และปัจจุบันเทคโนโลยีแบตเตอรี่ก้าวหน้ามากขึ้น มีการอัดไฟฟ้าในปริมาณที่มาก และราคาที่ถูกลง หลายประเทศส่งเสริมให้คนในประเทศหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า เช่น ลดภาษี ค่าธรรมเนียม ให้เงินอุดหนุน เพิ่มสถานีชาร์จไฟ เป็นต้น อีกทั้งเริ่มกำหนดเวลาในการยุติการใช้รถยนต์น้ำมันแล้ว

แต่หากมองในความคุ้มค่าสำหรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าขณะนี้อาจจะยังไม่คุ้มค่า แต่อนาคตหากราคาแบตเตอรี่ถูกลง ก็สามารถสู้กับราคาน้ำมันได้ จากการศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การวิ่ง และการกำจัดซาก รถยนต์ไฟฟ้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดีกว่า ทั้งสะอาดและคุ่มค่า ดังนั้น รัฐบาลไทยควรส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศใช้เทคโนโลยีในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ที่จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะแบตเตอรี่ มอเตอร์ รวมถึงการทำวิจัย

ในฝั่งของการส่งเสริมการเกษตรเอง ที่ประชากร 1 ใน 3 ของประเทศไทยทำอาชีพเกษตร ยังคงพบปัญหาเกี่ยวกับการผลิตอยู่ ส่วนใหญ่ยังคงใช้ประสบการณ์สำหรับวางแผนเพาะปลูกแต่ละปี อาจจะไม่แม่นยำและเพิ่มต้นทุน ฉะนั้นแล้วจึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีออกมาช่วยเหลือเกษตรกร

จะเห็นว่ามีสตาร์ทอัพหลายรายพัตนาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการทำงาน อย่างระบบตรวจสอบแปลงก่อนการปลูก ตรวจสอบสภาพดินฟ้าอากาศ วิเคราะห์การปลูก ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ล้วนต่างเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ได้ผลผลิตดี ลดต้นทุนลง และจัดการง่ายขึ้น รวมถึงในมุมของธนาคารปล่อยเงินกู้ ก็มีการใช้ Bigdata มาวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับปล่อยสินเชื่อจากข้อมูลแปลงเกษตรของผู้ขอกู้แต่ละราย

ที่กล่าวมาข้างต้นนับว่าเป็นทางออกที่ดีสำหรับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการผลิต ทั้งภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร เชื่อว่ายังมีอีกหลายวิธีจากการใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าให้มากที่สุด

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ดีแทค ส่งเสริมการใช้การงานดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการดิจิทัลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

ดีแทค ตอบรับกระแสการเติบโตของโลกดิจิทัล เร่งติดสปีดการใช้งานดิจิทัลลูกค้าดีแทค พร้อมวาดแผนกลยุทธ์ดิจิทัลมุ่งสู่บริการที่มากกว่า โทรคมนาคม สร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็มและเปลี่ยนผ่านโมเดลปฏิบัติการสู่ดิจิทัล ปูทางดีแทคแอปสู่ซูเปอร์แอป   [caption...

  • กทม. Connect แอปฯ แจ้งเตือนสำหรับคนกรุงเทพฯ

    ผลสำรวจจาก บ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวปลอม จากประชาชนที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ว่าจำนวน 65.1 % พบกับปัญหาข่าวปลอม โดยพบผ่าน Facebook ถึง 54.2...

  • แอปฯ ที่สามารถนำเทคโนโลยี WiFi รวมกับ 4.5G เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอินเตอร์เน็ต

    เราคงเคยเห็นโฆษณาของค่ายมือถือที่นำเสนอถึงระบบเทคโนโลยี คลื่นใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น หลายคนคงสงสัยว่าระบบที่ทางค่ายมือถือนำมาดึงดูดผู้บริโภคนั้น แต่อาจสงสัยว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เห็น ๆ กัน แตกต่างและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง สำหรับ 4.5G นั้นแปลว่า...

  • เมื่อแอปฯ สามารถเทียบมาตรฐานของเสียงเครื่องดนตรีไทย

    ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวแอปพลิเคชั่น ในชื่อ Thai Tuner  แอปพลิเคชั่นเทียบเสียงเครื่องดนตรีไทยให้เป็นมาตราฐาน ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์...