ฟังมุมมองจาก Shopee โดย “อากาธา โซห์” กับเกม E-Commerce ไทย คู่แข่งยิ่งเยอะ ตลาดยิ่งโตเร็ว

digital Age ได้เข้าไปสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับ คุณ อากาธา โซห์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Shopee โดยจะพูดถึงสองประเด็นหลักๆ คือ เทรนด์การขายสินค้าออนไลน์ที่น่าสนใจในปี 2018 และการแข่งขันปล่อยโปรโมชั่นกระตุ้นยอดซื้อจากนักช็อปเข้ามาใช้แพลตฟอร์มให้มากที่สุด


ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตทุกปี คำพูดนี้ไม่ได้พูดลอย ๆ แต่มาจากข้อมูลทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ระบุว่า E-Commerce ไทยเติบโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% พร้อมคาดว่าสิ้นปี 2560 โตได้สูงสุดถึง 14% หรือมีมูลค่าประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดขาย 2.5 ล้านล้านบาท

รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเนื้อหอมจนมียักษ์ใหญ่หลายรายร่วมสู้ศึกกันอย่างคึกคัก ไม่ต่างจาก Shopee มาเก็ตเพลสจากสิงคโปร์ที่มาคอนเฟิร์มอีกรายว่าไทยโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช้อปปี้เริ่มต้นในประเทศไทยช่วงเดือนตุลาคม 2557 ขณะนี้มีการขยายตลาดเข้าสู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7 ประเทศ รวมถึงไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่อีกรายที่มีความน่าสนใจไม่น้อย

ทั้งนี้ digital Age ได้เข้าไปสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับ คุณ อากาธา โซห์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Shopee โดยจะพูดถึงสองประเด็นหลักๆ คือ เทรนด์การขายสินค้าออนไลน์ที่น่าสนใจในปี 2018 และการแข่งขันปล่อยโปรโมชั่นกระตุ้นยอดซื้อจากนักช็อปเข้ามาใช้แพลตฟอร์มให้มากที่สุด

คนไทยยังคงนิยมช้อปปิ้งผ่านมือถือ

สิ่งที่เห็นได้ชัดสำหรับตลาดไทย คือ การซื้อขายผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ mCommerce รวมถึงพ่อค้าแม่ค้านิยมขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย ซื่งไทยมีการใช้งานโซเชียลต่างจากประเทศอื่นอย่างเห็นได้ชัด มีรูปแบบการขายที่หลากหลายเกิดเป็นลูกผสมกลายเป็น Social Commerce

หากวิเคราะห์จากผู้ใช้งานหลักบน Shopee ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มมิลเลนเนียลอายุระหว่าง 18 – 25 ปี แต่กลับมีกำลังซื้อสูงมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังมีพฤติกรรมติด Social Media และพูดคุยผ่านแชท ทำให้ประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมบนแพลตฟอร์มสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ สินค้าสุขภาพและความงาม แฟชั่นสุภาพสตรี และมือถือและแกดเจ็ต ตามลำดับ

แม้แข่งกันที่โปรโมชั่น แต่แพลตฟอร์มยังสำคัญ

ปีที่แล้วเราจะเห็นหลายเจ้าอัดโปรโมชั่นในช่วง 9.9, 11.11 และ 12.12 Super Sale ทาง ช้อปปี้ก็จับจังหวะในช่วงนี้เหมือนกัน แคมเปญ 9.9 Mobile Shopping Day พร้อมใช้การสื่อสารการตลาดผ่านแบรนด์แอมบาสเดอร์อย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ และญาญ่า อุรัสยา ส่งผลให้มีผู้เข้าใช้แพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า และยอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นถึง 3.5 เท่า ในวันดังกล่าว

ขณะที่แคมเปญ 11.11 – 12.12 Shopee Super Sale มียอดคำสั่งซื้อ 2.5 ล้านครั้งทั่วทั้งภูมิภาค ภายในระยะเวลาเพียง 24 ชั่วโมงของวันที่ 12 ธันวาคม รวมถึงมียอดขายสินค้ามากกว่า 550,000 ชิ้น สำหรับประเทศไทย สิ่งที่เห็นเพิ่มเติม คือ นักช้อปชาวไทยใช้เวลาในแพลตฟอร์มโดยเฉลี่ย 23 นาที เพื่อเลือกซื้อสินค้า เป็นโจทย์สำคัญที่ต้องทำให้ผู้บริโภคคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป ต้องได้สินค้าที่ถูกใจและพึงพอใจในการใช้งานแพลตฟอร์ม

อากาธา อธิบายเพิ่มเติมว่า ทางช้อปปี้ให้ความสำคัญกับตัวแพลตฟอร์มมากกว่าส่วนลดหรือโปรโมชั่น สินค้าที่นำเสนอขายต้องมีความหลากหลาย เมื่อเข้ามาช้อปปิ้งแล้วต้องหาสินค้าเจอได้ครบทุกประเภท และทำให้ทั้งฝั่งผู้ซื้อ และผู้ขาย ใช้งานได้สะดวก รวมถึงการชำระเงิน และการขนส่ง ทั้งการพัฒนาคุณภาพโดยจัดโปรแกรม Shopee University เพื่อเทรนผู้ขายด้วย

คู่แข่งยิ่งเยอะ ตลาดยิ่งคึกคัก

นอกจากนี้ เรายังถามถึงเรื่องที่แบงค์ชาติอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ สามารถให้บริการ e-Marketplace Platform เพื่อเป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ชําระเงินออนไลน์แบบครบวงจร สามารถซื้อขายสินค้าหรือบริการที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่น เช่น ผู้ประกอบธุรกิจ e-Commerce ร้านค้าหรือบริการออนไลน์ เป็นต้น

“การที่แบงค์ชาติเปิดให้ธนาคารเป็น e-Marketplace ได้ถือเป็นเรื่องที่ดี การที่มีการแข่งขันจะทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยโตเร็วขึ้นอีก ซึ่งดีกว่าตลาดอยู่นิ่งๆ อีกอย่างทำให้อินฟราซักเจอร์ดีขึ้นตามไปด้วย ต้องรอดูต่อไปว่าเมื่อธนาคารเปิดแพลตฟอร์มของตนเองเองแล้วจะมีการแข่งขันในรูปแบบไหนต่อไป” อากาธา กล่าวทิ้งท้าย

ไม่ใช่แค่รายใหญ่จากต่างประเทศทยอยเข้าในตลาดไทยเพียงอย่างเดียว ไทยก็มีการสร้าง e-Marketplace แข่งกันเองเช่นกัน ในฐานะผู้ซื้อและผู้ขายก็สามารถเลือกแพลตฟอร์มในการซื้อขายบนโลก e-Commerce ได้มากขึ้นด้วย ถ้าหากสามารถมัดใจนักช้อปชาวไทยได้ ก็คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะไปตีตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศอื่นๆ ได้

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย

  • Facebook Camera เปิดฟีเจอร์ใหม่ ทดลองเครื่องสำอางผ่าน AR

    สาว ๆ ทั้งหลายอาจจะเคยถ่ายรูปตัวเองเพื่อจะลงอวดโฉมลงโซเชียล แต่คงต้องแต่งภาพให้ตัวเองสวยเป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะลงรูป โดยผ่านแอปพลิเคชั่นแต่งภาพ ที่อาจจะรู้จักอย่าง MakeupPlus AR แอปพลิเคชั่น ช่วยแต่งหน้า เปลี่ยนสีผมของเราให้ออกมาสวยยิ่งขึ้น  ด้วยระบบ AR และยังมีฟีเจอร์สำหรับทดลองเครื่องสำอางจากเคาน์เตอร์แบรนด์อย่างเช่น...

  • ยักษ์เบอร์สอง ecommerce จีนตั้งศูนย์รองรับ 2 แสนออเดอร์ต่อวัน ด้วยพนักงานแค่ 4 คน

    JD แห่งจีน สร้างศูนย์จัดการคำสั่งซื้อสินค้าแห่งใหม่ที่เซี่ยงไฮ้ รองรับคำสั่งซื้อถึง 2 แสนคำสั่งต่อวัน แต่ใช้พนักงานเพียงแค่ 4 คน

  • เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา เปิดพื้นที่ให้กับธุรกิจ SME

    ปี 2561 มีการคาดการณ์ว่า การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จะมีมูลค่ากว่า 9.2 แสนล้านบาท โดย TMB Analytics ทำให้เห็นว่าการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้นมาก พร้อมทั้งพฤติกรรมที่ผู้บริโภคชอบเปิดดูรีวิว เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นเปรียบเทียบราคา เพื่อเทียบสินค้า