มธ. ขยายบริการ Bike Sharing เพิ่มเป็น 3,800 คัน หลังมีการใช้งานเพิ่มขึ้น

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมลงนามจับมือกับ ofo ประเทศไทย ในการขยายบริการเช่าจักรยานไร้สถานีภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย

ท่ามกลางกระแส Sharing Economy ที่เข้ามาตีตลาดในไทยอย่างหนัก คือ ธุรกิจ ‘Bike Sharing’ หรือบริการให้เช่าจักรยานสาธารณะ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่เน้นจับกลุ่มผู้ใช้งานตามสถานศึกษาและมหาวิทยาลัยมากกว่าเปิดให้บริการตามแลนด์มาร์กในกรุงเทพฯ เนื่องจากมองว่าบุคลากรในสถานศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการใช้งานจักรยานสูง เรามีตัวอย่างจากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เปิดให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเล่าให้ฟัง

ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต มีเนื้อที่กว่า 1,757 ไร่ และปัจจุบันมีนักศึกษารวมกว่า 30,000 คน ด้วยเนื้อที่กว้างใหญ่และจำนวนนักศึกษาที่มีจำนวนมากทำให้การวางแผนเรื่องการคมนาคมสัญจรภายในมหาวิทยาลัย มีการเริ่มต้นในเรื่องของการใช้จักรยานในการเดินทางตั้งแต่ 2550 ซึ่งในช่วงระยะ 10 ปี ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรหันมาใช้จักรยานเพิ่มมากขึ้น ทั้งมีให้บริการเช่ายืม รวมถึงโครงการจักรยานคันแรก เมื่อซื้อจักยานจะได้รับเงินคืน 500 บาท

โดยมีระยะการใช้งานสำหรับบริการเช่าจักรยานด้วยกัน 3 ช่วง คือ  ช่วงแรกเริ่มจากเปิดให้บริการ 500 คัน โดยใช้บาร์โค้ด และคนในการดูแลตามจุด คิดค่าบริการ 1 บาท ต่อวัน มีให้บริการ 3 จุด ซึ่งพบปัญหายังไม่ครอบคลุม และยังต้องใช้คนในการคอยดูแลสำหรับการยืมคืน

ช่วงที่สอง เริ่มเข้าสู่ Bike Sharing เปลี่ยนวิธีการยืมโดยใช้บัตรนักศึกษาแตะในการยืม มีให้บริการ 10 สถานี เมื่อคืนก็สามารถเสียบเข้ากับหัวจอดที่ไหนก็ได้ แต่ระบบก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะหากขยายต้องมีต้นทุนการสร้างหัวเสียบ ทั้งยังไม่มีในจุดพื้นที่หอพัก ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่จะเริ่มใช้งานจากหอพักมายังตึกเรียน

เมื่อเห็นปัญหาต่างๆ ที่ยังต้องแก้ไขสำหรับการให้บริการเช่ารถจักรยาน ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงปรับอีกครั้งเข้าสู่ช่วงที่ 3 ที่ไม่จำเป็นต้องมีสถานีจอดอีกต่อไป โดยทดลอง 1,000 คัน จากสตาร์ทอัพสัญชาติจีนชื่อว่า ofo (โอโฟ่) เปิดบริการฟรี 3 เดือนแรก หลังจากนั้นอัตราค่าบริการอยู่ที่ 5 บาท ต่อการใช้จักรยาน 30 นาที ซึ่งก็จะมีค่ามัดจำเป็นเงิน 99 บาท

รูปแบบ ‘Bike Sharing’ ของ มธ. ศูนย์รังสิต

เจ้ารถจักรยาน OFO สีเหลืองนี้แตกต่างจากบริการเช่าทั่วไปยังไงหลายคนอาจสงสัย การใช้งานง่ายๆ คือ นักศึกษาสามารถค้นหาพื้นที่ให้บริการจักรยานได้ผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ เมื่อเจอจักรยานที่ต้องการแล้วก็กรอกเลขทะเบียนจักรยานผ่านมือถือ ชำระค่าบริการก็ใช้ปั่นได้ทันที และยังสามารถคืนจักรยานได้ในจุดที่หลากหลายทั่วมหาวิทยาลัย รวมถึงในพื้นที่หอพักด้วย ไม่ต้องเสียเวลาปั่นจักรยานกลับมาคืนที่เดิม

รวมถึงมีการเก็บสถิติการใช้งาน เส้นทางการใช้งานเพื่อการบริหารจุดจอด จำนวนจักรยานได้อย่างเหมาะสมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยในมหาวิทยาลัย และการคุ้มครองผู้ขับขี่ด้วยประกันอุบัติเหตุหากเกิดจากการขับขี่จักรยาน ofo

ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและ ความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ล่าสุด ได้มีการเพิ่มจำนวนจักรยานให้เพียงพอกับความต้องการโดยได้เพิ่มเป็น 3,800 คัน โดยกระจายจุดจอดตามคณะและภาควิชาต่างๆ หอสมุด อาคารเรียนรวม อาคารสำนักงาน และพอหัก เข้ามาช่วงเสริมในช่วงเช้ากับช่วงเย็นเพราะเป็นช่วงที่ในมหาวิทยาลัยรถติดมาก นักศึกษาเลยหันมาใช้จักรยานกันเพิ่มขึ้น

โดยแผนต่อจากนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแผนทำทางจักรยานให้สะดวกต่อการสัญจร พร้อมกับรุณรงค์ให้ใช้รถยนต์น้อยลง และขยายมายังศูนย์ท่าพระจันทร์ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘Thammasat Smart City’ ที่มหาวิทยาลัยกำลังพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้มาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนักศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป

นับว่าเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่ดีสำหรับการนำไปสร้างเป็น Smart City ในพื้นที่มหาวิทยาลัย และเมืองต่างๆ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยว แต่สิ่งที่ยังเป็นจุดบอดอยู่นั้นยังเป็นพฤติกรรมการจอดในพื้นที่ที่เหมาะสม แม้ว่าจะมี GPS ติดตามคอยเก็บก็ยังไม่ใช้วิธีแก้ไขที่ดีนัก แต่ต้องเปลี่ยนทัศนคติในการใช้บริการประเภท Sharing ที่ไม่ใช่แค่จักรยานเพียงอย่างเดียว

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

SuperBoss Live-Игры – Погружение в Эмоции и Реальные Восторги Онлайн

Современные развлечения стремительно меняются, предлагая участникам уникальные возможности для...