ลดช่องว่างการศึกษา ด้วยการเรียนผ่าน MOOC

ผศ. ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศร รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ผศ. ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศร รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถศึกษาข้อมูลที่ต้องการได้แบบรวดเร็ว ปัจจัยบวกนี้ส่งผลให้การศึกษาเข้าถึงทุกคนได้มากขึ้น ช่องว่างทางการศึกษาก็จะลดลง และประเทศจะมีบุคลากรคุณภาพที่เพิ่มขึ้น

ระบบการศึกษาออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Courses หรือ MOOC) เป็นโครงการทางไกล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เดินหน้าสำเร็จไปได้

ความสำคัญของการเรียนออนไลน์
ผศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศร รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า นโยบายการเข้าสู่ยุคดิจิทัล คนที่อยู่ในวงการการศึกษาจะเห็นว่าเป็นโอกาสที่สำคัญ เพราะเป็นเรื่องของอนาคต ที่ต้องปรับตัวให้เข้าไปสู่สภาพแวดล้อมใหม่

“สิ่งที่น่าสนใจคือ เยาวชนไทยออกจากระบบการศึกษากันมากขึ้นและคนที่เลือกเรียนต่อก็ลดลงเรื่อยๆ 30% คือคนที่เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย และกว่า 70% เข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าสนใจ และเราต้องส่งเสริมให้ 70% นั้นได้รับโอกาสทางการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเอง”

sp2-3ระบบการศึกษาของไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่าศักยภาพในการแข่งขันของเราลดลง เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ในขณะเดียวกัน คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากกว่า 56% และใช้เวลาบนโลกออนไลน์เป็นอันดับต้นๆ ของโลก สิ่งเหล่านี้ควรเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดด้วยการเข้าถึงที่ง่ายดายและครบวงจร ซึ่งแน่นอนว่าจะให้มีศักยภาพทัดเทียมต่างชาติไม่ได้ แต่การเริ่มต้นและพัฒนาที่ดีจะช่วยขับเคลื่อนมาตรฐานตรงนี้ได้

ฉบับที่ 214 เดือนตุลาคม

AI สำหรับแบรนด์ ผู้ช่วยในยุค IoT

ที่มาและการใช้งาน
ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น ข้อดีอย่างหนึ่งคือ สามารถเชื่อมต่อและแบ่งปันได้อย่างทั่วถึง ในต่างประเทศเองการเรียนการสอนออนไลน์มีอย่างแพร่หลายและประสบความสำเร็จอย่างมาก จากเดิมที่มีการใช้งานเฉพาะกลุ่มอย่าง E-learning พัฒนามาสู่ยุคของ MOOC ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างเต็มรูปแบบ

sp2-4

การใช้งาน MOOC เพื่อการเรียนการสอนนั้น ทำให้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการศึกษาลดลง เพราะสื่อต่างๆ สามารถแชร์กันได้ การสอนของผู้สอนหลายๆ คนก็มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ผู้เรียนเองก็มีตัวเลือก

สำหรับโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ เปิดให้บริการแล้วที่ http://mooc.learn.in.th และ http://oer.learn.in.th โดยจะเป็นพื้นที่สำหรับเก็บภาพ คลิปวิดีโอ แผนภาพ ผังมโนทัศน์ แบบทดสอบ เกมการศึกษา สื่อแอนิเมชั่นเพื่อใช้ในการศึกษา ที่ครูทุกคนสามารถเข้าถึง นำมาปรับปรุง และเอาไปใช้งานโดยไม่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นสื่อที่พร้อมใช้งานกับนักเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา สายอาชีพ และบุคคล นอกจากนี้ทางโครงการฯ จะจัดหาเครื่องมือในการพัฒนาสื่อสาระให้แก่โรงเรียนหรือสถาบันที่ร่วมโครงการ รวมทั้งจัดหาระบบคลาวด์ที่สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากอีกด้วย

sss

ซึ่งการเป็นแพลตฟอร์มเปิดนี้ ทำให้ผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้าน ไม่จำกัดว่าต้องเป็นครูเท่านั้น มาลงสื่อการเรียนการสอนไว้ เพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนอย่างเสรี โดยเป็นการส่งเสริมการร่วมกันสร้างสรรค์องค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

การใช้จริง
โรงเรียนที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 30,000 โรงเรียนทั่วประเทศ พบว่า เกินกว่าครึ่งเป็นโรงเรียนที่ขนาดเล็กนักเรียนไม่ถึง 120 คน โดยในขณะเดียวกันก็มีโรงเรียนที่ได้มาตรฐานสากลเพียงประมาณ 1,000 โรงเรียน โดยครูส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในยุคอนาล็อก แต่ปัจจุบันทุกอย่างรวมถึงนักเรียนขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การปรับตัวและความพร้อมเปิดรับของครูเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเริ่มมีการจัดการด้วย

 

รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการใช้งาน MOOC เพื่อการเรียนการสอนนั้น ทำให้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการศึกษาลดลง เพราะสื่อต่างๆ สามารถแชร์กันได้ การสอนของผู้สอนหลายๆ คนก็มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ผู้เรียนเองก็มีตัวเลือกและสามารถที่จะเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองสนใจได้

“พอทดลองใช้ สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือ ไม่ใช่แค่การที่เราจะมีระบบที่ดี แต่การเปิดรับและปลูกฝังเป็นสิ่งสำคัญ ตัวแปรสำคัญอย่างผู้เรียนเอง ต้องรู้จักการเรียนรู้ด้วยตัวเองให้ได้ก่อน ทุกวันนี้ คือการรอให้ถูกป้อนข้อมูลเข้าไปแต่ไม่ได้เลือกที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง ถ้าเรามีการปลูกฝังตรงนี้ แล้วรองรับด้วยระบบ MOOC ก็จะเกิดเป็นประโยชน์ อย่างในต่างประเทศที่มีการใช้งานกัน ก็เติบโตเร็วมากหลังจากที่พฤติกรรมของผู้เรียนนั้นสนใจเข้ามามากขึ้น และข้อดีจริงๆ ของมันก็คือ รองรับนักเรียนได้จำนวนมาก ไม่ได้จำกัดแค่นักเรียนในระบบเท่านั้น”

ด้วยประโยชน์จากเครือข่ายออนไลน์ที่มีพื้นที่ไม่จำกัด และเข้าถึงได้ง่าย ทำให้การศึกษาสามารถส่งต่อไปสู่ทุกคนได้โดยไม่มีขีดจำกัด ทำให้ช่องว่างต่างๆ ลดลง และผู้ที่เข้ามาใช้งานก็จะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่องได้แบบตลอดชีวิต ซึ่งเมื่อมาตรฐานทางการศึกษานี้ไปในแนวโน้มที่ดี ก็เท่ากับว่าคุณภาพชีวิตในอนาคตก็จะไปในทางเดียวกันอีกด้วย

http://mooc.learn.in.th

http://mooc.learn.in.th

 http://oer.learn.in.th

http://oer.learn.in.th

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

chatbot
การแชทช่วยให้ข้อมูลสำคัญแก่ธุรกิจ

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล CEO บริษัท Mojito Technology แชทบอท กำลังกลายเป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้บริโภคจะใช้สื่อสารกับแบรนด์...

  • Chatbot-Thailand
    เสริมศักยภาพองค์กร ด้วยการใช้เทคโนโลยี Chatbot

    Chatbot จุดเริ่มต้นของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาคอุตสาหกรรม การแชทผ่านแอพฯ ในปัจจุบัน เป็นช่องทางที่หลายๆ คนเลือกใช้เป็นช่องทางหลักมากกว่าการโทร หรือส่งอีเมล ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และสามารถตอบกลับกันได้อย่างทันที ซึ่งการใช้ในชีวิตประจำวันอาจจะไม่ได้พบเจออุปสรรคมากนัก  แต่การใช้งานในระดับองค์กรที่ต้องรับข้อความวันละหลายร้อยข้อความ นับว่าเป็นปัญหาที่หนัก และต้องใช้แรงานคนเข้ามาจัดการจำนวนมากเลยทีเดียว การนำระบบแชทบอท...

  • DAAT
    เทรนด์โฆษณาดิจิทัล ธุรกิจความงามเติบโตสูงสุด

    ศุภชัย ปาจริยานนท์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) สื่อโฆษณาดิจิทัลเป็นสื่อที่มีบทบาทมากขึ้นในยุคการตลาด 4.0 อีกทั้งรูปแบบของการโฆษณาดิจิทัลก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

  • GOOGLE-MOBILESITE
    โมบายล์ไซต์ เชื่อมต่อการค้าบนเดสก์ท็อป

    กิลาน เลอ ฌาเตลิเยร์  ผู้อำนวยการประจำภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โซลูชันส์การตลาด Google ไม่กี่ปีที่ผ่านมา...