เจาะ 7 เทรนด์ E-Commerce ไทย เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับปี 2018

ช่วงปลายปีหลายคนเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับเทรนด์ต่าง ๆ ในปีหน้า โดยเฉพาะในวงการของ E-Commerce เป็นเทรนด์ที่น่าจับตาทุกปี จากการคาดการณ์ ETDA ในปี 2017 ว่า E-Commerce ไทยจะมีมูลค่าอยู่ที่ 2,812,592.03 ล้านบาท อัตราส่วนการเติบโตอยู่ที่ 9.86% ต่อปี (2016-2017) เป็นแนวโน้มที่ขยับขึ้นต่อเนื่อง ตามพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์กำลังมาแรงและได้รับความนิยม

พฤติกรรมนักช้อปออนไลน์

จากข้อมูลพบว่า แม้ผู้ใช้กว่า 70% จะเข้าใช้ Priceza ผ่านสมาร์ทโฟน แต่ถ้าลงลึกไปดูยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์โดยเฉลี่ยแล้ว การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน กลับมียอดสั่งซื้อน้อยกว่าคนที่สั่งซื้อผ่านคอมพิวเตอร์เกือบครึ่งเลยทีเดียว แสดงให้เห็นว่า ถ้าสินค้าราคาสูงหรืออยากช้อปสินค้าหลายๆ อย่าง คนไทยก็ยังคงมั่นใจที่จะไปตัดสินใจช้อปออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์นั่นเอง

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา

ในส่วนหมวดสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็นเสื้อผ้าและแฟชั่น รองลงมาเป็นโทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า รถและยานพาหนะ จากสถิติของผู้ใช้บริการ Priceza ตลอดทั้งปี 2560 กว่า 125 ล้านเซสชั่น

สำหรับเทรนด์ E-commerce 2018 ได้เก็บข้อมูลจากงาน Priceza E-commerce Award 2017 โดยมี ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด พร้อมผู้เชี่ยวชาญในวงการ E-Commerce มาร่วมกันเสนอและวิธีการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ประกอบการ


สรุป 7 เทรนด์
E-Commerce 2018

1. คนไทยซื้อของออนไลน์มากขึ้น หลากหลาย Channel

เห็นได้จาก SME ที่บูมมากไม่ว่าจะขายทางเฟซบุ๊ก ไอจี หรือสั่งอาหารผ่านบริการเดลิเวอรี่ทั้งหลาย รวมถึงเทรนด์ของเฟซบุ๊กกรุ๊ปเฉพาะพื้นที่เน้นขายเฉพาะสินค้าและอาหารก็กำลังเกิดเป็นช่องทางใหม่ในขณะนี้ เช่น คนที่อยู่แถวอุดมสุข เปิดเฟซบุ๊กกรุ๊ปเฉพาะคนในพื้นที่ พ่อค้าแม่ค้าสามารถนำเสนอขายของตนเองได้ ผู้บริโภคก็สามารถโพสต์หาสินค้าหรืออาหารที่ต้องการได้เช่นกัน เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการขายไปตามพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจ SME ได้เป็นอย่างดี

2. การขายแบบ C2C

การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสอง เป็นการที่ผู้บริโภคซื้อขายกันเอง ผนวกกับการจ่ายเงินผ่านมือถือที่สะดวกก็จะยิ่งง่ายมากขึ้น แต่ก็เป็นผลดีในแง่ทำให้ผู้บริโภคคุ้นเคยรูปแบบการใช้จ่ายแบบใหม่ ต่อไปผู้ค้ารายย่อยจะเพิ่มจำนวนขึ้น โดย 1 คน มีมากกว่า 1 อาชีพ อาจทำงานออฟฟิศไปด้วย ขายของออนไลน์ไปด้วย

3. การแข่งขันดุเดือด

เมื่อ SME ขายของได้ง่ายขึ้นก็จะเกิดการแข่งขันตามมา ซึ่งปีหน้าคาดว่าจะดุเดือดมากกว่าปีนี้ สินค้าในมาเก็ตเพลสจะเพิ่มขึ้นมหาศาล โดยทางช้อปปี้บอกว่า ปัจจุบันมีสินค้าในระบบ 7 ล้านชิ้น ปีหน้าเชื่อว่าจะขยายเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า หรือราวๆ 20 ล้านชิ้นเลยทีเดียว เกิดจากผู้ประกอบการจะนำสินค้าเจ้าสู่ออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง

4. ผู้บริโภคจะยึดติดกับส่วนลด

เมื่อการแข่งขันกันเองของผู้ขาย โปรโมชั่นจะเป็นตัวการหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งคนไทยมีความชื่นชอบของราคาถูก ทำให้ยึดติดก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีส่วนลด โปรโมชั่น  และโค๊ดส่วนลด ที่จะพร้อมจ่ายเมื่อเห็นว่าราคาปรับลดลง ซึ่งเรื่องลดราคาถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการทำตลาดออนไลน์

5. ทำการตลาดที่ครีเอทีฟมากขึ้น

รายเล็กอย่าไปแข่งกับรายใหญ่ เพราะรายใหญ่จะมีทุนเรื่องโฆษณามากกว่า ให้แข่งกับตลาดเล็กและเป็นตัวใหญ่ในตลาดนั้น จำเป็นต้องทำการตลาดที่แตกต่างไม่ซ้ำคู่แข่ง เช่น ใช้เฟซบุ๊กโปรโมทสินค้า และให้มาซื้อช่องทางออฟไลน์ เพื่อไม่ให้รายใหญ่เห็นพฤติกรรมการซื้อ เพราะบางทีรายใหญ่มักจะดูสินค้าที่ได้รับความนิยมจากรายเล็ก และไปใช้โปรโมชั่นเพื่อแย่งลูกค้าไป ดังนั้นการทำตลาดจึงมีความครีเอทีฟมากขึ้น เพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนไว้

6. การซื้อขายแบบ Omni Channel

เมื่อจุดเริ่มต้นการช้อปปิ้งไม่ได้อยู่แค่ที่ห้างอีกต่อไป ปรากฏตัวตามช่องทางต่างๆ หน้าร้านจึงต้องหาวิธีคุยกับลูกค้าในสไตล์ของตนเอง รูปแบบการนำเสนอและการซื้อขายจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ เพราะปัจจุบันไม่ได้ขายเฉพาะตัวสินค้า แต่เป็นการขายประสบการณ์ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งยังมีกลุ่มผู้บริโภคก็มักดูสินค้าทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ และเลือกซื้อทางออฟไลน์ ดังนั้น แบรนด์จะต้องใช้จุดนี้ดึงลูกค้ามายังหน้าร้าน

7. ช่องทางไหนง่ายสุด ลูกค้าเลือกช่องทางนั้น

เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการใช้จ่ายมากแล้ว ลูกค้าจะเลือกใช้บริการช่องทางที่เข้าถึงง่าย ซื้อง่าย และส่งถึงมือ แบรนด์อาจจะสร้างแพล็ตฟอร์มของตนเองและใส่สินค้าลงไป หรือจะมองหามาเก็ตเพลสที่เหมาะกับสินค้าของตน แต่อย่าไปทุกช่องทาง ให้ดูที่กำลังและจำนวนสินค้าด้วย เพราะหากมีการสั่งซื้อจำนวนมากจากหลากหลายช่องทาง แต่สต็อคสินค้าไม่พอที่จะจัดส่ง ก็อาจจะขาดความน่าเชื่อถือได้

สรุป

จะเห็นจากช่วง 5 ปีทีผ่านมาการช้อปปิ้งมีหลายหลายช่องทางให้ผู้บริโภคได้เลือก โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ถึงกระนั้นสินค้าบางประเภทก็ใช่ว่าจะเหมาะกับช่องทางออนไลน์ สิ่งที่ควรคำนึงเบื้องต้นในเรื่องของคุณภาพของสินค้า เรื่องราคาที่เหมาะสม และประสบการณ์ของผู้บริโภค หากสามารถตอบสนองทั้ง 3 ด้านได้ ไม่ว่าช่องทางไหนก็ขายสินค้าได้แน่นอน

 

 

 

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย

  • Facebook Camera เปิดฟีเจอร์ใหม่ ทดลองเครื่องสำอางผ่าน AR

    สาว ๆ ทั้งหลายอาจจะเคยถ่ายรูปตัวเองเพื่อจะลงอวดโฉมลงโซเชียล แต่คงต้องแต่งภาพให้ตัวเองสวยเป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะลงรูป โดยผ่านแอปพลิเคชั่นแต่งภาพ ที่อาจจะรู้จักอย่าง MakeupPlus AR แอปพลิเคชั่น ช่วยแต่งหน้า เปลี่ยนสีผมของเราให้ออกมาสวยยิ่งขึ้น  ด้วยระบบ AR และยังมีฟีเจอร์สำหรับทดลองเครื่องสำอางจากเคาน์เตอร์แบรนด์อย่างเช่น...

  • ยักษ์เบอร์สอง ecommerce จีนตั้งศูนย์รองรับ 2 แสนออเดอร์ต่อวัน ด้วยพนักงานแค่ 4 คน

    JD แห่งจีน สร้างศูนย์จัดการคำสั่งซื้อสินค้าแห่งใหม่ที่เซี่ยงไฮ้ รองรับคำสั่งซื้อถึง 2 แสนคำสั่งต่อวัน แต่ใช้พนักงานเพียงแค่ 4 คน

  • เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา เปิดพื้นที่ให้กับธุรกิจ SME

    ปี 2561 มีการคาดการณ์ว่า การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จะมีมูลค่ากว่า 9.2 แสนล้านบาท โดย TMB Analytics ทำให้เห็นว่าการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตขึ้นมาก พร้อมทั้งพฤติกรรมที่ผู้บริโภคชอบเปิดดูรีวิว เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นเปรียบเทียบราคา เพื่อเทียบสินค้า