ตลาด e-Payment ไทย กำลังคึกคัก โดยเฉพาะบริษัทจากประเทศจีน ทยอยเข้ามาในตลาดกันเรื่อยๆ ด้วยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์สูง WeChat เป็นอีกหนึ่งที่รุกตลาดอย่างรวดเร็ว
การเปิดบริการ WeChat Pay ในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อจับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวยังประเทศไทย โดยทาง Tencent เจ้าของ WeChat ได้ร่วมมือกับ 2 พันธมิตร ได้แก่ บริษัท แอสเซส ไบร์ท จำกัด (มหาชน) ที่ทำธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ และ Ksher ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยเริ่มวางระบบ IT การชำระสินค้าและบริการ และติดต่อร้านค้าเข้าร่วมสมาชิกเป็นอันดับแรก
คนจีนติด WeChat ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโต
หากพูดถึงแอพพลิเคชั่น WeChat คนไทยอาจจะคงคุ้นหูกันบ้าง แต่สำหรับคนจีนนั้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร สังคมออนไลน์ การเปิดร้านค้า และการจ่ายเงิน เรียกได้ว่าทุกกิจกรรมในการใช้งาน WeChat กลายเป็นองค์ประกอบของการเติบโตในธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ของจีนอย่างมาก โดยทุกครั้งที่จับมือถือจะเปิดดู WeChat เป็นอันดับแรก มากกว่า 50 ล้านครั้งต่อเดือน จึงมียอดผู้ใช้งานมากถึง 8,000 ล้านราย
แม้ว่า WeChat จะเป็นที่ได้รับความนิยมมาก แต่ไม่ใช่รายแรกในประเทศจีน ด้วยฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์คนจีนจึงสามารถมาแรงแซงทางโค้งรายอื่นๆ ไปได้อย่างไม่เห็นฝุ่น โดย WeChat ทำให้หุ้นของ Tencent มีมูลค่าตลาดมากกว่าหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่สามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาล นั่นก็คือ การที่ WeChat เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคนจีนอย่างสมบูรณ์แบบ
เซีย หลิงหยุน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการรับชำระเงินระหว่างประเทศ เทนเซนต์กรุ๊ป กล่าวว่า “มูลค่าตลาด Tencent มีมากกว่า 9 ล้านล้านบาท หรือกว่า 2 ล้านล้านเหรียญฮ่องกง โดยผลมาจากการซื้อสินค้าผ่าน WeChat ของคนจีนมีการใช้จ่ายที่สูงมาก ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งลูกค้าสามารถใช้จ่ายผ่านมือถือได้ทั่วโลก และยังช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่ร้านค้าในแต่ละประเทศเข้าถึงลูกค้าชาวจีนมากขึ้น ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 15 เปอร์เซ็นต์”
พูดได้ว่า WeChat กำลังจะเป็นเจ้าแห่งตลาดในประเทศจีน และเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนโดยแท้ ซึ่งสิ้นปี 2015 ประเทศจีนมี GDP ประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การเติบโตของเศรษฐกิจจีน แบ่งสัดส่วนจากกิจกรรมช่องทางออนไลน์ มากกว่า 3 ใน 4 ของรายได้รวม
ปี 2015 ประเทศจีนมี GDP ประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การเติบโตของเศรษฐกิจจีน แบ่งสัดส่วนจากกิจกรรมช่องทางออนไลน์ มากกว่า 3 ใน 4 ของรายได้รวม
แห่เที่ยวไทยรองรับการใช้จ่ายชาวจีน
ยิ่งอัตรานักท่องเที่ยวจีนที่นิยมเดินทางมาไทย ในปีที่ผ่านมา กว่า 8 ล้านราย มีเม็ดเงินการใช้จ่ายราว 4.2 แสนล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี 2559 จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 10 ล้านราย และมีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนล้านบาท โดยเฉลี่ยการใช้จ่ายตกอยู่ที่ 52,000 บาท ต่อคน
การเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีนจำนวนมากนั้น แม้ว่าจะสร้างผลดีต่อผู้ประกอบการของไทย แต่กลับพบปัญหา “ทัวร์ศูนย์เหรียญ” ที่ทำร้ายอุตสาหกรรมการท่องท่องเที่ยวของไทยอย่างหนักหน่วง จากพฤติกรรมของผู้ประกอบการท่องเที่ยว โดยเริ่มจากบริษัททัวร์ต้นทางจากจีนขายแพ็กเกจทัวร์ในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง คิดค่าตั๋วเครื่องบินบวกกำไรนิดหน่อย และส่งต่อนักท่องเที่ยวขายค่าหัวให้กับบริษัททัวร์ในไทย
การซื้อนักท่องเที่ยวจีนต่อมานั้น บริษัททัวร์ไทยได้ประโยชน์ในการสร้างกำไรจาก การช้อปปิ้งซื้อสินค้ากลับประเทศของคนจีน โดยมีลักษณะพาเที่ยวพร้อมกับพาแวะซื้อของฝากกับร้านค้าที่มีการตกลงกันแบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย จนกว่าจะคืนทุนค่าหัว หรือเรียกได้ว่าเป็นการหาเงินจากการขายสินค้าที่แพงกว่าปกตินั่นเอง นี่อาจส่งผลร้ายต่อการท่องเที่ยว และเป็นสิ่งที่ต้องมีการแก้ปัญหา
ด้วยปัจจัยที่นักท่องเที่ยวชาวจีนมีกำลังซื้อเป็นจำนวนมากนั้น ทำให้มีผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์จากจีน อย่าง WeChat Pay เพิ่มช่องทางการใช้จ่ายของคนจีนหมุนเวียนเงินกลับประเทศ แต่ว่าก่อนหน้านี้ การชำระเงินผ่าน WeChat Pay ในไทยยังไม่ได้ผ่านระบบของทางธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทำให้ทาง Tencent จำเป็นต้องจับมือกับพาร์ตเนอร์ในไทยอย่าง แอสเซทไบร์ท ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์และมีการจดทะเบียนอีเพย์เมนต์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ปรเมษฐ์ รังรองธานินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การร่วมมือในครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นจับตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นหลัก สาเหตุที่เขาเลือกเป็นพันธมิตร เพราะมีการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สามารถเอื้อกันได้ ซึ่งแอสเซท ไบร์ท ช่วยในการหาร้านค้า และได้ส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมที่ได้ตกลงกัน
“ในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติ หลังยื่นเอกสารเพิ่มเติมกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มใช้งานได้จริงไตรมาส 4 ของปีนี้ และยังช่วยให้ภาครัฐและกระทรวงการท่องเที่ยวควบคุมการใช้จ่ายในประเทศให้ถูกต้องมากขึ้น” ปรเมษฐ์ กล่าว
ช่องทางชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดร้านค้า
สำหรับรูปแบบวิธีการใช้งาน WeChat Pay คือ ระบบชำระเงิน ที่เชื่อมต่อกับ e-Wallet ภายในแอพพลิเคชั่น โดยฝั่งผู้ใช้จะเติมเงิน ผูกบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตเข้ากับวอลเล็ต และสามารถชำระสินค้าต่างๆ ได้ โดยเลือกร้านค้าที่ต้องการชำระ สแกนคิวอาร์โค้ด ระบบจะทำการชำระเงินโดยการหักเงินในกระเป๋าสตางค์ให้เรียบร้อย พร้อมมีข้อความแจ้งเตือนทั้งผู้ใช้บริการและร้านค้า
ในส่วนการสมัครใช้งานของร้านค้า เพียงแค่มีแอพพลิเคชั่น WeChat และมี QR Code ก็สามารถรับชำระเงินจากนักท่องเที่ยวได้ โดยที่เบื้องต้น เงินจะตัดจากกระเป๋าเงินของนักท่องเที่ยวที่ผูกกับ WeChat Pay ที่จีน จากนั้นวันรุ่งขึ้น ทางจีนก็จะโอนเงินเข้าธนาคารของผู้ขายในประเทศไทย พร้อมมีการแปลงค่าเงินเป็นเงินบาทเรียบร้อย
![]() |
ฉบับที่ 215 เดือนพฤศจิกายนเจาะตลาดข้ามประเทศด้วยระบบส่งเงิน |
นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเชื่อมร้านค้ากับลูกค้าชาวจีน สามารถติดตาแอ็กเคานต์ร้านค้า เช่น ร้านค้าทุเรียนกรอบ คนจีนสามารถจ่ายเงินผ่าน WeChat Pay ได้ เมื่อกลับประเทศจีนไปแล้ว แต่อยากกินทุเรียนกรอบอีกครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังประเทศไทย สามารถสั่งซื้อจ่ายเงินผ่านแอ็กเคานต์ร้านค้าได้ทันที ซึ่งทางร้านค้าจะมีโลจิสติกส่งสินค้าข้ามประเทศ เป็นการเปลี่ยนวิธีการซื้อขายแบบเก่าที่ซื้อครั้งเดียวจบ ลูกค้ากับร้านค้าจะมีคอนแทคกัน ในการซื้อสินค้าหรือการเปลี่ยนสินค้าได้
ปรเมษฐ์ มองว่า ตลาดอีเพย์เมนต์ในไทยตอนนี้ก็มีการแข่งขันสูง แต่ติดอยู่ที่คนไทยยังนิยมใช้ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบการใช้จ่ายผ่านมือถือของคนจีนมีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ โดยเบื้องต้น ตั้งเป้าร้านค้าที่จะร่วมใช้ WeChat Pay 100 ร้านค้า ภายในสิ้นปีนี้ และเพิ่มเป็น 5,000 ร้านค้า ในปีหน้า เน้นพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวก่อน อย่างในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา และภูเก็ต ส่วนรายได้ตั้งเป้าประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของยอดคนจีนที่เข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทย และมีผู้ใช้งาน 10 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน
ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังประเทศไทย ก็สามารถสั่งซื้อจ่ายเงินผ่านแอคเค้าท์ร้านค้าได้ทันที ทางร้านค้าจะมีโลจิสติกส่งสินค้าข้ามประเทศ เปลี่ยนวิธีการซื้อขายแบบเก่าที่ซื้อครั้งเดียวจบ ลูกค้ากับร้านค้าจะมีคอนแทคกัน
อาลีย์เพย์ คู่แข่งรายใหญ่แย่งชิงผู้ใช้งาน
ด้านฝั่งอาลีเพย์ (AliPay) ที่เข้ามาตีตลาดไทยก่อน ภายใต้บริษัท Ant Financial Services Group ในเครือ Alibaba นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการจ่ายเงินสำหรับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาไทย โดยมีการใช้งานกว่า 120 ล้านคน มีร้านค้าที่รองรับในประเทศไทยถึง 15,000 ร้าน เยอะกว่า WeChat Pay มากหลายเท่าตัว และยังสามารถชำระเงินได้หลากหลายช่องทางผ่านพันธมิตรของไทย ทั้ง 7 ราย ได้แก่ True Money, Counter Service, GHL Thailand, ธนาคารกสิกรไทย, บัตรกรุงไทย, เพย์สบาย และพระยาเปย์
นอกจากนี้ อาลีเพย์ ยังเพิ่มช่องทางให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับร้านค้า โปรโมชั่น และการเดินทางไปยังร้านค้าพร้อมช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการใช้จ่าย เป็นตัวกระตุ้นให้นักเดินทางที่ต้องการเดินทางเข้ามาในไทยสามารถเลือกค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ

ฝั่งผู้ใช้จะเติมเงิน ผูกบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตเข้ากับวอลเล็ต เลือกร้านค้าที่ต้องการชำระ สแกนคิวอาร์โค้ด
ระบบจะทำการชำระเงินโดยการหักเงินในกระเป๋าสตางค์ให้เรียบร้อย พร้อมมีข้อความแจ้งเตือนทั้งผู้ใช้บริการและร้านค้า
การเข้ามาของ WeChat Pay ทำให้ Alipay เองต้องเตรียมรับมือ เพราะทั้งคู่ต่างก็เป็นทุนใหญ่จากจีน อย่างไรก็ตาม WeChat Pay ยังคงใช้ความแข็งแกร่งด้านโซเชียลมีเดีย รวมถึงระบบโมบายล์แมสเซจจิ้งที่คนจีนนิยมใช้มากในขณะนี้ และมี Active User ทั่วโลกกว่า 400 ล้านบัญชี พร้อมต้องการแบ่งสัดส่วนผู้ใช้งานจากอาลีเพย์
นี่คือธุรกิจออนไลน์ของจีน ที่ขยายขอบเขตธุรกิจของตัวเอง ไปพร้อมกับนักท่องเที่ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงไม่ใช่เรื่องยากที่จับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน (เพราะร้านค้าพร้อมอยู่แล้ว) แม้จะยังไม่ค่อยได้รับความนิยมสำหรับคนไทย แต่อีกไม่นานจะเข้ามามีผลต่อชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้