Som Kob Kit นักสร้างเว็บฯ จากธุรกิจเกม

อรณิช ว่องบุลากร ฟรีแลนซ์ผู้รับพัฒนาเว็บไซต์

อรณิช ว่องบุลากร ฟรีแลนซ์ผู้รับพัฒนาเว็บไซต์

ผู้พัฒนาเว็บไซต์ในสายฟรีแลนซ์ พร้อมกับจุดเด่นในการเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ด้วยการเสนอทางเลือก ช่วยลดปัญหา แก้ปัญหาหรือนำเสนอวิธีการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้มากกว่าเดิม

สู่บทบาทนักพัฒนาเว็บฯ อย่างเต็มตัว
อรณิช ว่องบุลากร ฟรีแลนซ์ผู้รับพัฒนาเว็บไซต์ เล่าว่า สำหรับชื่อของ Som Kob Kit (สม คบ คิด) จะเป็นชื่อของทีมที่เวลารับงานจากลูกค้า โดยจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ เกิดจากได้เริ่มเข้าทำงานในบริษัท เอเชียซอฟท์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เรียนจบใหม่ ในตำแหน่ง Flash Developer พัฒนาเกมหรือแอพพลิเคชั่น เพื่อใช้ในการโปรโมตเกมออนไลน์ แคมเปญสนับสนุนทางการตลาด Rich Media Banner บนเว็บไซต์ รวมไปถึงระบบ Player บนเว็บไซต์ของ Playpark จนทำให้เกิดการพัฒนาตัวเอง ตั้งแต่การได้เริ่มพัฒนาระบบ Streaming สำหรับการแข่งขันเกมออนไลน์ หรือการพัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่น รวมไปถึงการได้ทำระบบ Pre-Register บนเว็บไซต์ และทำให้ตนเองได้เข้ามาเป็น Web Developer อย่างเต็มตัว

เนื่องจากเทคโนโลยีของ Flash เริ่มไม่ตอบสนองกับการใช้งานแบบเว็บไซต์เหมือนอย่างเคย และระบบ Streaming ต่างๆ ก็มีผู้ให้บริการที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว เลยทำให้ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ จนในที่สุดก็ได้ก้าวเข้ามาในบทบาทของ Web Developer อย่างจริงจัง

นำเสนอเทคโนโลยีให้ตรงตามวัตถุประสงค์
อรณิช เล่าต่ออีกว่า สำหรับเครื่องมือที่ใช้ก่อนการพัฒนาเว็บไซต์จะเป็นเครื่องมือสำหรับออกแบบการใช้งาน เช่น เครื่องมือที่ใช้ออกแบบ Prototype ซึ่งนักพัฒนาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในความต้องการของลูกค้า และมีการประชุมคุยงานกันระหว่างลูกค้า นักออกแบบ และนักพัฒนา เพื่อเริ่มต้นออกแบบ วางแผนกำหนดการพัฒนา กำหนดการสำหรับทดสอบระบบหรือเว็บไซต์ และวิเคราะห์เกี่ยวกับ UI/UX ทั้งหมด ต่อจากนั้นจึงเริ่มสรุป Flow ทั้งหมด ออกแบบวางเป็น Prototype และชี้แจงให้ลูกค้ารับทราบถึงข้อจำกัด หรือข้อดี ข้อเสีย เพราะในบางครั้งบางเทคโนโลยีที่นำมาใช้อาจจะตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง แต่อาจจะมีข้อเสียหรือข้อจำกัดบางอย่าง นักพัฒนาเองจึงต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบ รวมไปถึงเสนอทางเลือกเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจก่อนการพัฒนาจริง ซึ่งจะได้ลดปัญหาและขั้นตอนในการแก้งานซ้ำไปซ้ำมาได้

2

ผลงานที่ชื่นชอบมากที่สุด จะเป็นระบบหลังบ้านสำหรับจัดการหน้าเว็บไซต์ Pre-Register เกมออนไลน์ที่พัฒนาเอง ก่อนที่จะพัฒนาระบบนี้ ได้พัฒนาเว็บไซต์ Pre-Register มาหลายตัว

แม้ในบางครั้งที่นักพัฒนาเว็บไซต์ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแก้งานของลูกค้าได้ เราจึงจำเป็นต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงข้อจำกัดของเราด้วย เช่น หากมีการแก้ไขจะแก้ไขส่วนใดได้บ้าง หรืออาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาเพิ่ม เป็นต้น หลังจากที่เราได้สรุปรายละเอียดต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น นักออกแบบและนักพัฒนาจะต้องช่วยกันออกแบบ Mock-up เพื่อทดสอบการใช้งานก่อนการพัฒนา ทั้งนี้ เพื่อทดสอบการใช้งานของลูกค้าว่าเป็นไปตามต้องการหรือไม่ และลดปัญหาการพัฒนางานไม่ตรงความต้องการของลูกค้าเอง

และในกรณีลูกค้าไม่มีไอเดียอะไรเลย เราก็จะใช้วิธีสอบถามลูกค้าถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการ พร้อมนำเสนอรูปแบบการใช้งาน หรือนำเสนอเทคโนโลยีที่คิดว่าน่าจะตรงตามวัตถุประสงค์ของลูกค้าให้พิจารณา เพราะในบางครั้งลูกค้าอาจจะไม่ได้อยู่ในสายงานไอที จึงไม่ได้ทราบเรื่องเทคโนโลยีมากนัก ซึ่งเราสามารถสอบถามวัตถุประสงค์ทางการตลาดหรือแคมเปญที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงปัญหาที่ลูกค้ามี และช่วยกันระดมสมองเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดในแง่ของเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ได้นั่นเอง

ใส่ใจรายละเอียดในทุกๆ ชิ้นงาน
อรณิช กล่าวด้วยว่า จากผลงานที่ได้พัฒนามาส่วนใหญ่ก็จะชื่นชอบในทุกๆ ผลงาน เพราะเวลาที่ทำงานทุกชิ้นจะใส่ทั้งความคิด ไอเดีย และข้อเสนอแนะที่ดีลงไปในงานด้วยเสมอ แต่ผลงานที่มีความชื่นชอบมากที่สุด จะเป็นระบบหลังบ้านสำหรับจัดการหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเป็นระบบ Pre-Register เกมออนไลน์ ที่พัฒนาเองโดยใช้ Codeigniter เพราะก่อนที่จะพัฒนาระบบหลังบ้านนี้ ได้พัฒนาเว็บไซต์ Pre-Register มาหลายตัว และเกิดปัญหาค่อนข้างมาก เช่น Requirement มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากลูกค้าอยู่เสมอ การพัฒนาต้องใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 7-20 วัน ตามแต่ Requirement ที่ได้รับ และระบบที่พัฒนานั้นจำเป็นต้องรองรับกับหลายประเทศในอาเซียน ซึ่งระบบที่ได้พัฒนามานี้ก็ได้ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยที่ลูกค้าสามารถเข้าไปแก้ไขรายละเอียดบนหน้าเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง และใช้ระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที ก็สามารถขึ้นระบบได้ทันที ลดการทำงานของคนในองค์กรได้มาก และสามารถรองรับกับหลายประเทศได้ในเวลาเดียวกัน

ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม

ใช้ App ช่วยสังคม ลดช่องว่างคนที่ลำบาก

อีกหนึ่งผลงานที่ชื่นชอบไม่แพ้กัน คือเป็นการพัฒนาเกมโดยใช้ Flash ในการพัฒนา เพื่อสนับสนุนเกมออนไลน์ตัวหนึ่ง โดยได้พัฒนาและออกแบบให้เป็นเกมแข่งกันปั้มลูกโป่งแบบ Single Player โดยผู้เล่นจะแข่งปั้มลูกโป่งกับตัว AI ที่เราได้ออกแบบสุ่มให้มี 3 ระดับ คือ ง่าย ปานกลาง และยากที่สุด อยู่ที่ระบบจะสุ่มให้เจอ AI แบบไหน และสุดท้ายจะมีการแข่งลำดับกับคนอื่นๆ ที่ร่วมเล่นด้วย ซึ่งตอนนั้นเกมประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะเกม Facebook เองก็เพิ่งมีให้บริการ โดยที่เราได้มีโอกาสพัฒนาและช่วยกันระดมไอเดียกับทีมการตลาดและใส่ความสนุกเข้าไปในเกม จนมีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นความภาคภูมิใจในงาน Developer เลยก็ว่าได้ ที่พัฒนาแล้วมีคนชื่นชอบ และเล่นมากมายขนาดนี้

ไม่หยุดอยู่กับที่ เพื่อรับมือกับความท้าทาย
ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจที่ทำอยู่นั้น หากในมุมมองของผู้พัฒนาเองคิดว่า ยังมีเรื่องท้าทาย หรือเรื่องสนุกให้ต้องพัฒนาอีกเยอะมากในวงการเกม ในธุรกิจเกมเองก็มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เกมออนไลน์บน PC จนกระทั้งตอนนี้ผู้เล่นก็มีพฤติกรรมการเล่นเปลี่ยนแปลงไปเป็นโมบายล์ ตลาดของธุรกิจนี้ยังไปได้อีกไกล เพราะมีสิ่งใหม่ๆ สิ่งท้าทายให้กับผู้ใช้อยู่เสมอ และการที่นักพัฒนาทั้งหลายจะสามารถตอบโจทย์ให้ลูกค้าได้ก็คือ ต้องไม่อยู่กับที่ ต้องศึกษาหาข้อมูลอยู่เสมอ ในบางครั้งต้องเรียนรู้ภาษาที่ตัวเองไม่เคยได้ยินเลยซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

3

ในทุกๆ ปีวงการนักพัฒนาเว็บไซต์เองก็จะมีผู้ให้บริการหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ชื่อแปลกๆ มาให้ได้รู้จักกัน โดยปัจจุบันเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะเน้นให้เว็บไซต์แสดงผลได้รวดเร็วขึ้น สามารถทำงานได้พร้อมกันทีละหลายๆ คำสั่งโดยที่ไม่ทำให้ Server ทำงานหนัก และรองรับผู้ใช้ได้ในจำนวนมากขึ้น ตอบสนองได้เร็วขึ้น

ทำงานด้วยใจรักและความขยันอดทน
อรณิช ได้ทิ้งท้ายด้วยว่า ปัจจุบันมีนักพัฒนาเว็บไซต์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นงานที่ยาก น่าเบื่อ และทำได้ไม่นานก็ล้มเลิกไป น้อยนักที่จะสามารถเป็นนักพัฒนาได้นาน แม้แต่นักเรียน นักศึกษาบางคนเองก็จะคิดว่าการพัฒนาเว็บไซต์เป็นเรื่องยาก สังเกตได้จากตอนที่ตนเองเรียนแล้วเพื่อนมักนำงานมาให้ช่วยอยู่เสมอ ซึ่งถ้าหากใครที่คิดอยากจะเป็นนักพัฒนาแล้วละก็ ต้องบอกเลยว่าจะต้องมีความรักในงาน มีความอดทน มีความขยันในการศึกษาหาความรู้ มีความคิดเป็นขั้นเป็นตอนเสมอ รวมไปถึงจะต้องไม่รอคอยสิ่งที่สำเร็จรูปไปทั้งหมดทุกอย่าง

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17
ทีมนักศึกษาพัฒนา ระบบให้บริการใช้ไฟฟ้าในร้านกาแฟ ผ่านแอปพลิเคชั่น

งาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย (Thailand IT Contest Festival)” ครั้งที่ 17...