Fictionlog เขียน-อ่านนวนิยายออนไลน์ ด้วยระบบเติมเหรียญ

เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์ ซีอีโอ ฟิกชั่นล็อก

เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์ ซีอีโอ ฟิกชั่นล็อก

นักเขียนทุกวันนี้อาจจะชินกับการเขียนฟรีหรือได้เงินไม่มากนัก ทำให้นักเขียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเลี้ยงชีพกับงานเขียนได้ แต่เมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ช่วยลดอำนาจของคนกลางลง ซึ่งนักเขียนสามารถสร้างคอนเทนต์ให้กับนักอ่านได้ด้วยตนเอง โดยผ่านแพลตฟอร์มของ Fictionlog ช่องทางที่ช่วยให้นักเขียนมีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ นักอ่านก็มีโอกาสเข้าถึงนวนิยายดีๆ ได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

พื้นที่สำหรับนักเขียน สร้างคอนเทนต์เองได้ในยุค UGC
เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์ ซีอีโอ ฟิกชั่นล็อก กล่าวถึงการตัดสินใจขยายจาก StoryLog พื้นที่แบ่งปันเรื่องราวทางความคิด สู่ตลาดนวนิยายจากการที่นักเขียนหลายคนเจอกับปัญหาไม่มีพื้นที่ออนไลน์ในการลงงานเขียน หรือที่มีอยู่ในตลาดก็ไม่ตรงกลับกลุ่มเป้าหมายมากนักและได้ค่าตอบแทนน้อย จึงเห็นโอกาสขยายเป็นเว็บไซต์ Fictionlog พื้นที่เขียนและอ่านนวนิยาย เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้กลุ่มนักเขียนได้สร้างสรรค์ผลงาน และยังสามารถช่วยสนับสนุน Ecosystem ของอุตสาหกรรมหนังสือด้วยshow3

ในอดีตหากใครอยากเขียนหนังสือต้องผ่านสำนักพิมพ์เท่านั้น แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ช่วยลดอำนาจของคนกลางและสื่อกลาง โดยสามารถลงผลงานผ่าน Fictionlog ได้ทันทีไม่ต้องผ่านคนคัดกรอง ทำให้คนสร้างคอนเทนต์และคนเสพคอนเทนต์มาพบกันโดยตรง เชื่อว่าอีกไม่นานนักอ่านก็จะชินกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือจอทัชสกรีนมากขึ้น ส่วนผู้เขียนก็จะยึดติดกับแพลตฟอร์มในรูปแบบของกระดาษลดลง

“ปัจจุบันนวนิยายดังๆ หลายเรื่องก็เริ่มมาจากผู้เขียนแต่งเองลงเองบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งพบว่าผู้เขียน 2 ใน 3 เป็นคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่ใช่นักเขียนอาชีพ บางเรื่องโด่งดังถึงขนาดถูกหยิบมาทำเป็นภาพยนตร์ก็มี อย่างเช่น The Martian จากนวนิยายออนไลน์ ขยายไปสู่การตีพิมพ์เป็นหนังสือ จนถูกหยิบไปสร้างเป็นหนัง ทำให้นักเขียนมีรายได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น” เปรมวิชช์ ยกตัวอย่างอธิบาย

show5ยิ่งเวลานี้ เราอยู่ในยุคของ UGC (User Generated Content) ที่ทุกคนเป็นผู้สร้างคอนเทนต์เองได้ และสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะไม่มีใครมาผูกขาดรสนิยมอีกต่อไป อีกทั้งสามารถเขียนอะไรก็ได้ที่อยากเขียน โดยจะได้รับการคัดกรองจากสาธารณชนว่าผลงานของผู้เขียนนั้นดีจริงหรือไม่

เปรมวิชช์ ยังบอกอีกว่า สถิติตลาด E-book ในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2014 พบว่า มีหนังสือ Self-published ที่นักเขียนขายเอง โดยไม่ผ่านตัวกลางถึง 31 เปอร์เซ็นต์ และยอดขายทั้งหมดใน Kindle 40 เปอร์เซ็นต์ ก็มาจากหนังสือเขียนเองขายเอง สะท้อนให้เห็นว่าเป็นยุคโอกาสของนักเขียนที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้ ซึ่ง Fictionlog จะมาช่วยเสริมในจุดนี้ได้อย่างดีเยี่ยม

ฉบับที่ 213 เดือนกันยายน

Life of Angel & Venture Capital เส้นทางที่ไกลกว่าเงินทุน

ผู้ขายตั้งราคาขายเองได้ ส่วนแบ่งสูง ซื้ออ่านผ่านระบบเติมเหรียญ
นอกเหนือจากการสร้างพื้นที่ให้กับนักเขียนแล้ว Fictionlog ยังช่วยสร้างรายได้โดยให้นักอ่านสามารถเข้ามาสนับสนุนผลงานของนักเขียนได้โดยตรง ที่จะมีการอัพเดตเนื้อหาแบบบทต่อบท โดยไม่ต้องรอให้เขียนจบเล่ม และนักเขียนสามารถตั้งราคาขายเองได้ตั้งแต่ 300 เหรียญทอง ถึง 900 เหรียญทอง (ประมาณ 3-9 บาทต่อบท) พร้อมได้รับผลตอบแทนส่วนแบ่งถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้มากกว่าการตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ที่ได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายเท่านั้นshow1

“จุดยืนของ Fictionlog คือนักเขียนต้องได้รับส่วนแบ่งที่มากขึ้น นักอ่านจ่ายในราคาที่น้อยลง ในเรื่องของลิขสิทธิ์ Fictionlog จะไม่ถือครองสิทธิ์ใดๆ ในงานเขียน ผลงานทุกชิ้นจะเป็นลิขสิทธิ์ของนักเขียน 100 เปอร์เซ็นต์ สำนักพิมพ์ต่างๆ สามารถเข้ามาเลือกนวนิยายที่ถูกใจ หรือติดต่อกับนักเขียนโดยตรงเพื่อตีพิมพ์ได้เลย เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย” เปรมวิชช์ กล่าวเสริม

ในส่วนของนักอ่าน บทแรกของหนังสือทุกเล่มจะเปิดให้อ่านได้ฟรี เพื่อเป็นการทดลองก่อนตัดสินใจซื้อเหรียญในการอ่าน ในส่วนบทที่ 2 ถึงบทที่ 5 สามารถใช้เหรียญเงินมาแลกอ่าน โดยระบบจะแจกเหรียญเงินให้ฟรีทุก 12 ชั่วโมง ที่เข้าใช้งาน จนเข้าสู่บทที่ 6 ผู้อ่านจะต้องใช้เหรียญทองซื้อจากการเติมเงิน โดยเหรียญทอง 100 เหรียญ มีค่าเท่ากับ 1 บาท ซึ่งมีลักษณะการซื้อเหรียญคล้ายกับการซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์

show4สามารถโต้ตอบระหว่างนักเขียนและนักอ่าน พร้อมข้อมูลวัดกลุ่มเป้าหมาย
ทั้งนี้ สิ่งที่นักเขียนอยากรู้มากที่สุดคือ Feedback จากนักอ่านที่เมื่อก่อนไม่สามารถทำได้ และไม่รู้ว่าผลตอบรับเป็นอย่างไร ซึ่ง Fictionlog มีพื้นที่ให้นักอ่านแสดงความคิดเห็นได้ทันที เกิดการโต้ตอบแบบ ทูเวย์คอมมูนิเคชั่น เป็นมิติใหม่ของนวนิยายที่นักอ่านมีส่วนร่วมในงานได้ด้วย ทำให้นักเขียนสามารถนำไปปรับปรุงหรือแก้ไขในบทต่อไปได้

“ด้วยระบบของเรา นักเขียนยังสามารถดูได้ถึงขนาดว่า กลุ่มนักอ่านของเขาเป็นใคร ชายกี่เปอร์เซ็นต์ หญิงกี่เปอร์เซ็นต์ อายุประมาณเท่าไร วันไหนมีคนอ่านเยอะ วันไหนคนซื้อเยอะ ดูได้หมด ซึ่งตรงนี้จะช่วยนักเขียนวัดกลุ่มเป้าหมายได้ถูกทาง” เปรมวิชช์ กล่าวเพิ่มเติม

show6นอกจากนี้ ภายในเว็บไซต์ยังเปิดตัวผลงานนวนิยายทั้ง 17 เรื่อง จากนักเขียนที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน เช่น วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล กับผลงาน “เถื่อนแปด”, เกรียงไกร วชิรธรรมพร กับผลงาน “กานต์รัก” และ วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ กับผลงาน “วินาทีไร้น้ำหนัก” เป็นต้น และยังเปิดให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ทั้งระบบไอโอเอสและแอนดรอยด์

ถือได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งโอกาสของตลาดนวนิยายไทย และสิ่งที่สำคัญไปกว่าเรื่องเงินคือ การสร้างคอนเทนต์ที่ดี ซึ่งเปรียบเสมือนน้ำที่ถูกกลั่นกรองไหลลงสู่ภาชนะ แม้วันนี้อาจจะถูกเปลี่ยนรูปแบบบรรจุจากกระดาษ สู่แพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่าง Fictionlog คอนเทนต์ก็ยังคงมีคุณค่าในตัวเองเสมอ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับนักเขียนในยุคดิจิทัล ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะกลายเป็นชุมชนสร้างสรรค์ผลงานเขียนที่หลากหลาย และสร้างอาชีพให้แก่ผู้คนได้ไม่น้อย

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17
ทีมนักศึกษาพัฒนา ระบบให้บริการใช้ไฟฟ้าในร้านกาแฟ ผ่านแอปพลิเคชั่น

งาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย (Thailand IT Contest Festival)” ครั้งที่ 17...