Finis อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ตอบโจทย์มุสลิม

ตัสนีม สันหรน

ตัสนีม สันหรน

เมื่อการธุรกรรมในศาสนาอิสลามห้ามคิดดอกเบี้ย อีกทั้งยังมีความไม่สะดวกในการทำธุรกกรรมที่สาขา Finis พัฒนาแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งฮาลาล เพื่อเชื่อมต่อสหกรณ์อิสลามกับธนาคารพาณิชย์ ให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ถือเป็นสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่มองเห็นและเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง กับการนำความน่าเชื่อถือของระบบฮาลาล ที่ต้องอาศัยความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการมาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ฮาลาลรายแรกในประเทศไทย เชื่อมต่อสหกรณ์อิสลามกับธนาคารพาณิชย์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมการเงินได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม จนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากโครงการ Krungsri Uni Startup 2016 มาครองได้

โรสมาริน ฮามะ,

โรสมาริน ฮามะ

อินเทอร์เน็ตแบงกิ้งฮาลาลเชื่อมต่อสหกรณ์-ธนาคาร
ด้วยจุดเริ่มต้นที่อยากจะเป็นสตาร์ทอัพของ ตัสนีม สันหรน จึงได้ชักชวน โรสมาริน ฮามะ และธีระกฤษ พร้อมมูล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสู่โครงการ Krungsri Uni Startup 2016 ซึ่งเป็นการประกวดไอเดียในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางการเงิน และกลยุทธ์ทางการตลาด และเมื่อผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย และกิจกรรม Bootcamp ทั้ง 3 คนได้นำเสนอไอเดียสร้างแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งฮาลาล จนคว้าแชมป์มาครองในรอบ Final

ธีระกฤษ พร้อมมูล

ธีระกฤษ พร้อมมูล

“เราพยายามหาจุดแตกต่าง เพื่อนำมาเป็นไอเดียในการพัฒนาบริการใหม่ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น จนเราพบว่า ยังไม่มีฟินเทคที่เกี่ยวกับมุสลิมเลย ขณะที่การทำธุรกรรมในสหกรณ์อิสลาม จะต้องเดินทางไปที่สหกรณ์เพียงอย่างเดียว เนื่องจากไม่มีตู้เอทีเอ็ม เช่น ฝากเงินไว้ที่สหกรณ์อิสลามหาดใหญ่ ก็จะต้องเดินทางไปฝาก-ถอนเงินที่สาขา เราจึงต้องการพัฒนาอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งฮาลาล เพื่อให้สหกรณ์อิสลามมีช่องทางมากขึ้น ตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าในยุคดิจิทัล ซึ่งเชื่อว่าหากผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมได้ด้วยตนเอง จะทำให้ลูกค้าสหกรณ์เพิ่มมากขึ้น” ตัสนีม กล่าว

สำหรับการใช้งานของแอพฯ Finis มีขั้นตอนการทำงาน และการทำรายการที่เหมือนกับอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปคือ ใส่เลขบัตรประชาชน เลขที่บัญชี แต่ส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือ หน้าลิงก์บัญชี สำหรับการผูกบัญชีสหกรณ์อิสลามเข้ากับธนาคารพาณิชย์ เพื่อเลือกสหกรณ์ที่ผู้ใช้เปิดบัญชีไว้ ซึ่งปัจจุบันสหกรณ์อิสลามในไทยมีประมาณ 30 แห่ง

3-2
3

ตลาด มุสลิม หรือตลาดฮาลาลต่างๆ เรารู้สึกว่าแท้จริงแล้วเป็นการแข่งขันในเรื่องของความเชื่อใจ ซึ่งอย่าง Paypal เรามองว่ายังไม่สามารถให้ความไว้วางใจกับชาวมุสลิมได้

สร้างความไว้วางใจถูกต้องตามหลักศาสนา
ในการทำธุรกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม จะห้ามกินดอกเบี้ย เนื่องจากมองว่าเป็นการเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่ฝากเงินกับสหกรณ์อิสลาม ผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล หรือในรูปแบบของผู้ถือหุ้น

ส่วนการขอสินเชื่อ จะเป็นกรณีที่ต้องการซื้อสินค้า เช่น ต้องซื้อโทรศัพท์มือถือ ก็จะไปขอสินเชื่อ โดยจะต้องผ่อนชำระให้กับธนาคารในราคาที่สูงกว่าราคาจริง อีกทั้งผู้กู้จะต้องชำระเงินให้ตรงเวลา ไม่เช่นนั้นจะทำให้เสียเครดิต และส่งผลให้การขอสินเชื่อครั้งต่อไปยาก แต่จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยว่า ชำระเงินช้าแล้วจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าไร ทำให้ชาวมุสลิมที่ฝากเงินกับสหกรณ์อิสลามต้องพยายามรักษาเครดิต เพื่อที่จะขอสินเชื่อในครั้งต่อๆ ไปได้ง่ายขึ้น

ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม

ใช้ App ช่วยสังคม ลดช่องว่างคนที่ลำบาก

“นี่คือความแตกต่างของการฝากเงินที่สหกรณ์อิสลามกับธนาคารพาณิชย์ ที่มีเรื่องของดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเมื่อมุสลิมฝากเงินที่ธนาคารพาณิชย์แล้วได้รับดอกเบี้ย จะต้องหักดอกเบี้ยส่วนนั้น เพื่อนำไปบริจาคให้กับสาธารณะ เช่น นำไปบริจาคเพื่อสร้างอาคาร สร้างถนน เป็นต้น ทำให้เรารู้สึกว่า ศาสนาเลี่ยงเรื่องดอกเบี้ยตั้งแต่แรก แต่ไม่ได้บอกว่าคุณได้ดอกเบี้ยแล้วจะต้องนำไปบริจาค ทำให้เรารู้สึกว่า เมื่อสหกรณ์อิสลามดำเนินการถูกต้องตามหลักของศาสนาอิสลามตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่ติดขัดเรื่องความไม่สะดวกเรื่องตู้เอทีเอ็ม และการเดินทางไปยังสาขาสหกรณ์ บริการนี้จะช่วยให้สหกรณ์อิสลามเติบโตขึ้น และมีช่องทางที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่สำคัญคือ ได้รับความไว้วางใจจากชาวมุสลิมอีกด้วย” ตัสนีม กล่าว

เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง

“เราเป็นลูกค้าของสหกรณ์อิสลามเอง เรารู้อยู่แล้วว่าเราต้องการอะไร ไม่สะดวกตรงไหน หรืออยากได้อะไร ซึ่งเรารู้สึกว่าในตลาดมุสลิม เราเข้าใจลูกค้ามากที่สุดแล้ว ขณะเดียวกันในความเป็นจริงแล้วตลาดมุสลิม หรือตลาดฮาลาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร สถานที่ที่เกี่ยวข้อง ทุกธุรกิจเหล่านี้จะต้องมีเจ้าของเป็นมุสลิม ชาวมุสลิมจึงจะเชื่อมั่น ให้ความไว้วางใจ และใช้บริการ ทำให้เรารู้สึกว่าแท้จริงแล้วเป็นการแข่งขันในเรื่องของความเชื่อใจ ซึ่งอย่าง Paypal เรามองว่ายังไม่สามารถให้ความไว้วางใจกับชาวมุสลิมได้ จุดนี้เป็นสิ่งที่เราแข็งแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ จนสามารถชนะได้” ตัสนีม กล่าว

c4
c2

ตลาดมุสลิมเติบโตต่อเนื่อง มองโอกาสขยายสู่ตลาดอาเซียน
โรสมาริน กล่าวต่อว่า ตลาดมุสลิมมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีชาวมุสลิมทั่วโลกจำนวนกว่า 1,600 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2563 ประชากรมุสลิมจะมีจำนวนถึง 2,200 ล้านคน ซึ่งนับเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ขณะที่ในประเทศไทย มีชาวมุสลิมประมาณ 8-10 ล้านคน ซึ่งแม้ว่าจะมีจำนวนไม่มากนัก แต่จะเห็นว่าอัตราของชาวมุสลิมมีการเติบโตที่ดี

1

เราพบว่า ยังไม่มีฟินเทคที่เกี่ยวกับมุสลิมเลย ขณะที่การทำธุรกรรมในสหกรณ์อิสลาม จะต้องเดินทางไปที่สหกรณ์เพียงอย่างเดียว เราจึงต้องการพัฒนาอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งฮาลาล

“สำหรับในไทย ที่แม้จะมีจำนวนชาวมุสลิมไม่มาก แต่ตลาดนี้แข่งขันกันที่ความเชื่อใจ และความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากเราสามารถสร้างจุดเด่นนี้ให้แข็งแรงได้ เชื่อว่าในอนาคตนอกจากการให้บริการในไทยแล้ว ยังสามารถขยายตลาดออกไปยังประเทศ อื่นๆ ในอาเซียนได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น ประเทศมาเลเซีย บรูไน หรืออินโดนีเซีย หรือประเทศเลบานอน นอกจากนี้จากการได้คุยกับทางสหกรณ์อิสลาม มองว่าหากเราสามารถพัฒนาแอพฯ ออกมาได้สำเร็จ อาจจะสามารถขยายตลาดไปทางฝั่งตะวันออกกลาง ได้อีกด้วย” ตัสนีม กล่าวทิ้งท้าย

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ธนาคารกรุงเทพรับสมัครสตาร์ตอัพ เข้าโครงการ Bangkok Bank InnoHub Season 2

ธนาคารกรุงเทพร่วมกับบริษัท Nest ที่มากด้วยประสบการณ์ด้านสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค ค้นหาธุรกิจสตาร์ทอัพ 5 กลุ่ม …