Mobile อินเทอร์เน็ตเพื่อเกษตรกร สร้าง Smart Consumers แก่สังคม

2-3 ปีที่ผ่านมา ดีแทคมุ่งสร้างกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ด้วยกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนคือ Internet for All กลยุทธ์นี้ ทำให้เกิดโครงการมากมายหลายอย่างที่ส่งผลตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ในสังคมไทย

บทบาทใหม่ในการสื่อสาร

อรอุมา วัฒนะสุข ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า บทบาทของฝ่ายสื่อสารองค์กรจะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยการจัดกิจกรรม CSR ที่ไม่ใช่แค่นำผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือที่มีอยู่ไปช่วยเหลือสังคมเท่านั้น แต่จะเริ่มทำ CSR ในรูปแบบ CSV (Creating Share Value) ระหว่างองค์กรและสังคมมากขึ้น

“มีคนพูดไว้ว่าโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์เล็กๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน โทรศัพท์มือถือนำความเจริญไปทุกทีและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมคนในสังคมโดยแท้จริง” อรอุมา กล่าว

จากสถิติพบว่า เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถช่วยสร้าง Productivity เพิ่มขึ้น 3-10 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มธุรกิจใหม่อีก 1 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเราไปสอนคนใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 100 คน มีการใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น 16 คน จะช่วยเพิ่มจีดีพี 1.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก และนี้จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ดีแทคได้ใช้คำว่า Internet for All ในการวางเป็นวิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจ

นอกจากนี้ ดีแทคมีความต้องการที่จะสร้างโอกาสให้คนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในทุกด้าน ทุกสาขาอาชีพ โดยมีการตั้งเป้าหมายของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้เพิ่มขึ้นประมาณ 80 เปอร์เซ็นท์ ภายในปี พ.ศ.2560 ภายใต้กลยุทธ์ Internet for All ให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาล อันเป็นกลไกสำคัญที่สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีเสถียรภาพและ ยั่งยืน

นำอินเทอร์เน็ตเพิ่มคุณค่าให้สังคม
อรอุมา กล่าวว่า ต่อไปการดำเนินงานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและส่วนงาน CSR จะใช้กลยุทธ์เดียวกัน โดยทุกฝ่ายต้องมองว่า อินเทอร์เน็ตไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยสำหรับคนเมืองและเด็กเล่นเกมอีกต่อไป แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นอาวุธต่อยอดในการทำธุรกิจ รวมถึงให้คนไทยทุกคนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ซึ่งลักษณะการผลักดันการทำงานด้านนี้จะเรียกว่า การนำอินเทอร์เน็ตที่เป็นบริการของแบรนด์ที่เข้ามาร่วมด้วยกับกิจกรรม CSR

อรอุมา วัฒนะสุข

อรอุมา วัฒนะสุข ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์

อินเทอร์เน็ตไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยสำหรับคนเมืองและเด็กเล่นเกมอีกต่อไป แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นอาวุธต่อยอดในการทำธุรกิจ รวมถึงให้คนไทยทุกคนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้

โดยเวลาดำเนินงานด้าน CSR จะเน้น 2 ด้าน คือ 1. ทำอย่างไรจะนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับโมบายล์อินเทอร์เน็ตมาก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดกับชุมชน 2. ทำอย่างไรให้ดีแทคสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน เช่น ทุกกิจกรรมของดีแทคจะต้องไม่สร้างผลกระทบต่อคนและสังคม อาทิ ถ้าพบว่าบริษัทคู่ค้าของเรามีการใช้แรงงานเด็กเกิดขึ้นจะทำการยกเลิกสัญญา ทันที เป็นต้น

 

เกษตรกรต้องสมาร์ท
อรอุมา กล่าวต่อว่า โครงการแรกที่ทำสร้างขึ้นคือ Smart Famer ที่ร่วมกับมูลนิธิรักบ้านเกิด ซึ่ง Smart Famer ถือเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืนคือ การเข้าไปแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ โดยยกระดับประสิทธิภาพการผลิตหรือเพิ่มผลผลิต จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านวิธีการพัฒนา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ตัวเกษตรกร ทำให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการเกษตรมา ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากจุดเริ่มต้นได้เปิดให้บริการ SMS ในการรายงานการซื้อ-ขายสินค้าทางการเกษตรแก่เกษตรกร ซึ่งเรามีฐานลูกค้าเดิมมากกว่า 2.5 แสนคน ในการใช้บริการ SMS แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาใช้สมาร์ทโฟนและโมบายล์อินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น จึงปรับเปลี่ยนมาสื่อสารบนแอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์มแทน

โดยหัวข้อหลักของแอพพลิเคชั่นจะประกอบไปด้วย ราคารับซื้อ ราคาตลาดสด ข่าวสาร เกร็ดความรู้ และคลัง SMS โดยข้อมูลทั้งหมด ตรวจสอบ และเปรียบเทียบราคาสินค้าจาก 6 ตลาดหลักของคนกรุง (ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดสามย่าน ตลาดบางกะปิ ตลาดเยาวราช และตลาดคลองเตย)

อรอุมา เผยว่า อุปสรรคสำคัญในโครงการนี้คือ เมื่อเวลาลงพื้นที่ไปสอนเกษตรกรใช้อินเทอร์เน็ต เกษตรกรจะปฏิเสธก่อนเพราะคิดว่าจะไปสอนเล่นเกมหรือใช้แอพพลิเคชั่นอะไรที่ยุ่งยาก ดังนั้น ทีมงานจึงต้องใช้เวลาในการอธิยายให้เข้าใจถึงการนำอินเทอร์เน็ตไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าที่คิด เช่น ถ้าลุงปลูกข้าวและสามารถรู้ว่าจะนำข้าวไปขายที่ตลาดไหนได้ราคาดีที่สุด โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าน้ำมันขับรถไปสอบถามทีละตลาดช่วยประหยัดน้ำมันและเวลา เป็นต้น

หลังจากเกษตรกรเข้าใจถึงประโยชน์ของแอพฯ นี้ ปรากฏว่ากลายเป็นฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมในการเข้ามาใช้งานมากที่สุด เนื่องจากแอพฯ ได้เพิ่มโอกาสให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ทุกวันจากแหล่งรับซื้อทั่วประเทศ ก่อนนำไปขายเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด

 

ค้าขายอย่างยั่งยืน
อรอุมา กล่าวต่อว่า โครงการต่อมาที่ดีแทค จับมือ รักบ้านเกิด และได้ประกาศพันธกิจเมื่อปี 2557 คือ การมุ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงให้ผู้ผลิต ตลาด และผู้บริโภคซื้อ-ขายกันผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เพื่อลดต้นทุนพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยนำเทคโนโลยี 3G เข้ามาใช้ในระบบการตลาดและระบบการเงินในชีวิตประจำวัน

โดยเว็บไซต์ รักบ้านเกิด ดอท คอม เป็นเว็บไซต์กลางในการซื้อ-ขายสินค้า ซึ่งปีนี้จะเน้นเรื่องการซื้อ-ขายออนไลน์ระหว่างคนไทยกับทั่วโลกแบบไม่คิดค่าสมาชิก มุ่งเป็นศูนย์กลางในการเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับเกษตรกร นอกเหนือจากการดูสินค้าราคาเกษตรและนำไปวางขายในตลาดต่างๆ ผ่านแอพฯ Farmer Infor

เว็บไซต์ รักบ้านเกิด ดอท คอม สามารถให้เกษตรกรโพสต์รูปสินค้าและราคาขายด้วยตัวเองขึ้นบนเว็บไซต์ โดยลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินได้หลากหลายรูปแบบผ่านบริการของ PaySbuy ซึ่งจะทำการเคลียร์ยอดการชำระเงินส่งไปให้เกษตรกรเจ้าของสินค้า

อรอุมา เผยว่า ความยากของการทำโครงการนี้คือ เกษตรกรยังไม่เข้าใจเรื่องการซื้อ-ขายผ่านออนไลน์ว่าจะช่วยสร้างรายได้จริง เพราะยังไม่มีประสบการณ์การซื้อ-ขายในรูปแบบใหม่นี้ จึงเกิดความไม่มั่นใจว่าส่งสินค้าแล้วจะได้รับเงินกลับมาหรือไม่

นอกจากนี้ ทางดีแทคและรักบ้านเกิดพยายามสร้าง Smart Consumer ควบคู่ไปด้วยกับการให้ความรู้ในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าที่เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพ รวมถึงมอบโอกาสให้กับเกษตรกรที่มีรายได้น้อยแต่สินค้าคุณภาพดี เนื่องจากเกษตรอาจขาดความรู้ด้านการตลาดในการจะนำสินค้าไปขายเหมือนเกษตรกร รายอื่น ดังนั้น การเป็น Smart Consumer ที่ดีจะต้องแคร์สุขภาพ ขณะเดียวกันต้องแคร์คนขายสินค้าให้กับเขาด้วย นี่คือสิ่งที่เราพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในสังคม

SP2.2

ดีแทคสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่ขายของแค่พออยู่พอกินไปวันๆ ให้กลายเป็นแม่ค้ารายได้หลักแสนบาทต่อเดือนได้ด้วยการนำอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการประกอบอาชีพ

อรอุมา กล่าวว่า จุดอ่อนสำคัญของเกษตรคือ การยังไม่เข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับอาชีพเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างมูลนิธิรักบ้านเกิดกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการเข้าไปช่วยสอนใช้อินเทอร์เน็ต โดยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ต และกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในอินเทอร์เน็ต

สำหรับกลุ่มที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ตจะมีน้องดีแทคเน็ตอาสาเข้าไปช่วยให้ ความรู้ 5 ครั้งในหมู่บ้าน โดยให้เกษตรกรชวนลูกหลานมาเรียนด้วย ซึ่งจะอธิบายตั้งแต่ความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตว่าส่งผลดีต่อการใช้ ชีวิตและทำการเกษตรอย่างไรบ้าง ในช่วงแรกต้องยอมรับว่าค่อนข้างยาก เพราะเกษตรกรจะปิดกั้นเนื่องจากกลัวจะไปขายสินค้า ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการเข้าไปทำความใกล้ชิดจนเกิดความไว้วางใจ และเปิดใจในการรับฟังวิธีใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ

ส่วน กลุ่มที่รู้จักอินเทอร์เน็ตทางทีมงานดีแทคเน็ตอาสาจะเข้าไปช่วยอธิบายถึงการ ขายสินค้าในช่องทางใหม่คือ ขายสินค้าผ่านออนไลน์ โดยช่วยตั้งแต่การนำสินค้ามาถ่ายรูปและโพสต์ขายบนเว็บไซต์เท่านั้น แต่ยังไม่เน้นการทำการตลาดผ่านออนไลน์มากนักเพราะต้องการให้เกษตรกรเข้าใจขั้นตอนการขายสินค้าบนออนไลน์ให้มากที่สุด โดยช่วงแรกจะเน้นกลุ่มเกษตรกรที่ไม่มีความรู้และขาดโอกาสทางสังคมเพื่อให้ ได้เรียนรู้อินเทอร์เน็ตในการนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพวกเขา

ตอนนี้ดีแทคเน็ตอาสาได้ทำการสอนเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ เช่น ชลบุรี เชียงใหม่ พิจิตร บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุบลราชธานี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ กระบี่ และสงขลา ซึ่งบุคคลที่เข้าอบรมในโครงการของดีแทค รักบ้านเกิด และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ที่เป็นผู้นำชุมชน ซึ่งคนกลุ่มนี้หากสามารถใช้งานจากโมบายล์อินเทอร์เน็ตได้มากเท่าไรเขาสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาชุมชนและคนในชุมชนได้ ซึ่งดีแทคจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Local Hero

 

สร้างโอกาส เปิดโลกใหม่
การสร้างทีมดีแทคเน็ตอาสาขึ้นมาเพื่อลงพื้นที่ไปสอนการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้กับคนในชุมชน เพราะต้องการให้ลูกค้ารักเราจริงๆ โดยตอนนี้มีทีมประมาณ 100 คน ที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อสอนการใช้อินเทอร์เน็ต

อรอุมา กล่าวถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากคือ พี่แนท แม่ค้าขายปูม้า ที่ อ.บางพระ จ.ชลบุรี ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการทำงานของกลุ่มเน็ตอาสาที่ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ คนในชุมชนและช่วยสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นจากอาชีพ โดยเมื่อก่อนสามีพี่แนทจะเป็นคนออกไปหาปูมาให้ขายตามตลาดและโรงงาน ซึ่งในแต่ละวันขายหมดบ้างไม่หมดบ้างของเหลือก็ต้องทิ้ง

เมื่อกลุ่มดีแทคเน็ตอาสาลงพื้นที่ได้เข้าไปให้ความรู้ในการใช้โมบายล์ อินเทอร์เน็ตกับพี่แนทเพื่อใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กในการช่วยขายสินค้า ซึ่งตอนแรกพี่แนทก็ไม่เข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตจะช่วยเขาขายปูได้จริง จึงได้ช่วยสร้างแฟนเพจ “นานา ปูม้าต้ม” ขึ้นให้ และช่วยสอนวิธีการใช้งาน หลังจากเปิดแฟนเพจขึ้นปรากฏว่าสามารถขายปูได้วันละมากกว่า 200 กิโลกรัมทุกวัน ทำให้ตอนนี้มีรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน

สำหรับกรณีนี้ ทำให้เห็นถึงความสำเร็จของดีแทคที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่ขายของ แค่พออยู่พอกินไปวันๆ ให้กลายเป็นแม่ค้ารายได้หลักแสนบาทต่อเดือนได้ด้วยการนำอินเทอร์เน็ตมาช่วย ในการประกอบอาชีพ ซึ่งพี่แนทยอมรับกับดีแทคและบอกคนต่างๆ ว่า “ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนชีวิตเขา” จากการที่เห็นประโยชน์ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต พี่แนทได้เป็นคนที่สอนอินเทอร์เน็ตให้กับเพื่อนบ้านด้วย และมีการขายสินค้าให้กับดีแทคด้วย นี้คือสิ่งที่เรามุ่งมั่นให้เกิดขึ้นในการทำการตลาดรูปแบบใหม่ คือ Customer Loyalty เพราะตอนนี้ใครมาว่าแบรนด์ดีแทคจะมีพี่แนทคอยพิทักษ์ปกป้องก่อนคนแรก เนื่องจากพี่แนทบอกว่า ดีแทคคือผู้ให้ชีวิตใหม่แก่ครอบครัวเขา

อีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจคือ กำนันหนุ่มที่ชุมชนบ้านกร่าง จ.พิษณุโลก พบปัญหาว่า เรียกประชุมผู้ใหญ่บ้านทีไรไม่ค่อยได้รับความร่วมมือในการเข้าประชุมไปตาม ที่บ้านก็ไม่พบ เมื่อทีมเน็ตอาสาเข้าไปในพื้นที่เจอวันประชุมผู้ใหญ่บ้านพอดีจึงได้มีการให้ แนะนำถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตกัน ซึ่งวันแรกฟังกันได้ไม่นานก็ลุกหนีไป แต่หลังจากทีมงานเข้าไปทุกวันเพื่อสอนและผู้ใหญ่บ้านต่างเริ่มเรียนรู้และ เห็นถึงความสำคัญในการใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว

หลังจากนั้นเรียกรวมพลด่วนผ่านโมบายล์แอพฯ แชตทุกคนมาประชุมเรียบร้อย หรือมีกรณีรถชนในตำบลมีคนถ่ายรถไว้ทันก็ส่งต่อให้ช่วยกันดูผ่านไลน์ช่วยกันจับคนชนได้เลย กำนันบอกเลยว่า เมื่อก่อนเรียกมาประชุมพอเจอกันไม่คุยถามอะไรก็เงียบ ไม่สนิทกันเพราะนานๆเจอกันที แต่มีโมบายล์อินเทอร์เน็ตใช้ในการสื่อสารทำให้ผู้ใหญ่บ้านและกำนันสนิทกัน มากขึ้นเพราะมีการสื่อสารตลอดเวลา จนกำนันการันตีเลยว่าตำบลผมผู้ใหญ่บ้านสนิทกันมากที่สุดแล้ว เพราะตอนนี้มีการแชร์ประสบการณ์และทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านหน้าจอมือถือ

“ดีแทคมองว่า การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบริการดิจิตอลมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาทั้งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และช่วยเหลือผู้คนในสังคมที่ขาดโอกาส ด้วยการเพิ่มความสามารถในการทำงาน รวมถึงผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน” อรอุมากล่าว

 

 

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

Найкращий досвід у казино: Slotoking

Ласкаво просимо до захоплюючого світу азарту і розваг з Slotoking. Цей заклад незмінно привертає...