TDD อินเตอร์เน็ต ในคลื่นความถี่ 2300 MHz

เปิดให้บริการใช้ในประเทศไทยแล้วสำหรับระบบ 4G LTE-TDD ในคลื่นความถี่ 2300 MHz  บนแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้าง 60 MHz (2310-2370 MHz)  ที่เป็นความร่วมมือโดย TOT และ dtac

สำหรับ งาน dtac จับมือกับ TOT  เปิดให้บริการคลื่น 2300 MHz TDD อย่างเป็นทางการ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคลิปนี้

dtac ประกาศเปิดให้บริการคลื่น 2300 MHz TDD อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “ ดีแทคเทอร์โบ (dtac TURBO) ” โดยนายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ และนายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac โดยได้นาย ณภัทร เสียงสมบูรณ์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ ในวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ สำนักงานใหญ่ dtac จามจุรี สแควร์

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง กล่าวว่า เฟสแรกที่ได้เริ่มเปิดให้บริการคลื่น 2300 MHz โดยจะเริ่มเปิดจากจังหวัดที่มีการใช้ดาต้าสูงของในแต่ละภาค เริ่มที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต และจังหวัดอื่นๆ ภายในอนาคต

โดยค่ายอื่นปัจจุบันมีความถี่ที่ 900/850/1800/2100 MHz และในความเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลต่อผู้บริโภคด้านในบ้าง

ก่อนจะรู้จัก TDD มารู้จัก FDD (Frequency Division Duplex) กันก่อน ปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เราใช้ในทุกๆ วันนี้คือระบบ FDD ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลที่ ผู้ใช้สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน และมีการแยกคลื่นเป็นสำหรับ Downlink และ Uplink เอาไว้เท่าๆ กัน ส่วน TDD (Time Division Duplex) คือ จะต่างจาก FDD ตรงที่จะแบ่งการรับส่งข้อมูลในคลื่นเดียวกัน แต่จะแบ่งเวลาในการรับ ส่งข้อมูล และสามารถปรับการ Downlink และ Uplink ได้ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบต่อยอดสู่ระบบ 5G ในอนาคต

แต่ข้อเสียของ TDD ก็ยังมี เพราะถึงแม้จะปรับเปลี่ยนให้ปรับการ Downlink และ Uplink ได้ดีขึ้น แต่ระยะครอบคลุมสัญญาณของ TDD เพียงแค่ 1 กม.เท่านั้น แต่สำหรับ FDD คือ 2 กม. การรับคลื่นที่รองรับเฉพาะคลื่นความถี่สูง มีเพียงโทรศัพท์มือถือบางรุ่นในไทยเท่านั้นที่รับรองระบบ TDD (สามารถดูรุ่นโทรศัพท์ที่รองรับจาก https://www.dtac.co.th/network/ )

ซึ่งถ้าให้เปรียบเทียบแล้ว คนไทยเน้นการใช้อินเตอร์เน็ตในรูปแบบการ Downlink มากกว่า การใช้งานในรูปแบบ TDD จึงน่าจะเหมาะกับการใช้งานของคนไทย เพราะสามารถปรับการ Downlink และ Uplink ให้สอดคล้องกับผู้บริโภคได้ และเล่นอินเตอร์เน็ตลื่นไหลแม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีคนอยู่มาก

สำหรับผู้บริโภคคงต้องมาเปรียบเทียบอีกทีกับระบบ  4G TDD ที่เริ่มต้นเปิดใช้ในไทย เหมาะสำหรับตนหรือไม่ และติดตามต่อไปในอนาคตว่าจะมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไป

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ดีแทค ส่งเสริมการใช้การงานดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการดิจิทัลได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

ดีแทค ตอบรับกระแสการเติบโตของโลกดิจิทัล เร่งติดสปีดการใช้งานดิจิทัลลูกค้าดีแทค พร้อมวาดแผนกลยุทธ์ดิจิทัลมุ่งสู่บริการที่มากกว่า โทรคมนาคม สร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็มและเปลี่ยนผ่านโมเดลปฏิบัติการสู่ดิจิทัล ปูทางดีแทคแอปสู่ซูเปอร์แอป   [caption...