Timelie เกมพัซเซิล แนวใหม่ ให้ผู้เล่นวางแผน ล่วงหน้า

คามิน กลยุทธสกุล, เจษฎา ตรีรุ่งกิจ, อาชัญ สุนทรอารมณ์, ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ และพงศธร สันติวัฒนกุล นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คามิน กลยุทธสกุล, เจษฎา ตรีรุ่งกิจ, อาชัญ สุนทรอารมณ์, ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ และพงศธร สันติวัฒนกุล
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความท้าทายของการเล่นเกมคือ การเอาชนะ หรือผ่านโจทย์ปัญหายากๆ ให้ผ่านไปได้ เชื่อว่ามีหลายคนเคยเซฟ และรีสตาร์ทเล่นใหม่หลายๆ ครั้ง เพื่อหาทางออกของเกมให้ได้ ซึ่งนับว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเกมที่สามารถดึงดูดให้คนทุกเพศทุกวัยเข้ามาสนใจ

app3

แต่จะดีแค่ไหน ถ้าหากผู้เล่นได้รู้เหตุการณ์ในอนาคตของเกมก่อน และย้อนกลับมาแก้ปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นความพิเศษของแอพพลิเคชั่น Timelie ผลงานของทีม PH21 นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประกอบด้วย คามิน กลยุทธสกุล, เจษฎา ตรีรุ่งกิจ, อาชัญ สุนทรอารมณ์, ปริเมธ วงศ์สัตยนนท์ และพงศธร สันติวัฒนกุล

สร้างความท้าทายใหม่ให้เกมพัซเซิล
เป็นธรรมดาของเด็กผู้ชายที่จะชอบเล่นเกม น้องๆ เล่าว่า ทุกคนในทีมสนใจในเรื่องของเกม ปกติแล้วจะเล่นในแนวแอคชั่น พอมาถึงจุดหนึ่งที่อยากจะทำเกมเป็นของตัวเองจึงต้องการทำอะไรใหม่ๆ อย่างเกมแนวพัซเซิลที่มีกลิ่นไอของความเป็นแอคชั่น มีความน่าตื่นเต้น การหลบซ่อน เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เล่นเกม

“ในช่วงแรกที่เราเกิดไอเดียว่าจะสร้างเกม ก็ใช้เวลานานกว่าจะได้คอนเซ็ปต์ หัวใจสำคัญคือ เราอยากทำให้เกมพัซเซิลมีภาพความตื่นเต้น มีความท้าทายแบบแอคชั่นบ้าง เกมของเราจึงเป็นการผสมผสานกัน ซึ่งเกมของเราจะต่างจากทั่วๆ ไปตรงที่ระบบ ปกติเกมก็จะเน้นให้ผู้เล่นแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่เราเปลี่ยนวิธีให้เป็นการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า”

เมื่อพอสร้างสรรค์ผลงานสำเร็จแล้ว น้องๆ จึงหาวิธีการวัดผลด้วยการเข้าประกวดในโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 18 (NSC2016) ซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทโปรแกรมเพื่อความบันเทิงระดับนิสิต นักศึกษา และรางวัลพิเศษรางวัล Microsoft Universal Windows Platform (UWP) Bridge for Game ด้วย

e209_1

ฉบับที่ 209 เดือนพฤษภาคม

Digital Literacy เรื่องครอบครัว รู้ทันดิจิทัล

ใช้เงื่อนไขของเวลา วางแผนแก้ปัญหาในอนาคต
Timelie จะเป็นเกมในรูปแบบใหม่แนว Puzzel+ Stealth Action ที่พัฒนาโดย UNITY 3D เพื่อการใช้งานบนสมาร์ทโฟนที่ผู้เล่นจะต้องใช้ความสามารถในการคิด และคาดการณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และผ่านด่านไปให้ได้

“วิธีการเล่นคือ การควบคุมตัวละครสองตัว และไอเทมเพื่อแก้ปริศนาและผ่านอุปสรรคในการหาทางออก โดยจะมีแถบไทม์ไลน์ที่ผู้เล่นสามารถเข้าไปในช่วงเวลาต่างๆ ทั้งในอดีตและอนาคต เพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวของตัวละครในการหลบหนีจาก AI ยาม ซึ่งผู้เล่นจะต้องสังเกตการณ์กระทำในอนาคต และวางแผนการกระทำต่างๆ ของตัวละครแต่ละตัวล่วงหน้าเพื่อใช้ในการผ่านฉาก”

ความท้าทายคือ แต่ละด่านมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ได้มีการกำหนดเวลาของแต่ละด่าน สามารถแก้ไขปัญหาได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเจอทางออก แต่ก็มีฟังก์ชั่นที่ให้เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊กเพื่อดูสถิติเวลาของเพื่อนๆ ได้เช่นกัน

app4

เราอยากทำให้เกมพัซเซิลมีภาพความตื่นเต้น มีความท้าทายแบบแอคชั่นบ้าง ซึ่งเกมของเราจะต่างจากทั่วๆ ไปตรงที่ระบบ ปกติเกมก็จะเน้นให้ผู้เล่นแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่เราเปลี่ยนวิธีให้เป็นการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า

เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เพื่อผลงานที่สมบูรณ์

“ตั้งแต่การเริ่มต้นในการพัฒนาทำให้เรารู้ว่าการทำงานเป็นทีมคือเรื่องจำเป็น การทำงานร่วมกันหลายคนแต่ละคนก็มีความคิดของตัวเอง พอเราแยกกันไปคิดมันก็จะไม่ได้ออกมาในแนวทางเดียวกัน ซึ่งพอเอามาประกอบกันมันจะมีส่วนที่ตีกัน เหมือนเราจะสร้างตึกแต่เราไปทำเสากันมาคนละต้น พอมาประกอบกันมันก็ไปด้วยไม่ได้ เราเลยต้องมานั่งคุยกัน เพื่อหาจุดร่วมให้ลงตัว”

ในช่วงระยะเวลาที่พัฒนาอย่างจริงจังที่ผ่านมาประมาณ 5 เดือน นอกจากการหาข้อตกลงต่างๆ แล้ว อีกปัญหาที่พบคือ การทำงานเกี่ยวกับโค้ด ด้วยความที่เป็นเกมแนวใหม่ และเล่นกับเวลา ตัวอย่างที่นำมาประยุกต์ใช้กับเกมได้ก็มีน้อย ต้องใช้ความสามารถของแต่ละคนบวกกับการค้นคว้าเพื่อให้เกมได้ออกมาเป็นรูปแบบอย่างที่ต้องการ

สำหรับแผนการพัฒนาในอนาคตน้องๆ เล่าว่า ในส่วนของตัวเกมสามารถพัฒนาได้เรื่อยๆ เพราะมีไอเดียในการทำด่านใหม่เข้ามาเรื่อยๆ แต่ต้องการเพิ่มความท้าทายให้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มเติมในส่วนของการดีไซน์ให้ละเอียดกว่านี้ เพื่อให้เกมออกมาสมบูรณ์ที่สุด และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดกับผู้เล่น

จากผลงานนักศึกษา สู่เวทีประกวดระดับประเทศ
หลังจากที่ได้รับรางวัลพิเศษในเวที NSC2016 ทำให้เกม Timelie ผ่านเข้าสู่การแข่งขันระดับประเทศอย่าง อย่าง Imagine Cup Thailand 2016 ทันที ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้ผ่านขั้นตอนการอบรมที่มากเท่าทีมอื่น แต่ศักยภาพของน้องๆ ก็ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทเกมจากเวทีนี้มาการันตีในที่สุด

ซึ่งเมื่อผ่านเวทีใหญ่ระดับประเทศแล้ว นอกจากประสิทธิภาพของของแอพฯ ที่ต้องพัฒนาให้มีการวางแผน สร้างจุดเด่นให้ผู้เล่นติดใจเพิ่มขึ้นแล้ว การวางแผนเพื่อต่อยอดและขยายโอกาสของผลงานทางด้านแผนธุรกิจก็เป็นสิ่งจำเป็น และต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

สุดท้ายน้องๆ ยังพูดถึงการโอกาสที่ได้เข้าสู่การแข่งขันในเวทีต่างๆ ว่า เราอาจจะคิดว่าพื้นที่ของเราคือการเรียนรู้อยู่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งเราจะได้พบเห็นแต่สิ่งที่เรามี แต่เมื่อเราได้ออกมาแข่งขันกับคนอื่นๆ ก็พบว่าทุกที่มีคนที่มีความสามารถที่น่าสนใจและต่างกัน มีความรู้อีกมากมายที่เรายังสามารถเรียนรู้ได้ เหมือนเราได้ออกมาเปิดโลกและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น และสุดท้ายก็พบว่า การเรียนรู้ต่อยอดสามารถทำได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ทอ-ไอ-ยอ-ไทย-applicaition
ทอ-ไอ-ยอ-ไทย สอนน้องอ่านภาษาไทย เบื้องต้น

ช่วงเริ่มต้นในการเรียนรู้ภาษา ยังคงเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเสมอ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ทีเริ่มเข้าโรงเรียนและเรียนรู้ภาษาอย่างจริงจังที่มาก กว่าการพูด ปัญหาการอ่านเขียนภาษาไทยของเด็กเล็ก ยังคงมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด...