ในขณะที่คนสมัยนี้ฟังเพลงกันผ่านบริการ streaming เช่น Spotify, Joox, Youtube Music, ฯลฯ กันมากขึ้นๆทั่วโลก …ก็มีกระแสที่กลุ่มศิลปินอังกฤษมากมาย ไม่พอใจกับโมเดลการแบ่งรายได้ในระบบนี้ ซึ่งศิลปินได้ส่วนแบ่งรายได้จากสตรีมมิ่งแค่ประมาณ 13% เท่านั้น ที่เหลือเป็นรายได้เข้าค่ายเพลงและเจ้าของแพลตฟอร์ม
และเหล่าศิลปินก็รวมตัวกันกดดัน จนกระทั่งคณะกรรมการด้านดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อและการกีฬา หรือ DCMS (Digital, Culture, Media and Sport) ของสภาฯอังกฤษต้องไต่สวนและพิจารณา
และจากการสำรวจโดยคณะกรรมาธิการนี้ พบว่า Spotify แบ่งจ่ายให้ศิลปินระหว่าง 0.002 ถึง 0.0038 ปอนด์ต่อการฟัง 1 ครั้ง, ส่วน Apple Music แบ่งจ่ายประมาณ 0.0059 ปอนด์, และ YouTube แบ่งจ่ายน้อยที่สุดประมาณ 0.00052 ปอนด์ต่อการฟัง 1 ครั้ง
… และรายได้า่วนใหญ่ที่เหลือ ก็ไปเข้าบัญชีค่ายเพลงกับบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์ม
ศิลปินนักดนตรีจึงได้เงินจากบริการเหล่านี้น้อยนิด แม้เพลงจะถูกฟังไม่น้อย เช่นพบว่านักดนตรีมืออาชีพ 82% สร้างรายได้จากการสตรีมน้อยกว่า 200 ปอนด์ (ราว 8 พันบาท) ต่อเดือน และมีแค่ 7% ที่ทำเงินได้มากกว่า 1,000 ปอนด์ (ราว 4 หมื่นบาท) ต่อเดือน
และสุดท้ายกลุ่มศิลปินเพลงจึงสรุปข้อเรียกร้องหลายข้อดังต่อไปนี้ คือ
…
– รัฐต้องบังคับค่ายเพลงให้แจกแจงข้อมูลจำนวนเงินรายได้และสถิติการฟังเพลงของตัวเองนั้นให้ศิลปินทราบทั้งหมด
– ระบบแนะนำเพลงใน Spotify, Apple Music, … ต้องยุติธรรมและไม่ลำเอียงเข้าข้างค่ายใหญ่ศิลปินดังมากเกินไป
– เมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง เช่น 1 ปี ศิลปินและนักแต่งเพลง ต้องเรียกคืนสิทธิในผลงานของตนเองจากค่ายเพลงได้
– ศิลปินควรมีสิทธิ์แก้ไขสัญญา ถ้าเพลงได้รับความนิยมมากกว่าที่คิด เช่นยอดฟังพุ่งไปหลักร้อยล้านครั้งอย่างไม่คาดฝัน
– รัฐควรหาทางเพิ่มความมั่นคงด้านรายได้ให้ศิลปิน นักดนตรี และนักแต่งเพลง
… ฯลฯ