รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก หรือ GCI ประจำปีของหัวเว่ย ได้แสดงข้อมูลการประเมินด้านการเชื่อมโยงสื่อสารของแต่ละประเทศ ทั้งมุมมองในระดับชาติและในเชิงธุรกิจ โดย สามารถแบ่ง GCI ออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน จาก เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร (ICT) ได้ดังนี้
1.กลุ่มประเทศ Starter เป็นประเทศที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ที่เน้นไปที่การเพิ่มจัดสรรด้าน ICT เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลยิ่งขึ้น ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย บังกลาเทศ และปากีสถาน
2.กลุ่ม Adopter เป็นกลุ่มที่อัตราการเติบโตของ GDP ในประเทศมาจากโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ประเทศเหล่านี้เน้นการเพิ่มความต้องการด้าน ICT ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคดิจิทัล ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย และไทย
โดยประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 51 จากทั้งหมด 79 ประเทศ อยู่ในกลุ่มประเทศ Adopter ระยะเริ่มต้นด้านการพัฒนา ICT มีคะแนนโดดเด่นในด้านความครอบคลุมในการให้บริการเครือข่าย Mobile Broadband การให้บริการ 4G มีคะแนนเพิ่มขึ้น เป็น 5 คะแนนในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการลงทุนด้านศูนย์ Data Center และโทรคมนาคมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราความเร็วในการดาวน์โหลดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ต มีคะแนนที่ดีขึ้น
และ 3. กลุ่ม Frontrunner เป็นกลุ่มที่เดินหน้าพัฒนาการใช้งานด้าน ICT ของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง และมีการใช้งาน Big data และ IoT ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
แต่ประเทศไทยยังตามหลังในการใช้งาน Big data การพัฒนาในขั้นต่อไปจึงควรเน้นไปที่การสร้าง Data Center และCloud Storage เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การสื่อสารสะดวกยิ่งขึ้น โดยรายงานดังกล่าวยังระบุถึงแผนการพัฒนาด้านดิจิทัลของรัฐบาลไทยครอบคลุมตั้งแต่ปี 2560-2564 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทางด้านดิจิทัลในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรม การท่องเที่ยว การศึกษา บริการทางการแพทย์ การลงทุน การป้องกันภัยพิบัติ และการบริหารรัฐกิจ