ธุรกิจอินเทอร์เน็ต จับไอทีไลฟ์สไตล์

ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มโอ-แซด คอม เน็ตดีไซน์ โฮลดิ้ง จำกัด

ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มโอ-แซด คอม เน็ตดีไซน์ โฮลดิ้ง จำกัด

GMO Internet Group ผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของญี่ปุ่น เปิดโปรเจ็กต์ Z.com (แซทดอทคอม) เพื่อให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและบริการต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการในยุคดิจิทัล

Z.com จะให้บริการตั้งแต่เรื่องของคลาวด์เซอร์วิส ระบบอีคอมเมิร์ซ การชำระเงินออนไลน์ รวมถึงการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ออนไลน์ ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์รายแรกที่ทำระบบเก็บข้อมูลคลาวด์เซอร์วิสขนาดใหญ่ในเมืองไทย

ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล
ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มโอ-แซด คอม เน็ตดีไซน์ โฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ในประเทศญี่ปุ่น GMO Internet Group ได้ให้บริการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการระบบคลาวด์เซอร์วิส การทำระบบซิเคียวริตี้ ช่องทางการชำระเงินออนไลน์ ธุรกิจรับจดโดเมนเนม สร้างเว็บไซต์ การทำสื่อโฆษณาออนไลน์ และการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ออนไลน์ที่มีมาร์เก็ตแชร์กว่า 22 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงการให้บริการเกี่ยวกับทางด้านโมบายล์

Z.com

Z.com

โดยการลงทุนในประเทศไทยก็จะมีการทำแบรนด์ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า Z.com ซึ่งได้ทำการซื้อชื่อโดเมนมาในมูลค่า 200 กว่าล้านบาท เพื่อให้เป็นโดเมนที่ง่ายต่อการจดจำ พร้อมทั้งวางให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำหรับการขยายการลงทุนในอีกหลายประเทศในแถบอาเซียน นอกจากนี้ ยังแบ่งธุรกิจเป็น 4 ส่วน ที่ประกอบด้วย 1. Internet Infrastructure 2. Online Advertising and Media 3. การซื้อ-ขายหลักทรัพย์ออนไลน์ และ 4. Mobile Entertainment โดยในช่วงแรกจะเน้นการลงทุนในเรื่องของคลาวด์เซอร์วิสเป็นหลัก เพราะคู่แข่งรายอื่นๆ ในระดับเดียวกันยังไม่มีใครมาลงทุนตั้งเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทย ซึ่งทุกรายต่างตั้งเซิร์ฟเวอร์กันอยู่ที่สิงคโปร์

6

“ความต้องการด้านคลาวด์เซอร์วิสในเมืองไทย ตอนนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะวันนี้ทุกๆ ธุรกิจได้ผันตัวไปสู่ออนไลน์กันหมด ใครไม่ปรับตัวก็อยู่ไม่ได้ ข้อมูลทุกอย่างต้องไปอยู่บนออนไลน์ หน่วยงานต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บเอกสารที่เป็นแบบกระดาษไปสู่ดิจิทัล แต่ในขณะเดียวกัน หลายคนก็ยังเชื่อว่า เซิร์ฟเวอร์หรือคลาวด์ในต่างประเทศนั้นดีกว่า เร็วกว่า ง่ายกว่า ซึ่งเน็ตเวิร์กในประเทศเราย่อมดีกว่าอยู่แล้ว”

สำหรับการลงทุนคลาวด์เซอร์วิสนั้นจะใช้การตั้งคลาวด์กับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้บริการในประเทศไทยอย่าง CS Loxinfo พร้อมกับทำระบบสำรองข้อมูลที่เชื่อมโยงกันไปทั่วโลกภายใต้เครือข่ายของ GMO จึงทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีความปลอดภัยและมีความเสถียรภาพ โดยตั้งเป้าที่จะครองมาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 ของประเทศไทยได้ภายในปีแรก และเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในเอเชียภายใน 3 ปี

2

ทุกวันนี้ ไอทีเองเป็นไอทีไลฟ์สไตล์ไปแล้ว ถ้าเราโฟกัสแต่เรื่องของไอทีก็จะคิดว่าเราเป็นเพียงแบรนด์สินค้าไอทีทั่วไป แต่ความจริงแล้ว มันหลากหลายกว่านั้น ไอทีเป็นแค่เครื่องมือการเข้าถึงบริการต่างๆ

พร้อมเสริมบริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ภาพของแบรนด์ Z.com จะเป็นแบรนด์ของกลุ่มคนฉลาดซื้อ ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ด้วยแนวคิดหลักคือ Internet for Everyone หรืออินเทอร์เน็ตสำหรับทุกๆ คน ที่จะเป็นใครก็ได้ เช่น คลาวด์เซอร์วิส ที่ไม่ได้มีเพียงแค่พับลิคคลาวด์ที่เอาเว็บไซต์มาฝากไว้ แต่ยังมีเอ็นเทอร์ไพรซ์คลาวด์สำหรับลูกค้าขนาดใหญ่ เช่น บริษัทหลักทรัพย์หรือสถาบันการเงิน ที่ต้องการสร้างระบบคลาวด์ของตัวเองขึ้นมาในระดับความปลอดภัยมาตรฐานขั้นสูง เป็นต้น ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม 2560 ยังเตรียมที่จะจัดตั้งบริษัทให้บริการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ออนไลน์ ที่ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงการขอใบอนุญาต และภายในไม่เกิน 3 ปี คาดว่าจะสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในประเทศไทย

บริการของ Z.com

บริการของ Z.com

“เน็ตดีไซน์ค่อนข้างครบวงจร สำหรับการชำระเงินออนไลน์เราลงทุนในกลุ่มของ 2C2P ซึ่งเรามีแบรนด์ที่ใช้ชื่อว่า Z.com Payment เป็นอินฟราฯ ตัวหนึ่งในเรื่องของ Payment Gateway เราไม่ได้มาลงแค่เรื่องคลาวด์ แต่เรายังลงเรื่องอื่นๆ และโมเดลอะไรที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เราก็มีการนำมาใช้ในเมืองไทย อย่างในญี่ปุ่นเรามีการเปิดเป็นธนาคารที่เป็นออนไลน์ทั้งระบบ ถ้าเมื่อไรที่เมืองไทยมีโอกาสที่ดี เราคงจะนำมาเปิดด้วยเช่นกัน”

เมื่อการจัดตั้งบริษัทให้บริการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ออนไลน์สำเร็จแล้ว ลำดับถัดไปจะเป็นเรื่องออนไลน์มีเดีย เช่น Z.com Research ที่เป็นระบบการทำวิจัยผ่านออนไลน์ ที่ในเมืองไทยปัจจุบันก็ยังมีใครทำหรือมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ทั้งๆ ที่เป็นธุรกิจที่ใหญ่มากในระดับเอเชียและระดับโลก

ฉบับที่ 217 เดือนมกราคม

เรียนรู้ชีวิตดิจิทัล เยาวชน 4.0

 

ใช้การตลาดแบบดิจิทัลไลฟ์สไตล์
การทำตลาดแต่ละโปรดักส์ของ Z.com ในช่วงแรกจะทำภายใต้แบรนด์ ซับแบรนด์ของแต่ละแบรนด์ก็จะขึ้นต้นด้วย Z.com เช่น Z.com Cloud, Z.com Domain, Z.com ShopUp ต่อไปที่เป็นเซอร์วิสต่างๆ ก็จะมีการโปรโมชั่นในแต่ละเซ็กเมนต์ ซึ่งก็ยังคงใช้แนวทางเดียวกัน ใช้พรีเซ็นเตอร์ร่วมกัน เพื่อให้คนเข้าใจว่า Z.com ไม่ได้เป็นแค่ธุรกิจไอที แต่มีบริการที่หลากหลายและมาลงทุนแบบจริงจังในเมืองไทย

“Z.com ไม่ใช่แค่แบรนด์อินเทอร์เน็ต เราเริ่มต้นทำธุรกิจเรื่องของ Internet Infrastructure แต่ที่ญี่ปุ่น มันเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แบรนด์อินเทอร์เน็ตอีกต่อไป ในเมืองไทยเราใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นนักฟุตบอลอย่าง เจ ชนาธิป ที่ญี่ปุ่นเราใช้ ชินจิ คากาวะ ที่เวียดนามเราก็ใช้นักฟุตบอลอันดับหนึ่งของเวียดนาม ซึ่งหลายคนอาจ จะสงสัยว่าเป็นธุรกิจไอที แต่ทำไมมาเน้นสปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง เพราะทุกวันนี้ไอทีเองได้เป็นไอทีไลฟ์สไตล์ไปแล้ว ถ้าเราไปโฟกัสแต่เรื่องของไอที เขาก็อาจจะคิดว่าเราเป็นเพียงแบรนด์สินค้าไอทีทั่วไป แต่ความจริงแล้วมันหลากหลายมากกว่านั้น ไอทีเป็นแค่เครื่องมือการเข้าถึงบริการต่างๆ”

บริการของ Z.com

บริการของ Z.com

เพิ่มความแข็งแกร่งจากภายใน
ดร.เฉลิมรัฐ กล่าวอีกว่า ถ้ามองถึงการแข่งขันในธุรกิจนั้น แต่เดิมในส่วนของคลาวด์เซอร์วิส โฮสติ้ง โดเมน ทางเน็ตดีไซน์ทำอยู่ก่อนแล้ว และด้วยประสบการณ์ กว่า 19 ปี บวกกับการมีบิสสิเนสโมเดลและเทคโนโลยี พร้อมทั้งคำแนะนำจาก GMO ซึ่งหลายๆ อย่างที่กำลังจะทำ ทาง GMO สามารถบอกได้ว่าต้องทำอย่างไร เพราะได้ผ่านมาหมดแล้ว ส่วนปัญหาหลักที่แท้จริงคือ การหาคนที่เก่งทางด้านซอฟต์แวร์ ซิสเต็มส์ หรือเน็ตเวิร์กเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย

นอกจากนี้ ระบบความคิดของผู้ใช้ก็เป็นจุดอ่อนสำหรับประเทศไทย เนื่องจากส่วนใหญ่คิดแต่ว่าจะใช้ แต่ไม่ได้คิดที่จะพัฒนาเป็นของตัวเอง หรือจะเห็นได้ว่า มี Tech Startup ในเมืองไทยที่มีแค่เพียงหลักร้อย และประสบความสำเร็จจริงๆ ไม่ถึงหลัก 10 เพราะฉะนั้น การจะเปลี่ยนไปสู่ยุคของ Digital Transactions จากธุรกิจแบบเดิมไปสู่ธุรกิจแบบดิจิทัล สิ่งเดียวคือ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อนเป็นอันดับแรก

“การเข้ามาของเรา เป็นการมาเสริมในสิ่งที่เมืองไทยไม่มี เราทำโดยที่เรามองพฤติกรรมของผู้ใช้ในเมืองไทย ความต้องการ การขาดแคลน เพราะฉะนั้นทีมบริหารหลักของเราจึงเป็นคนไทย ทีมญี่ปุ่นก็เหมือนเป็นโค้ชมาช่วยเรา ทำงานร่วมกันแบบครอบครัว เป็นพี่น้อง และคนญี่ปุ่นเขามองก็มองว่า ถึงแม้ GDP เราต่ำในหมู่ของอาเซียน แต่อัตราการเติบโตเชิงธุรกิจของเราสูงมาก”

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Co working space สำหรับสตาร์ทอัพ แหล่งเรียนรู้งานพิมพ์ดิจิทัล ใช้งานฟรี

จะเห็นว่าขณะนี้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามกระแสดิจิทัล มีความต้องการสินค้าที่เจาะจงมากขึ้น มีเอกลักษณ์ในแบบของตนเอง ธุรกิจเองก็ต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อความต้องการดังกล่าวให้มากขึ้นกว่าเดิม หนึ่งธุรกิจที่เริ่มเปลี่ยนให้เห็นบ้างแล้ว...