ด้วยความที่เทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น การทำธุรกรรมก็อยู่บนออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน ทั้งการโอนเงิน ซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ ชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งด้วยความสะดวกสบายเหล่านี้ ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้งานเริ่มปรับเปลี่ยน โดยจากผลสำรวจพบว่า คนไทยใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเข้าอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6.6 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้โอกาสในการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์สูงขึ้น
ซึ่งช่วงที่ผ่านมากระแส FinTech ถูกนำมาใช้พัฒนาบริการทางการเงินให้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น การชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทางดิจิทัล e-Payment ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของ FinTech ที่เรียกได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของกระแสแนวความคิดด้านนี้ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมอย่างมาก
วัยรุ่นใช้จ่ายออนไลน์เพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
กลุ่มคนที่ซื้อของออนไลน์ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีบัตรเครดิต แต่นิยมซื้อแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนออนไลน์ มีความถี่ในการซื้อเฉลี่ย 4 ครั้งต่อคนต่อเดือน และส่วนใหญ่จะซื้อแอพพลิเคชั่นเกม และไอเทมในเกม (in-app purchase) ในราคาประมาณ 100-180 บาท
พฤติกรรมของคนไทยมีความต้องการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ บวกกับนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาล ทำให้แนวโน้มของคนไทยมีการตอบรับกับการใช้จ่ายออนไลน์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ อัตราการใช้งาน e-Wallet ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการซื้อสินค้าดิจิทัล เช่น การชำระค่าบริการ การโอนเงิน การช้อปสินค้าออนไลน์บน e-Commerce
![]() |
ฉบับที่ 210 เดือนพฤษภาคมFinTech 2.0 การเงินคลื่นลูกใหม่ |
ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่มาเสริมตลาดคือ นโยบายจากภาครัฐเรื่อง National e-Payment ที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้งาน e-Wallet อย่างแพร่หลาย มีการสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงกระแส FinTech ที่มาแรงมากตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าตลาดรวมจะเติบโต และเป็นโอกาสที่ e-Wallet จะเติบโตขึ้นอีกมาก
ตอบโจทย์การใช้งานด้วยบริการครบวงจรจาก Airpay
เมื่อนึกถึงบริการชำระเงินออนไลน์ที่ตอบโจทย์ทางด้านไลฟ์สไตล์ Airpay เป็นทางเลือกหนึ่งที่เหล่าผู้ใช้งานเลือกใช้ เนื่องจากมีการให้บริการที่ครอบคลุมวิถีชีวิตคนเมืองอย่างเกม ดูหนัง เดินทาง ชำระค่าบริการต่างๆ รวมทั้งการบริจาคได้มากที่สุดถึง 16 มูลนิธิ อีกด้วย
มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของ Airpay ในประเทศไทย คือการต่อยอดมาจากธุรกิจเกมของเครือการีน่า ทางบริษัทต้องการมีบริการที่ตอบโจทย์บรรดา เกมเมอร์ที่ต้องเติมเงินเกม เลยเปิดตรงนี้ขึ้นมา
“บริการที่คล้ายกันกับเราในปัจจุบันรายใหญ่ๆ ก็จะมาจากบริษัทเทเลคอม และอื่นๆ ซึ่งแอร์เพย์เป็นแอพพลิเคชั่นรูปแบบ e-Wallet ข้อแตกต่างคือ แอร์เพย์จะเป็น e-Wallet ที่รวบรวมศูนย์กลางของไลฟ์สไตล์เอาไว้ทั้งหมด เราพยายามที่จะสร้างและเพิ่มการบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คนให้มาอยู่ในแอพฯ ของเราให้ได้มากที่สุด เช่น ภาพยนตร์และ e-Vouchers และเพื่อทำให้ผู้ใช้บริการของเราได้รับความสะดวกสบายมากที่สุด ดังนั้น เป้าหมายของเราคือ การทำให้ AirPay เป็นศูนย์รวม Digital Lifestyle ของผู้ใช้เอาไว้ในแอพฯ เดียว”
ซึ่งนอกจากนี้ ยังมีบริการ Payment gateway ให้กับผู้ประกอบการอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งในตอนนี้ก็ยังต้องมีการศึกษาในด้านการทำงานร่วมกัน เพราะทางการีน่าเอง ก็ต้องการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการที่มีกลยุทธ์ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด
ตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการ
เนื่องจากเป็นการให้บริการเกี่ยวกับการทำธุรกรรม หารใช้เทคโนโลยีต่างๆ จึงต้องมีการสร้างความปลอดภัยที่รัดกุมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งเทคโนโลยีที่ AirPay ใช้ สามารถอธิบายได้โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักๆ คือ เรื่องของการจ่ายเงิน ความปลอดภัย และบริการ
“สำหรับการจ่ายเงิน เราร่วมมือกับธนาคารชั้นนำในประเทศไทย เพื่อที่จะผสมผสานช่องทางการจ่ายเงินทั้งหมดไว้ในที่เดียว โดยตอนนี้เน้นไปที่การจ่ายแบบหักบัญชีโดยตรงก่อน โดยเราใช้ช่องทางการเชื่อมต่อแบบ API (Application Programming Interface) เพื่อทำให้การสื่อสารเป็นไปตามเวลาจริง ดังนั้นธุรกรรมของผู้ใช้จะถูกดำเนินการในเวลาตามจริง สามารถตรวจสอบได้”
ด้านความปลอดภัย ทางบริษัทมีทีมสำหรับพัฒนาระบบการจับทุจริตในการติดตามธุรกรรมที่ผิดปกติในการจ่ายอย่างรวดเร็วเกินไป หรือ พฤติกรรมการใช้จ่ายที่ผิดปกติ เช่น การทำธุรกรรมนอกประเทศ ก็จุกดึงข้อมูลมาเพื่อตรวจสอบทันที ทั้งนี้ยังร่วมมือกับ CyberSource เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้จ่ายของทั้งฝ่ายผู้ใช้และร้านค้าต่างๆ ทั้งเร็ว ปลอดภัย และ ง่ายที่สุด และลดการทุจริตให้ได้มากที่สุด โดยปัจจุบันอัตราการทุจริตของ Airpay เกือบเท่ากับ 0 เปอร์เซ็นต์
สำหรับด้านการบริการ เราร่วมมือกับร้านค้าหลากหลายและผู้ให้บริการชั้นนำต่างๆ และมีการปรับแต่งให้เหมาะกับแต่ละเจ้าให้มีความเหมาะสมมากที่สุด
ข้อแตกต่างคือ เป็น e-Wallet ที่รวบรวมศูนย์กลางของไลฟ์สไตล์เอาไว้ทั้งหมด เราพยายามที่จะสร้างและเพิ่มการบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ของผู้คนให้มาอยู่ในแอพฯ ของเราให้ได้มากที่สุด
ธนาคารร่วมมือกับฟินเทคเพิ่มขึ้น สร้างนวัตกรรมเพื่อผู้ใช้บริการ
แม้ว่าแนวโน้มการขยายตัวของการใช้งานเงินออนไลน์ หรือเทคโนโลยีอย่าง FinTech จะเพิ่มมากขึ้นแต่ก็นับว่ายังเป็นเรื่องใหม่ โดยอุปสรรคสำคัญของ FinTech นั้นไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาระบบ แต่เป็นที่ตัวบุคคลมากกว่า เพราะหลายคนยังคงระแวงและไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย จึงต้องใช้เวลาเพื่อให้คนไทยมั่นใจในระบบและสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีนี้ได้
ทาง Airpay เองก็ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างการรับรู้และให้ความสะดวกกับผู้ใช้งาน ในปัจจุบันทาง Airpay มีเคานต์เตอร์ที่ให้บริการเติมเงินประมาณ 60,000 จุดทั่วประเทศ และจะขยายต่อไปทั่วประเทศ เพื่อเข้าถึงประชาชนทุกคนทุกระดับ เพียงแค่เดินไม่กี่ก้าวก็สามารถทำธุรกรรมได้ เติมเงินไว้ในกระเป๋าเงินออนไลน์ของตัวเองได้
“ก่อนนี้คนอาจจะมองว่าฟินเทคมาแทนที่แบงค์หรือเปล่า แต่ตอนนี้เราก้าวเข้ามาสู่ยุคของฟินเทค 2.0 เป็นการเข้ามาเสริมกันมากกว่า บรรดาธนาคารพาณิชย์ก็เปิดรับ และมีการร่วมมือกันเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะธนาคารเองมีฐานลูกค้า ฟินเทคเองก็มีไอเดียที่ใหม่ และแน่นอนว่าเราจะได้เห็นการเติบโตของวงการนี้มากขึ้น ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็จะเป็นตัวของผู้บริโภคเอง” มณีรัตน์ กล่าว
ซึ่งอย่างที่รู้กันว่า พฤติกรรมการใช้งานอาจจะเปลี่ยนไปได้ยาก แต่หากผู้เกี่ยวข้องทุกๆ ด้านมีการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ ดึงดูด และส่งให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้ อาทิ การส่งเสริมด้วยด้วยโปรโมชั่น ที่ดึงดูดใจ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าครบถ้วน บริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม ระบบใช้งานง่ายและมีความน่าเชื่อถือในความปลอดภัยของผู้ให้บริการ ก็น่าจะไม่ใช่เรื่องยากที่คนไทยที่พร้อมรับเทคโนโลยีจะเปลี่ยนมาใช้งานบนออนไลน์และทำให้เกิด Digital Economy ได้อย่างแท้จริง