ENABLED แพลตฟอร์มหางานสำหรับกลุ่มคนพิการ

อิสรีย์ ภิรมย์โอภาส และจีรภา สูรย์ส่องธานี จากภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อิสรีย์ ภิรมย์โอภาส และจีรภา สูรย์ส่องธานี จากภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ช่วงเวลาของการหางานเป็นเวลาที่ยุ่งยากสำหรับใครหลายๆ คน หากเป็นยุคก่อนหน้านี้ ช่องทางที่นิยมคือการซื้อหนังสือพิมพ์สำหรับการหางานและร่อนจดหมายสมัครไปตามที่ต่างๆ ซึ่งอาจจะได้รับการตอบรับช้าหรือไม่ได้เลย จนเมื่อถึงยุคเทคโนโลยีช่องทางออนไลน์เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ทั้งทางด้านความรวดเร็ว การสมัครเพื่อกรอกข้อมูลเพียงครั้งเดียว ก็สามารถค้นพบงานได้ตามความสามารถของตัวเอง

app2

โดยการหางานออนไลน์นั้นถึงแม้จะตอบโจทย์กับทุกๆ คนแต่ก็ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกปฏิเสธการจ้างงานจากเว็บไซต์เหล่านี้ อย่างกลุ่มของผู้พิการที่ถูกปฏิเสธการจ้างงานมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ 2 นักศึกษาสาว อิสรีย์ ภิรมย์โอภาส และจีรภา สูรย์ส่องธานี จากภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำแอพพลิเคชั่นแนะนำการหางานและสังคมออนไลน์สำหรับคนพิการ ENABLED เพื่อเข้ามาช่วยเหลือและสร้างโอกาสการทำงานให้กับคนกลุ่มนี้

e210-small

ฉบับที่ 210 เดือนมิถุนายน

FinTech 2.0 การเงินคลื่นลูกใหม่

ผู้พิการไม่รู้ช่องทางการหางาน
เพราะขาดพื้นที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล
จากรายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำปี 2558 พบว่า คนพิการที่อยู่ในวัยทำงานอายุระหว่าง 15 – 60 ปี มีจำนวน 748,941 คน แบ่งเป็นคนพิการที่ไม่สามารถประกอบหาชีพได้ 18.33 เปอร์เซ็นต์ มีการประกอบอาชีพแล้ว 28.56 เปอร์เซ็นต์ และผู้พิการที่มีความสามารถแต่ไมได้ประกอบอาชีพ 53.11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุด

app c-1
app c-2
app c-3

การโดนเปลี่ยนงานเป็นเหตุผลหลักที่บรรดาคนพิการทำงานได้ไม่ยืดยาว ในระบบของเราจึงมีพื้นที่ให้ผู้พิการสามารถแลกเปลี่ยนเรื่องราวที่ได้เข้าร่วมทำงานกับที่ต่างๆ เพื่อเป็นการบอกต่อและแจ้งเตือนกับคนอื่นๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกทำงาน

ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ต้องการสนับสนุนผู้พิการ ที่มีการทำสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในการปฏิบัติงาน อาทิ ห้องน้ำ ทางลาด เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ ผู้ประกอบการที่ต้องมีการจ้างงานตามกฎหมาย ที่กำหนดว่าต้องมีการจ้างงานผู้พิการ 1 คน / ลูกจ้าง 100 คน

น้องๆ เล่าว่า จากการลงพื้นที่สำรวจปัจจัยส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้พิการไม่มีงานทำคือ รับรู้สิทธิของตัวเองไม่มากพอ เพราะไม่ได้มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากเท่าที่ควร ทั้งการฝึกอบรม หรือพื้นที่หางาน การที่มีแพลตฟอร์มตรงนี้โดยเฉพาะก็น่าจะเป็นการช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้คนเหล่านี้มากขึ้น

จับคู่ผู้ประกอบการและแรงงาน
พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
แอพฯ ENABLED จะเป็นแพลตฟอร์มตรงกลางที่ทำให้ผู้ประกอบการและผู้พิการได้มาเจอกัน ซึ่งตอนนี้ได้มีการร่วมมือกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมทางด้านการจ้างงานผู้พิการ ในการนำข้อมูลของผู้พิการมาใส่ไว้บนแพลตฟอร์มเพื่อทดลองใช้งาน ปัจจุบันมีข้อมูลผู้พิการแล้วว่า 1,000 ราย และข้อมูลจากผู้ประกอบการก็มีทยอยเข้ามาเพิ่มอยู่เป็นระยะ

ซึ่งหลังจากเพิ่มข้อมูลแล้ว ระบบจะทำการจับคู่ความเหมาะสมของผู้พิการและงานเข้าด้วยกัน ในการจับคู่ปัจจัยที่ใช้งานคือ ความสามารถ การศึกษา และช่วงอายุ ซึ่งสามารถคัดกรองให้ตรงได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ งานที่ถูกจับคู่ให้จะขึ้นมาในหน้าแรกเมื่อเข้าสู่ระบบ และในขณะเดียวกันก็สามารถค้นหางานอื่นๆ ที่สนใจเพิ่มเติมได้

“ปัญหาที่คนพิการจะพบส่วนใหญ่คือ จะไม่มีสิทธิ์มีเสียงในการทำงานกับนายจ้าง เช่น ในตำแหน่งเปิดรับธุรการ แต่พอเข้าไปทำ ให้ทำแม่บ้าน ซึ่งกรณีแบบนี้มีเยอะมาก ซึ่งทางศูนย์จัดหางานก็บอกว่าการโดนเปลี่ยนงานลักษณะนี้ เป็นเหตุผลหลักที่บรรดาคนพิการทำงานได้ไม่ยืดยาว ในระบบของเราจึงมีพื้นที่ให้ผู้พิการสามารถแลกเปลี่ยนเรื่องราวที่ได้เข้าร่วมทำงานกับที่ต่างๆ เพื่อเป็นการบอกต่อและแจ้งเตือนกับคนอื่นๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกทำงาน”

app a-1
app a-2

เน้นกลุ่มคนช่วยเหลือตัวเองได้
และพร้อมต่อยอดพัฒนาในอนาคต
การแบ่งประเภทของคนพิการจะจำแนกออกเป็น 7 ประเภท ซึ่งในตอนนี้เป้าหมายหลักของแอพฯ ENABLED จะเน้นไปที่ผู้ประกอบการ และกลุ่มคนพิการทางด้านร่างกาย และพิการทางด้านการได้ยิน ที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากยังเป็นในช่วงของการเริ่มต้น

“จริงๆ ก็อยากพัฒนาให้ทุกคนใช้ได้หมด แต่ก็ต้องค่อยๆ ปรับไป อย่างถ้าจะเจาะกลุ่มผู้พิการทางด้านการมองเห็น ก็ต้องมีการเพิ่มฟังก์ชั่นเสียงเข้ามาเพื่อให้ใช้งานได้ แต่อย่างไรก็ตาม จะพัฒนาแอพฯ นี้อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อสำเร็จแล้วจะสามารถใช้งานได้ผ่านทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ เนื่องจากกลุ่มผู้พิการจะใช้งานสองอย่างนี้มากที่สุด”

โดยในอนาคตน้องๆ ก็อยากจะผลักดันแพลตฟอร์มนี้ให้เข้าถึงหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุนมากขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาเพิ่มในฐานข้อมูล เป็นส่วนช่วยให้กลุ่มผู้พิการได้มีงานทำ  ซึ่งก็จะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและผลักดันสังคมได้ไปพร้อมๆ กัน

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ทอ-ไอ-ยอ-ไทย-applicaition
ทอ-ไอ-ยอ-ไทย สอนน้องอ่านภาษาไทย เบื้องต้น

ช่วงเริ่มต้นในการเรียนรู้ภาษา ยังคงเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเสมอ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ทีเริ่มเข้าโรงเรียนและเรียนรู้ภาษาอย่างจริงจังที่มาก กว่าการพูด ปัญหาการอ่านเขียนภาษาไทยของเด็กเล็ก ยังคงมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด...