องค์กรยักษ์ใหญ่ในวงการแบงค์โลก “สับแหลก” เงินคริปโตฯ
หน่วยงาน BIS ที่มีธนาคารกลางของ 60 ชาติทั่วโลก (รวมถึงไทย) เป็นสมาชิก ได้ออกมา “สับแหลก” เงินคริปโตฯ เช่นบิทคอยน์ ว่ามีปัญหามากมาย …
หน่วยงาน BIS ที่มีธนาคารกลางของ 60 ชาติทั่วโลก (รวมถึงไทย) เป็นสมาชิก ได้ออกมา “สับแหลก” เงินคริปโตฯ เช่นบิทคอยน์ ว่ามีปัญหามากมาย …
รัฐบาล(ญี่ปุ่น)วางแผนจะติดตั้งระบบ Wi-Fi ให้ใช้งานฟรีในรถไฟชินคันเซ็นทุกสายภายในเดือนมีนาคมปีหน้า 2019 นี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไปนอกเมืองไกล กระจายการกระตุ้นเศรษฐกิจออกไปให้ทั่วถึงทั้งประเทศ
Microsoft Office เปลี่ยนรูปแบบของแถบเมนูซึ่งใช้มา 11 ปีให้เล็กลงและเรียบง่ายขึ้น ลดเหลือชั้นเดียว จากเดิมที่มีถึง 3 ชั้น และไอคอนต่างๆบนเมนูดูชัดขึ้นโดยจะมีใน Word, Excel, PowerPoint เวอร์ชันออนไลน์บนเว็บก่อน
ศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวแอปพลิเคชั่น ในชื่อ Thai Tuner แอปพลิเคชั่นเทียบเสียงเครื่องดนตรีไทยให้เป็นมาตราฐาน
ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ริเริ่มโครงการ Thai Tuner กล่าวว่า นำองค์ความรู้จากโครงการวิจัยค่าความถี่เสียงดนตรีไทย ซึ่งเป็นพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 มาพัฒนาเป็นโปรแกรมเทียบเสียงดนตรีไทย โดยมีเป้าหมายหลักคือ นำพาอุตสาหกรรมดนตรีไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้ได้เครื่องดนตรีไทยที่มีมาตรฐาน ได้ค่าความถี่เสียงถูกต้อง
ปกรณ์ หนูยี่ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ผู้วิจัยโครงการวิจัยค่าความถี่เสียงดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน กล่าวว่า วงดนตรีไทยภาคกลางส่วนใหญ่ยังคงยึดความถี่เสียงแบบเดิมอยู่ โดยจะยึดเอามาตรฐานเสียงของกรมศิลปากรเป็นหลักในการเทียบเสียง โดยจะแสดงผลค่าความถี่มาตรฐานจากการวิจัยใน Thai Tuner จะทำให้เสียงของเครื่องดนตรีของแต่ละภาคมีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน
สำหรับแอปพลิเคชั่น Thai Tuner สามารถเปรียบเทียบเสียงเครื่องดนตรีไทยได้ 89 ชิ้น โดยแบ่งเป็นรูปแบบ ดีด สี ตี เป่า และเสียงร้องชาย-หญิง โดยเทียบเสียงและตั้งค่าเสียงเครื่องดนตรีได้อย่างมาตรฐาน พร้อมทั้งระบบบันทึกค่าเสียงในรูปแบบตัวเลข และมีข้อมูลของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆ ภายในแอปฯ สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android
นอกจากนี้โครงการยังมีการวิจัยผลิตเครื่องดนตรีด้วยนวัตกรรมดิจิตอล …
บริษัทฟรอนทิสและดิจิตอล ไดอะล็อก ร่วมแสดงผลงานระบบ AI ตอบโจทย์การใช้งานบนระบบคลาวด์ไมโครซอฟท์ อาซัวร์
เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในปัจจุบันนี้ ซึ่งทำให้มีแนวโน้มว่าโลกก้าวถึงยุค ‘Intelligent Cloud’ และ ‘Intelligent Edge’ ที่จะทำให้การทำงานของมนุษย์มีความง่ายและทำให้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น 2 บริษัท ในการนำ AI มาใช้งาน โดย บริษัท ฟรอนทิส จำกัด ที่พัฒนา Cognitive Services และบริษัท ดิจิตอล ไดอะล็อก จำกัด ที่พัฒนาโซลูชั่น CUBIK Chat เข้ามาในแพลตฟอร์มไมโครซอฟท์ อาซัวร์ โดยแสดงผลงานจากช่วงงาน Microsoft AI is NOW ในงานสัมมนา Azure Summit 2018 ที่ Centara Grand Central World ที่ผ่านมา
ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด …
อเมริกาใกล้มีระบบเตือนภัยฉุกเฉินโดยรัฐบาลผ่านบริการสตรีมมิ่งได้ โดยห้ามประชาชนปิดการเตือนภัยฉุกเฉินบนมือถือด้วย
ยาฮูประกาศปิดบริการแอพแชทเก่าแก่ “Yahoo! Messenger” ลงไปแล้ว ใครที่เคยใช้ ก็เข้าไปดาวน์โหลดประวัติการแชทย้อนหลังของตัวเองได้ภายใน 6 เดือนหลังจากนี้
AIS ร่วมกับ robowealth จำกัด เปิดบริการระบบรับชำระเงิน (E-wallet platform) บนแอปพลิเคชัน Odini ซึ่งลงทุนอัตโนมัติด้วยระบบ Robo-advisor การปรับพอร์ตการลงทุนโดยอัตโนมัติสำหรับ Robo-advisor เทคโนโลยีทางการเงิน หรือ Fintech ที่ถูกพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการด้านการลงทุนโดยเฉพาะ ในการวิเคราะห์และจัดพอร์ต ที่ทางแอปพลิเคชั่น Odini นำมาใช้ในการวิเคราะห์การลงทุน
ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS กล่าวว่า “เอไอเอส ประกาศเป็นผู้ให้บริการ Advanced Digital Wallet Platform แก่ลูกค้าประเภทองค์กรและภาคธุรกิจ โดยให้บริการเกี่ยวกับบริษัทที่ต้องการมี E-Wallet เป็นของตนเอง เพื่อต้องการสร้างบัญชี และเชื่อมต่อกับระบบในบริษัท”
โดยระบบจะลงทุนแบบอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่นักลงทุนเลือก ด้วย Robo-advisor ที่ให้บริการการลงทุนในรูปแบบออนไลน์แก่นักลงทุน สามารถผูกบัญชีเข้ากับระบบ Mobile Banking ของธนาคาร
Odini สามารถตั้งเงื่อนไขลงทุนรายเดือนแบบอัตโนมัติ Dollar Cost Averaging (DCA) ซึ่งขั้นตอนการทำ Asset Allocation หรือการกระจายทุน โดยการคัดเลือกกองทุนรวมมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของบริษัท
โดยคาดนักลงทุนรายย่อยเข้าใช้บริการได้ไม่ต่ำกว่า …
การป้องกันข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้นในรัฐบาล โดยมีการบังคับใช้กฎหมายด้านความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Privacy and data security law) ที่เข้มงวด
ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในภูมิภาคที่นวัตกรรมดิจิทัลเติบโตเร็วที่สุด เป็นผลมาจากการใช้อินเตอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนที่มากขึ้น ทำธุรกรรมข้อมูลข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้น จึงคาดว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศในเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
พบว่าธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหลายแห่ง ยังไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน และยังชะลอการลงมือปฏิบัติตามกฎหมาย เหตุส่วนหนึ่งเพราะยังไม่เข้าใจในเรื่องมาตรฐานการปฏิบัติ
สหภาพยุโรปหรืออียูประกาศใช้กฎหมายการป้องกันข้อมูล (General Data Protection Regulations: GDPR) ของยุโรปในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2561 คือหลักคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป ที่ยกระดับความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ส่งผลให้เกิดการกำหนดรูปแบบ และกระตุ้นรัฐบาลในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการป้องกันความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่น การลงโทษทางการเงินหากองค์กรมีความผิดพลาดในข้อมูลของลูกค้า รวมถึงกฎหมายบังคับสำหรับการแจ้งเตือนการละเมิดข้อมูล
การปกป้องข้อมูลที่สำคัญและเป็นความลับจึงกลายเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินธุรกิจ องค์กรมีการป้องกันข้อมูลสำคัญและลดความเสี่ยงของลูกค้าได้เร็วเท่าไร ก็จะเป็นโอกาสทางการแข่งขันและยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าต่อองค์กรตนเอง การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดอาจนำไปสู่การโดนปรับและความเสียหายร้ายแรงต่อชื่อเสียงขององค์กรตนเอง
ทวิตเตอร์เปิดผลเสิร์ชรูปแบบใหม่ ซึ่งมีทั้งข้อความทวีตล่าสุด, รูปภาพ, คลิปวิดีโอ, และผู้คนทั้งหลายที่ทวีตข้อความเรื่องนี้, และมีการรวมข่าวจากเพจต่างๆ ด้วย
ห้องพักโรงแรมยุคดิจิตัล มีลำโพง A.I. เล็กๆ ให้แขกผู้เข้าพักพูดสั่งเปิดปิดแอร์ ทีวี เพลง, จองฟิตเนส สปา, สั่งอาหารในโรงแรม, ถามข้อมูลท่องเที่ยว, ฯลฯ
Fujitsu เปิดตัวหุ่นยนต์ Robopin ที่ใช้ระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ในการแสดงอารมณ์ การสื่อสาร จากการพูดและการแสดงท่าทาง
Robopin เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็ก โดยสามารถแสดงอารมณ์ด้วยท่าทาง พูดคุยตอบโต้ และแสดงสีต่างๆ บนใบหน้าตามอารมณ์ ด้วยระบบการประมวลระบบโดย AI สามารถใช้การบริการเชื่อมต่อระบบคลาวด์เพื่อให้การสนับสนุนในการการแปลภาษาอื่นๆ พร้อมจดจำใบหน้าคนด้วยกล้องวิดีโอที่อยู่ตรงกลางใบหน้า
การแสดงท่าทางได้รับแรงบันดาลใจจากการ์ตูน ที่แสดงผ่านทางภายนอก โดยอาศัยมอเตอร์ 6 ตัวในการทำงาน โดยแบ่งไว้ในส่วนหัว 2 ตัว ส่วนแขน 2 ตัว และส่วนลำตัว 2 ตัว โดย Robopin สามารถมีการกระทำต่างๆโดยเปลี่ยนตำแหน่งการเคลื่อนไหวของข้อต่อเพื่อแสดงอารมณ์และความตั้งใจของตนเองโดยทันที
หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราสนุกและสะดวกมากขึ้น พลเมืองหุ่นยนต์ อาจจะมีมากขึ้นและเร็วขึ้นในอนาคตอันใกล้ก็เป็นได้
เปิดให้บริการใช้ในประเทศไทยแล้วสำหรับระบบ 4G LTE-TDD ในคลื่นความถี่ 2300 MHz บนแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้าง 60 MHz (2310-2370 MHz) ที่เป็นความร่วมมือโดย TOT และ dtac
สำหรับ งาน dtac จับมือกับ TOT เปิดให้บริการคลื่น 2300 MHz TDD อย่างเป็นทางการ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคลิปนี้
dtac ประกาศเปิดให้บริการคลื่น 2300 MHz TDD อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อ “ ดีแทคเทอร์โบ (dtac TURBO) ” โดยนายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ และนายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac …
คริปโตเคอร์เรนซี อาจจะเป็นคำที่หลายๆ คนไม่คุ้นเคย แต่จริงๆ แล้ว เทคโนโลยีนี้ทางภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน จึงทำให้ ก.ล.ต. ออกประกาศเกี่ยวกับการเสนอขายและการออกโทเคนดิจิทัล ด้วยการทำ ICO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ คริปโตเคอร์เรนซี ภายใต้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 โดยจะมีผลใช้บังคับ 16 ก.ค. 61 เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักคริปโตเคอร์เรนซีให้มากขึ้น โดยติดตามได้จาก ซีรีย์คริปโตเคอร์เรนซีทั้ง 3 ซีรีย์ต่อไปนี้
Cryptocurrency 101 : บล็อกเชนและบิทคอยน์นวัตกรรมแห่งศตวรรษ
Cryptocurrency 102 : เหนือกว่าบิทคอยน์
Cryptocurrency 103 : Initial Coin Offering การระดมทุนยุค 4.0
ในบทความชิ้นก่อน ผมได้แนะนำให้ท่านผู้อ่านรู้จักเทคโนโลยีบล็อกเชนกับเงินดิจิทัลบางสกุลอย่างบิทคอยน์และอีเธอร์ไปแล้ว แต่โลกของคริปโตเคอร์เรนซียังไม่จบเพียงเท่านั้น ในบทความตอนที่ 3 นี้ผมจึงขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ Initial Coin Offering หรือ ICO ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ในแวดวงการเงินและตลาดทุนอยู่ในทุกวันนี้กันครับ
Initial Coin Offering คืออะไร
Initial Coin Offering (ICO) คือ กระบวนการระดมทุนจากคนทั่วไปโดยใช้สกุลเงินดิจิทัล ICO มีเป้าหมายคล้ายกับการทำ Initial Public Offering (IPO) ของบริษัทเอกชน นั่นคือ การนำเงินที่ได้มาไปใช้ในการทำธุรกิจ ผู้ต้องการระดมทุน (Issuer) จะทำการพัฒนาดิจิทัลโทเคน (Token) ออกมาแลกเปลี่ยนกับเงินดิจิทัลสกุลหลักอย่างบิทคอยน์หรืออีเธอร์ของนักลงทุน (Investor) ตามมูลค่าที่ประกาศไว้ ซึ่งดิจิทัลโทเคนเหล่านั้นจะสามารถนำมาใช้ในแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่ถูกพัฒนาขึ้น หรือนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดรองเพื่อทำกำไรได้แบบเดียวกับหุ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ดิจิทัลโทเคนมีความแตกต่างจากหุ้นอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิที่ผู้ถือจะได้รับ โดยหุ้นจะทำให้ผู้ถือมีสิทธิในการออกเสียงได้รับเงินปันผล ขณะที่ดิจิทัลโทเคนจะแสดงสิทธิได้หลากหลายตามแต่ผู้ออกจะกำหนด เช่น สิทธิในส่วนแบ่งจากรายได้ และสิทธิในการใช้บริการแพลตฟอร์ม เป็นต้น เพราะฉะนั้น ดิจิทัลโทเคนบางรายการจึงไม่ถือเป็นหลักทรัพย์
ที่สำคัญ การทำ IPO ต้องได้รับอนุมัติหน่วยงานกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.) …
This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.
Strictly Necessary Cookie should be enabled at all times so that we can save your preferences for cookie settings.
If you disable this cookie, we will not be able to save your preferences. This means that every time you visit this website you will need to enable or disable cookies again.