เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Facebook ได้ออกมาประกาศว่า ผู้ใช้จำนวนกว่า 6.8 ล้านบัญชี ถูกเข้าถึงข้อมูลรูป โดยผ่านแอปฯ บุคคลที่สาม (Third-party Apps) เช่น แอปฯ ทายนิสัย ทายใจ หรือแอปฯ เล่นเกม ซึ่งเกิดจากการผู้ใช้อนุญาตให้แอป ฯ เหล่านี้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกในปีนี้เพราะเมื่อต้นปี ที่ Facebook ทำข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้กว่า 87 ล้านรายหลุด จนสภาคองเกรสเรียกตัว มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่า ความปลอดภัยของสื่อโซเชียลยังน่าเป็นห่วง
รวมไปถึง เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ที่ผ่านมา Google ออกมาประกาศปิด Google+ เร็วขึ้น ใน 90 วัน จากเดิม ส.ค. 2019 เป็น เม.ย. 2019 นี้ เพราะเกิดปัญหากระทบผู้ใช้ 52.5 ล้านบัญชีที่เชื่อมต่อ Google+ API โดยทำให้บั๊กสามารถเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานผู้ใช้งาน เช่น ชื่อ ที่อยู่อีเมล ที่ทำงาน อายุ แม้จะไม่ได้กำหนดค่าเป็นสาธารณะ โดยทาง Google สามารถแก้ไขปัญหาบั๊กดังกล่าวได้แล้ว
จากเมื่อครั้งก่อนที่ทาง Google ออกมาประกาศปิดตัว Google+ แอป ฯ ที่ให้บริการเครือข่ายสังคม (คล้าย ๆ กับ Facebook) ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งเปิดบริการเมื่อ 28 มิ.ย. 2011 โดยให้เหตุผลว่าต้องการปรับปรุงการปกป้องข้อมูลผู้ใช้งานทั้งบัญชี และจำนวนผู้ใช้ที่ไม่เป็นตามที่คาดหวัง โดย Google+ สำหรับองค์กรยังคงให้บริการเหมือนเดิม ไม่ได้มีการปิดตัวลงแต่อย่างใด
ผู้ใช้งานก็ควรที่จะปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตนในการเล่นสื่อโซเชียลด้วยเช่นกัน อย่างเช่น การอนุญาตเข้าถึงข้อมูลจากแอป ฯ ที่ไม่น่าไว้วางใจ รวมไปถึงการบอกรหัสหรือตั้งรหัสที่เดาง่ายเกินไป ถือเป็นข้อง่าย ๆ ที่จะปกป้องการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราในสื่อโซเชียลได้
ที่มา https://blog.google/technology/safety-security/expediting-changes-google-plus/