สำรวจตลาดสตรีมมิ่ง ในประเทศไทย ภาคภาพยนตร์

ธุรกิจเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุดในไทยประจำปี 2015 คงหนีไม่พ้นสื่อบันเทิงแบบ Steaming ที่ปีที่แล้วยังดูชิลๆ แข่งกันไม่กี่ราย แต่ปีนี้กลับมีผู้เล่นในตลาดเพิ่มขึ้นมากจนนึกภาพตามได้ไม่ยากนักว่าปีหน้าผู้เล่นที่สายป่านยาวไม่พอน่าจะมีการล้มหายไปจากตลาดบ้าง

tech2-1

เทรนด์ Streaming นี้ถือว่าไทยเราตามหลังฝั่งอเมริกาอยู่ไม่ไกล โดยในเมืองนอกฝั่งภาพยนตร์มี Netflix เป็นหัวหอก ส่วนฝั่งดนตรีก็มี Spotify เป็นหัวหอกเช่นกัน แต่ทั้ง 2 ชื่อนี้ใช้ในประเทศไทยไม่ได้ เพราะทั้งคู่ไม่ได้ให้บริการอย่างเป็นทางการในไทยเลย (ซึ่งถ้าเข้ามาให้บริการหลังจากนี้คงจะหนักใจไม่น้อยเพราะตลาดแข่งกันรุนแรง มาก)

โดยกระแสของ Streaming ที่มาแรงนี้ก็ต้องขอบคุณการแข่งขันอย่างหนักในแวดวงโทรคมนาคม ทำให้ตลาดอินเทอร์เน็ตมีสายใช้ตามบ้าน และอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านสมาร์ทโฟน ต่างแข่งกันจนอินเทอร์เน็ตเร็วขึ้น ในราคาที่ถูกลง จนปัจจุบันเราก็เห็นหลายคนดู YouTube ผ่าน 3G/4G กันแล้ว (ค่าเน็ตมันถูกมากใช่ไหม) เรามาลองดูตลาด Streaming ในไทยกันบ้างว่าตอนนี้มีใครที่เด่นๆ อยู่ในตลาด โดยวันนี้จะขอเริ่มต้นจากฝั่งภาพยนตร์กันก่อน

iflix น้องใหม่ที่บุกหนัก
บริการน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว โดยมี Catcha Group เป็นกลุ่มสนับสนุนรายใหญ่ ด้วยจุดเด่นที่มีทั้งหนัง ซีรี่ส์ การ์ตูน ทั้งจากไทยและเทศให้บริการมากที่สุดรายหนึ่งในประเทศ แถมยังมีโซนสำหรับเด็กที่คัดเอาเนื้อหาสำหรับเด็กแยกออกมา ทำให้ควบคุมเนื้อหาที่มีความรุนแรงได้ แต่มีค่าบริการเพียง 100 บาทต่อเดือน แต่ภาพยนตร์ที่อยู่ใน iflix นั้นจะเป็นหนังอายุกลางๆ ที่ลาโรงกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ตามกำหนดเวลาที่สตูดิโอผู้สร้างวางไว้

แต่บางสตูดิโอและ ภาพยนตร์บางเรื่องอาจจะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน จากกรอบเวลานี้ทำให้ภาพยนตร์ของ iflix นั้นไม่ใช่จุดเด่น เว้นแต่คนที่ไม่ได้ต้องการดูหนังใหม่มาก แต่จุดเด่นจริงๆ ของ iflix นั้นอยู่ที่ซีรี่ส์จากฝั่งอเมริกาที่มีให้เลือกชมเยอะกว่าค่ายอื่นๆ ทั้งจำนวนเรื่องและจำนวนซีซันที่ขนมาเต็มๆ และมีบางเรื่องอย่าง Mr. Robot ที่เป็น Exclusive ของ iflix ด้วย ค่าบริการแค่ 100 บาท จึงถือว่าถูกมากสำหรับคอซีรี่ส์

iflix สามารถรับชมได้หลายช่องทาง ทั้งชมผ่านคอมพิวเตอร์ในเบราว์เซอร์ ชมผ่าน iOS และ Android ผ่านแอพฯ แถมยังสามารถดาวน์โหลดหนังมาเก็บไว้เปิดดูตอนไม่มีอินเทอร์เน็ตได้ด้วย และสามารถชมผ่าน TV ผ่าน Chromecast แต่ในตอนนี้ยังไม่รองรับ Apple TV

Primetime บริการที่ครบเครื่องเรื่องเทคโนโลยี
Primetime เป็นบริการจากคนไทยที่มีเนื้อหาหลากหลายประเภทมากที่สุดคือ

  • ภาพยนตร์ฮอลลีวูด
  • ซีรี่ส์อเมริกา
  • ภาพยนตร์ไทยโดยเฉพาะจากค่าย GTH
  • ซีรี่ส์ไทย
  • หนังใหม่ระดับลาโรงแค่ 3 เดือน ในรูปแบบหนังเช่า ซึ่งสามารถรับชมได้ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเช่าเรียบร้อยแล้ว
  • คอนเสิร์ต
  • เดี่ยวไมโครโฟน
  • ฟรีทีวี (อันนี้ดูฟรี)
e204

ฉบับที่ 204 เดือนธันวาคม

ปรับร้านค้ายุคดิจิทัล รับเทรนด์ปี 59

ซึ่งก็สามารถเข้าไปไล่ดูได้ว่ามีหนังหรือซีรี่ส์เรื่องที่ชอบหรือไม่ ซึ่งคลังหนังก็จะแตกต่างจากค่ายอื่นๆ อยู่บ้าง ก็สามารถเปิดแอพฯ หรือเว็บฯ เข้าไปไล่ดูได้ ในส่วนของการรับชม Primetime เป็นบริการที่ชมได้หลากหลายช่องทางที่สุดในปัจจุบัน ทั้งการชมผ่านเบราว์เซอร์ในคอมพิวเตอร์ ชมผ่านแอพฯ ใน iOS และ Android หรือจะสตรีมไปดูบนจอทีวีผ่าน Apple TV และ Chromecast ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีกล่อง Android ที่ติดตั้งแอพฯ ของ Primetime เรียบร้อยอย่างกล่อง CTH และมี Smart TV บางค่าย อย่าง LG ที่มีแอพฯ Primetime ติดไปด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ถือว่ารองรับลูกค้าได้ดี นอกจากนี้ การรับชมผ่านทางสมาร์ทโฟน Android ยังมีระบบเสียง dts headphone X ให้เลือกใช้ด้วย ก็ถือเป็นค่ายเดียวที่มีเทคโนโลยีแบบนี้

tech2-2

ปีหน้าเราคงเห็นภาพนี้ชัดขึ้นเรื่อยๆ เห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนที่โตกับมาโทรทัศน์ที่ยังคงรับชมรายการผ่านทีวีอยู่ กับคนที่โตมากับอินเทอร์เน็ต ที่หันไปชมรายการทาง YouTube หรือบริการ Streaming อื่นๆ มากกว่า

แต่ข้อเสียของ Primetime คือเป็นบริการที่มีระบบราคาซับซ้อนที่สุด เนื่องจากมีเนื้อหาหลายรูปแบบ ทำให้มีรูปแบบการจ่ายเงินถึง 8 รูปแบบ ตั้งแต่แพ็กเกจ ใหญ่สุด 549 บาทต่อเดือน ที่ดูได้ทั้งหนังและซีรี่ส์ พร้อมชมหนังเช่าได้อีก 2 เรื่อง หรือแพ็กเกจสำหรับคนที่ชมซีรี่ส์อย่างเดียว (ดูภาพยนตร์ไม่ได้) ที่คิดราคา 299 บาทต่อเดือน ส่วนถ้าจะดูหนังอย่างเดียวไม่เอาซีรี่ส์คิด 199 บาทต่อเดือน หรือถ้าจะดูหนังเช่าอย่างเดียวก็คิด 2 เรื่อง 100 บาท ซึ่งก็ชวนสับสนสำหรับผู้ใช้ไม่น้อย

Hollywood HD ผู้ให้บริการภาพยนตร์แบบสตรีมมิ่ง รายแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จในไทย
Hollywood HD นั้นถือเป็นบริการแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย ซึ่งถึงตอนนี้ก็ยังโดดเด่นในด้านเนื้อหาที่มีการจัดหมวดหมู่ไว้เป็นอย่างดี มีภาพยนตร์ไทยให้เลือกชมมากที่สุด มีหนังฮอลลีวูดให้เลือกดูพอสมควร (แอบกระซิบว่ามีหนัง R ให้ดูด้วย) มีการ์ตูนจากฝั่งญี่ปุ่นให้ดูอีกไม่น้อย โดยเฉพาะผลงานของ อ. Makoto Shinkai อย่าง 5 Centimeters Per Second ที่มีให้ชมด้วย มีฟรีทีวีให้ชม ซึ่งนอกจากการรับชมในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ตามปกติแล้ว ยังมีภาพยนตร์ใหม่ให้ซื้อด้วย โดยจ่ายเป็น Point (ซึ่งจะได้มาพร้อมการเติมแพ็กเกจบุฟเฟ่ต์) หรือถ้า Point ไม่พอก็จะจ่ายเป็นเงินสดก็ได้ แต่ราคาจะสูงกว่าที่ Primetime เปิดให้เช่าหนังใหม่พอสมควร แต่สำหรับคนที่เน้นซีรี่ส์ Hollywood HD อาจจะไม่เหมาะสมเท่าไรเพราะมีให้เลือกชมน้อยกว่าคู่แข่งมาก

ในส่วนของการรับชม Hollywood HD รองรับการชมผ่านเบราว์เซอร์ในคอมพิวเตอร์ การชมผ่านแอพฯ ใน iOS และ Android และสามารถสตรีมภาพยนตร์ไปยัง Apple TV ได้ ส่วน Chromecast ยังไม่รองรับ และอัตราค่าบริการของ Hollywood HD นั้นเริ่มต้นที่ 199 ต่อเดือน สามารถชมหนังบุฟเฟต์ได้ไม่อั้น และได้ 200 Point สำหรับการซื้อหนังหรือเอาไปแลกของรางวัลต่างๆ ได้

บริการอื่นๆ ที่เปิดให้บริการในไทย
นอกเหนือจาก 3 บริการเด่นๆ ที่เรายกมาแล้ว ในไทยยังมีผู้ให้บริการอีกมากมายที่เราคงไม่ลงรายละเอียดมาก ได้แก่

  • LINE TV บริการในเครือแอพฯ แชตยอดนิยม ที่เปิดให้ดูภาพยนตร์และซีรี่ส์ไทย/เทศฟรี โดยจุดเด่นคือคอนเทนต์ในประเทศที่แข็งแรงมากซีรี่ส์ชื่อดังหลายเรื่องดูได้ เฉพาะทาง LINE TV
  • Doonung บริการชมภาพยนตร์จากเครือ Mono ที่มีหนังในคลัง
    ค่อนข้างแตกต่างจากบริการอื่นๆ เสียค่าสมาชิก 129 บาทต่อเดือน
  • Doonee บริการที่เน้นการดูซีรี่ส์ฝรั่งโดยเฉพาะ คิดค่าบริการรายเดือน 159 บาท
  • HOOQ บริการจากค่าย AIS ที่มีทั้งภาพยนตร์และซีรี่ส์ให้ชมคิดค่าบริการรายเดือน 119 บาท
  • Wisplay บริการดูหนังแบบเหมาๆ ที่มีแพ็กเกจใช้สแตมป์ 7-11 มูลค่า 59 บาท เลือกเช่าหนังเหมาได้เป็นชุดๆ

ก็พอจะเห็นภาพแล้วว่า ตลาดสื่อบันเทิงไทยกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางที่ห่างจากทีวีปกติไปทุกที คนรุ่นที่เติบโตมากับอินเทอร์เน็ต จะสนใจรายการทีวีปกติลดลง ไม่ได้เฝ้าหน้าจอเวลาที่รายการออกอากาศกันเท่าไรแล้ว เพราะสามารถกดดูย้อนหลังในอินเทอร์เน็ตได้

จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้การจะสร้างรายการดังในยุคนี้ก็ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ไป ในเมื่อคนที่เปิดทีวี เปิดวิทยุทิ้งเอาไว้น้อยลง คนก็ไม่ได้รู้จักรายการใหม่ๆ จากการดูผ่านตายามรอรายการโปรด การโปรโมตสื่อสำหรับคนยุคอินเทอร์เน็ตจึงต้องหันไปเพิ่งอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์แทน และให้ไปดูในบริการสตรีมมิ่งต่างๆ แทนที่จะให้รอดูทางหน้าจอโทรทัศน์อย่างเดียว

ซึ่งปีหน้าเราคงเห็นภาพนี้ชัดขึ้นเรื่อยๆ เห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนที่โตกับมาโทรทัศน์ที่ยังคงรับชมรายการผ่านทีวีอยู่ กับคนที่โตมากับอินเทอร์เน็ต ที่หันไปชมรายการทาง Youtube หรือบริการ Streaming อื่นๆ มากกว่า แล้วฉบับหน้าเรามาดูในฝั่งเพลงกันบ้าง ที่ต้องบอกว่าดุเดือดไม่แพ้กันเลย

Contributor

eka-x

Eka-X

เอกพล ชูเชิด

วุ่นวายกับเทคโนโลยีมาตั้งแต่เยาว์วัย จนเริ่มมีอายุเยอะก็จับคีย์บอร์ดหาเลี้ยงชีพด้วยงานเขียนด้านเทคโนโลยีมาตลอด ทั้งยังเปิด Aofapp.com เว็บไซต์ส่วนตัวที่เล็กมากๆ เพื่อเขียนรีวิวแอพฯ มือถือเรื่อยๆ ในเวลาว่าง ถึงจะสาหัสกับงานขนาดไหนก็ยังเขียน แชร์ บ่นไปเรื่อยใน Twitter

Twitter: Twitter.com/eka_x

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

กระเป๋าเงินดิจิทัลเปลี่ยนวิถีชีวิต

นอกจากเงินสดและบัตรเครดิตแล้ว รูปแบบการใช้จ่ายเงินแบบใหม่ที่กำลังมาแรงคือ กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital e-Wallet) เพราะสามารถแก้ไขปัญหาได้หลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีบัตรเครดิตใช้กัน ปัญหาของเงินรูปแบบเก่าสู่กระเป๋าเงินดิจิทัล ถึงแม้ว่าเราจะใช้เงินสดและบัตรเครดิตกันมาอย่างยาวนาน...