ไอท้อปพลัส ดูแลเว็บไซต์ ให้ประสบความสำเร็จ

ไอท้อปพลัส บริษัทออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ พร้อมกับทำการตลาดออนไลน์สำหรับกลุ่ม SMEs ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะนำประสบการณ์และการเป็นพาร์ตเนอร์ระดับพรีเมี่ยมของกูเกิลมาช่วยผู้ประกอบการทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้น

develop1

กัมพล ธนาปัญญาวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอท้อปพลัส จำกัด

เข้าใจผู้ประกอบการ SMEs
กัมพล ธนาปัญญาวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอท้อปพลัส จำกัด กล่าวว่า ไอท้อปพลัส ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการให้บริการในกลุ่มลูกค้า SMEs ที่บุกตลาดนี้ เพราะเป็นกลุ่มใหญ่ในตลาด ประเทศไทยมี SMEs ประมาณ 3 ล้านราย แต่มีเว็บไซต์ 3-4 แสนรายเท่านั้น  มีคนเข้าสู่ระบบออนไลน์ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งเห็นจากลูกค้าที่เข้าบริษัทพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SMEs ที่ไม่เคยมีเว็บไซต์มาก่อน ทำให้ยิ่งตอกย้ำว่ามีธุรกิจ SMEs เป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้ามาสู่โลกออนไลน์

ทำไมบริษัทรับออกแบบเว็บไซต์ ไม่ชอบทำงานกับกลุ่ม SMEs เพราะว่างบประมาณน้อย ทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดขึ้น แต่ถ้าเราวางระบบที่ดีจะช่วยให้สามารถทำธุรกิจเป็นการบริการต่อเนื่อง และรองรับลูกค้าในทุกขนาดทุกธุรกิจได้  ดังนั้น จึงรับจัดทำเว็บไซต์และการตลาดแบบครบวงจร เป็นแบบ One Stop Service คือมีบริการตั้งแต่ออกแบบเว็บไซต์ การตลาดด้วย Google  และ Facebook

กัมพล กล่าวต่อว่า เริ่มบริษัทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยช่วงแรก มีบริการรับทำเว็บไซต์อย่างเดียว จนถึงปี 2554 ถึงเริ่มเปิดให้บริการทำโฆษณาบนกูเกิล และจัดงาน Thailand Online Marketing ขึ้นมาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ โดยมีคนเข้ามาร่วมฟังงานสัมมนาจำนวน 4,000 คน ซึ่งผลสำเร็จครั้งนั้น จึงได้เป็นตัวแทนของกูเกิลในด้านของ Google SMEs Premier Partner ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ราย

ลูกค้าคือศูนย์กลาง
กัมพล กล่าวว่า ธุรกิจที่ทำเว็บไซต์จากไอท้อปพลัสจะต้องต่อยอดให้กับธุรกิจ และช่วยขยายการขายสินค้าได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่กระตุ้นให้สร้างเว็บไซต์ เพื่อเป็นเครื่องประดับธุรกิจให้ดูทันสมัยแค่นั้น  สิ่งที่วางแผนเว็บไซต์ให้กับลูกค้าอย่างแรกคือ การทำเว็บไซต์รองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ  ต่อมาคือ การสร้างอีเมลของแบรนด์ให้กับเจ้าของธุรกิจเพื่อใช้ในการติดต่อกับลูกค้า

อีเมลที่ใช้ Address เป็นชื่อของแบรนด์ธุรกิจจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการซื้อ-ขาย บนโลกออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เนื่องจากไม่เห็นหน้ากัน ดังนั้น ความน่าเชื่อถือจึงสำคัญมาก หลังจากนั้น จะมีการจัดอบรมการแก้ไขข้อมูลบนเว็บไซต์ไม่จำกัดจำนวนครั้งแก่ลูกค้าที่จ้างทำเว็บไซต์ เพราะว่าทุกวันนี้ คอนเทนต์เป็นหัวใจสำคัญในการดึงดูดคนเข้ามา ถ้าคอนเทนต์ไม่ถูกใจ ธุรกิจก็จบทันที เพราะไม่ถูกส่งต่อออกไปถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง

ดังนั้น ข้อมูลที่ทันสมัยจึงสำคัญมาก ซึ่งเจ้าของธุรกิจไม่ต้องไปจ้างใครมาเรียนรู้ แต่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้  การให้บริการที่รองรับความต้องการของธุรกิจในหลายระดับ ไม่ต้องการให้ยุ่งยากในการเลือกซื้อฟีเจอร์ จึงออกแบบให้เว็บไซต์สำเร็จรูปมีฟีเจอร์ที่ครบครัน เนื่องจาก SMEs ไม่มีเวลามาศึกษา เรื่องการทำการตลาดออนไลน์ เพราะมุ่งในการขายสินค้ามากกว่า เมื่อใช้บริการสร้างเว็บไซต์จึงจบในขั้นตอนเดียวไม่ต้องซื้อเพิ่ม โฟกัสเรื่องทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว

“บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป ที่ให้ลูกค้าสมัครใช้บริการสร้างเว็บไซต์เองภายใน 3 ขั้นตอน จะมีการอธิบายให้ลูกค้าทราบว่าเว็บฯ สำเร็จรูปนั้นเหมาะกับคนที่มีเวลา และมีความสามารถในการออกแบบ เนื่องจากพบว่า คนทำเว็บฯ สำเร็จรูป และประสบความสำเร็จนั้นมีจำนวนน้อยมาก ในตลาดมีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์”

สำหรับเว็บไซต์การกำหนดหัวข้อคอนเทนต์ หรือการแบ่งหมวดหมู่การเข้าถึงคอนเทนต์ นั้นเป็นสิ่งสำคัญ จะต้องทำให้คนเข้าเว็บไซต์เข้าใจคอนเทนต์อย่างครบครันและง่ายที่สุด ซึ่งหากเจ้าของธุรกิจไม่มีเวลาในการอัพเดตสินค้าบ่อยๆ ทางบริษัทก็มีบริการดูแลเว็บไซต์ให้  รวมถึงหากผู้ประกอบการ SMEs ไม่มีเวลา บริษัทฯ มีบริการรับจ้างทำเว็บไซต์ให้กับลูกค้าด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการด้านนี้มากกว่าเว็บฯ สำเร็จรูป

e204

ฉบับที่ 204 เดือนธันวาคม

ปรับร้านค้ายุคดิจิทัล รับเทรนด์ปี 59

เว็บไซต์ที่ดีต้องเข้าถึงสินค้า
กัมพล กล่าวว่า ความจริงที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องทราบคือ การมีแค่เว็บไซต์ไม่ใช่เป็นการการันตีว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จ แต่ต้องพึ่งพาโฆษณาออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อผิดๆ ว่า เพียงแค่มีเว็บไซต์ก็ขายสินค้าได้แล้ว ซึ่งจะต้องชี้แจงว่า การเปิดร้านค้าออนไลน์ไม่เหมือนกับการขายสินค้าผ่านช้อปทั่วไป ที่ใครๆ เดินผ่านแล้วจะมองเห็นและเข้ามาดูสินค้า ดังนั้น วิธีการทำให้เป็นที่รู้จักด้วยการโฆษณาออนไลน์ เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายในตลาด ยังต้องลงโฆษณาบนสื่อทีวี เพื่อโปรโมตสินค้าให้ผู้บริโภคได้รู้จัก

ผู้ประกอบการ SMEs ที่หันมาโปรโมตหรือขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ จึงต้องเข้าสู่การโฆษณาออนไลน์เพื่อทำให้คนออนไลน์ได้รู้จักและเข้าถึงสินค้าเช่นกัน โดยไอท้อปพลัส มีบริการโฆษณาออนไลน์ของ Google ในการช่วยวางแผนการตลาด  ได้แก่ โฆษณาหน้าแรกของ Google โดยดูแลเรื่องการคิด และเลือก Keyword ไม่จำกัดคำค้นหา เพราะต้องการช่วยให้เว็บไซต์ของลูกค้าไปปรากฏในกลุ่มเป้าหมายเร็วและมากที่สุด รวมถึงการทำโฆษณาแบบ Google Display Network กับบริการโฆษณาบน YouTube แต่สองบริการนี้ เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการ Brand Awareness สูง ไม่เหมาะกับธุรกิจที่เน้นการสร้างยอดขาย

“วันนี้บางธุรกิจ ลงทุนทำโฆษณากับ Google เพียงครึ่งเดือน ก็สามารถเห็นผลแล้ว แต่บางธุรกิจอาจใช้เวลา 1-3 เดือน หรือธุรกิจนี้ใช้งบลงทุน 500 บาท แต่กับอีกธุรกิจอาจต้องใช้งบโฆษณา1,000 บาท นอกจากนี้ บางธุรกิจเหมาะกับการสร้างยอดขายอย่างเดียว หรือบางธุรกิจต้องสร้างทั้งแบรนด์และยอดขายควบคู่กันไป ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเข้าใจถึงการวางแผนการตลาดออนไลน์ในเชิงลึกด้วย”   

นอกจากนี้ ยังมีบริการทำโฆษณาบน Facebook ให้กับผู้ประกอบการด้วย สำหรับ Facebook จะต้องอธิบายให้กับผู้ประกอบการทราบด้วยว่า การลงเพียงโฆษณาธุรกิจจะได้ยอดไลค์เข้ามา แต่อาจไม่เกิดการ Engage ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าขึ้น เพราะถ้าคลิกเข้ามาดู แต่คอนเทนต์ไม่ตรงใจ หรือไม่มีการอัพเดตตลอดเวลา ผู้บริโภคมีสิทธิ์เปลี่ยนใจ Unlike และไม่เข้า Page นี้อีกต่อไป

develop2

กัมพล กล่าวว่า Facebook ไม่ได้ดึงดูดลูกค้าที่ต้องการซื้อ แต่ดึงดูดในกลุ่มลูกค้าที่สนใจสินค้า โดยที่แบรนด์หรือผู้ประกอบการจะไม่รู้ว่าผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อเมื่อไร  จึงมีบริการเสริมให้แก่ลูกค้าคือ Content Admin ในการเป็นผู้ช่วยอัพเนื้อหาบน Facebook เนื่องจากคอนเทนต์สำคัญมากกับการทำการตลาดบน Facebook

กัมพล แนะนำเว็บไซต์ที่ได้ร่วมงานกับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และมีความน่าสนใจ เช่น เว็บไซต์ Swisssheepfarm.com รวมถึงเว็บไซต์ขายไข่ไก่คือ www.ฟาร์มไก่พรหมรัศมี.com ซึ่งเป็นอีกธุรกิจที่ตอนแรกไม่คิดว่าจะให้ความสำคัญกับออนไลน์ แต่ก็สามารถปรับธุรกิจเข้ามาออนไลน์ได้และประสบความสำเร็จอย่างดี นอกจากนี้เว็บไซต์ Liftforhome.com ที่ไอท้อปพลัส ได้เข้ามาช่วยในการทำการตลาดออนไลน์ จากวันที่ไม่มีลูกค้าจน วันนี้มีลูกค้าซื้อลิฟต์เฉลี่ยปีละ 40 ตัว ซึ่งถือว่ามีการเติบโตสูงมาก โดยช่วงแรกบริษัทนี้เน้นการแจก โบรชัวร์ตามบ้านหลังใหญ่ที่คาดว่ามีผู้สูงอายุและกำลังซื้อ แต่พบว่าไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้

ตอนนี้ลูกค้าของไอท้อปพลัสจะเน้นทำเว็บไซต์รูปแบบให้ข้อมูลมากกว่า เพราะส่วนใหญ่การทำธุรกิจแบบ B2B คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดย 3 อันดับธุรกิจที่เข้ามาทำเว็บไซต์สูงสุด ได้แก่ ธุรกิจรีเทล รองลงมาเป็นธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจรูปแบบ B2B

ในปีหน้า ไอท้อปพลัสจะรองรับการให้บริการมากขึ้น เนื่องจากเปิด AEC อย่างเป็นทางการในสิ้นปีนี้ จะเน้นทำการตลาดในกลุ่ม SMEs หันมาใช้ออนไลน์มากขึ้น เพื่อใช้เป็นช่องทางการติดต่อค้าขายกับประเทศในกลุ่มอาเซียนได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น โดยเน้นนำเสนอบริการเกี่ยวกับ AdWords เพื่อช่วยให้สามารถแสดงการสืบค้นไปปรากฏในประเทศต่างๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ SMEs ได้ ซึ่งตอนนี้ เว็บไซต์ที่ทำให้กับผู้ประการนั้นสามารถรองรับ 2 ภาษา และในอนาคตมองว่า อาจเพิ่มภาษาจีนหรือญี่ปุ่นให้กับลูกค้าที่สนใจตลาดประเทศเหล่านี้

 

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

เอไอ ChatGPT ดังจนมีแอพปลอมโผล่มากมายทั้งใน AppStore และ PlayStore

ล่าสุดมีแอพ ChatGPT ปลอม โผล่ขึ้นทั้งใน App Store ของแอปเปิ้ลและ Play Store ของกูเกิลมากมาย …