ช่วงนี้หลายๆคนทำงานจากที่บ้านมาได้พักใหญ่ และต่างก็พากันแชร์ประสบการณ์ มุมมอง และสิ่งที่ได้เรียนรู้ บนโลกโซเชียลกันอย่างคึกคัก
… ทีม Digital Age Magazine เราจึงรวบรวมเอา 9 ข้อคิดดีๆ ที่ประมวลมาจากผู้คนมากมายมาฝากกัน …
- ต้นทุนอุปกรณ์เพิ่ม – ภาระของใคร ?
ทีมงานที่ต้องทำงานจากบ้านบางคนอาจไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีโน๊ตบุ้คหรือแทบเลตใดๆ จะใช้มือถือทำงานก็ไม่ได้ …ทางออกคือทางองค์กรอาจต้องซื้อให้ยืมไปใช้ก่อน แล้วคืนมาเป็นของสำนักงานเมื่อผ่านช่วงนี้ไปแล้ว
หรืออีกทางเลือกสำหรับพนักงานที่มีกำลังซื้อ ก็อาจจะให้เงินอุดหนุนบางส่วน เช่น 20% เพื่อการไปซื้อคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ้คมาใช้
- กระจายกำลังเน็ตให้ดี – อย่าให้มีคอขวด
หลายๆองค์กรแบ่งบุคคลากรบางส่วนทำงานจากบ้าน และบางส่วนยังนั่งทำงานที่ออฟฟิศ และเมื่อต้องประชุมพร้อมกัน ฝ่ายทำงานที่บ้านนั้นอาจไม่มีปัญหา เพราะว่าใช้เน็ตบ้านอยู่แค่คนสองคน
แต่ฝ่ายที่สำนักงานนั้นพบกับปัญหาภาพเสียงกระตุก เพราะเนตสำนักงานไม่มีความแรงพอที่จะรับสัญญาณวิดิโอพร้อมๆกันหลายสิบหรือหลายร้อยคนอย่างนี้ได้
ทางออกอาจจะเป็นการรีบขยายความเร็วเน็ตที่ออฟฟิศ หรืออัพเกรดเครื่องต่างๆให้รับไหว หรือไม่ก็ลดจำนวนเครื่องทางฝั่งออฟฟิศลง
- ความเชื่อใจ – และการวัดผล
เดิมที่ต้องสแกนนิ้วมือหรือรูดบัตรเข้าออก ก็อาจเปลี่ยนเป็นการประชุมสั้นๆออนไลน์ต้นวันและสิ้นวัน พร้อมบอกกล่าวสั้นๆว่าใครทำอะไรอยู่ และติดปัญหาตรงไหน เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเวลาทำงานหลัก
ส่วนระหว่างวันนั้น ก็คงต้องเชื่อใจ ให้ทีมงานต่างคนต่างทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ แทนที่จะต้องไล่ตรวจสอบว่าเปิดหน้าจอตลอดเวลาทำงานหรือไม่ ไปที่อื่นหรือเปล่า ฯลฯ
- เผื่อใจให้ความสับสนทางการสื่อสาร
หลายครั้งการแชทผ่านข้อความ นั้นไม่สามารถถ่ายทอดสารทั้งหมดได้ เช่นอารมณ์ความรู้สึก หรือระดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ หรือบางครั้งก็ถ่ายทอดผิดไป
ฉะนั้นทุกฝ่ายควรเผื่อใจไว้ว่าอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นได้ จึงควรคิดป้องกันไว้ หรือถ้าเกิดขึ้นแล้วก็เปิดใจกว้างและปรับความเข้าใจให้ตรงกันอย่างสันติ เพื่อให้งานคืบหน้าต่อไป
- ระวังสิ่งรบกวนการทำงาน
บางคนไม่ชินกับการทำงานที่บ้านนานๆทุกวัน และมักว่อกแว่กไปกับสิ่งรบกวน เช่น เกมส์ที่ลงไว้ในเครื่อง ซีรี่ส์เกาหลีในเว็บต่างๆหรือทางทีวี หรือแม้กระทั่งน้องแมวน้องหมาที่เลี้ยงไว้
… ฉะนั้นแต่ละคนต้อง “แบ่งเวลา” และเพิ่มวินัยในการอยู่บ้านเฉพาะช่วงเวลาทำงาน ให้ต่างไปจากการอยู่บ้านแบบเดิมๆ
- ระวังสุขภาพ จาก office syndrome
บางคนนั้นไม่เคยเตรียมเก้าอี้และโต๊ะทำงานไว้ที่บ้าน มีแต่โซฟาไว้นั่งๆนอนๆเอกเยนก กับโต๊ะกินข้าวที่นั่งใช้คอมนานๆก็ปวดเมื่อยไปหมด
… ซึ่งถ้านั่งทำงานผ่านเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้นานไป นานไปอาจเป็นผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้
ครั้นจะออกไปร้านกาแฟก็ไม่ได้เด็กขาดเพราะปิดกันหมดในช่วงนี้ ทางออกจึงควรหาเก้าอี้และโต๊ะดีๆจากทางอออนไลน์แล้วสั่งซื้อมาใช้ ซึ่งทางออฟฟิศก็อาจช่วยอุดหนุนด้วยดังที่กล่าวไป
- ระวังอย่าโหมกินจุบจิบ
อีกสิ่งที่อาจจะไม่รบกวนการทำงานนัก แต่ทำร้ายสุขภาพในระยะยาว คือการกินจุบจิบตลอดเวลาทำงาน ซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อนในออฟฟิศ
ทั้งนี้เพราะติดนิสัยชอบนั่งกินจุบจิบในวันหยุดเสาร์อาหทิตย์หน้าทีวี ซึ่งเดิมก็ทำแค่สัปาห์ละ 2 วัน แต่เมื่อมาทำทุกวันหน้าคอมฯ ก็ต้องระวังน้ำหนักและสุขภาพทั้งโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะอ้วน ฯลฯ
8. เรื่องของเงินเดือนและค่าตอบแทนในช่วงนี้
ไม่มีใครรู้ว่าจะต้องทำงานที่บ้านอีกนานเท่าไร บางบริษัทองค์กรก็คงเงินเดือนและค่าต่างๆไว้อย่างเดิมในช่วงนี้ แต่บางที่ก็ลดลงบ้าง
ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็ต้องระวังว่าจะมีผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงานหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นอาจสูญเสียคนเก่งคนดีไปให้องค์กรอื่นๆก่อนเวลาอันควร
- สรุปข้อดี ไว้ต่อยอดระยะยาวหลังวิกฤต
เมื่อ Work from home นานๆไป บางองค์กรอาจจะติดใจ และพบว่างานบางอย่าง หรือทีมงานบางคน ทำงานได้ผลงานมากเป็นพิเศษ หรือมีประสิทธิภาพกว่าเดิมมากในช่วงนี้
ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ต้องทำการสรุปวิเคราะห์ไว้ เผื่อเมื่อทุกอย่างกลับมาเป้นอย่างเดิมแล้ว ก็อาจสร้างระบบใหม่ ให้มีการ Work from home ได้กับบางอย่างและบางคน โดยที่ไม่กระทบต่อระบบและความรู้สึกของคนอื่นๆ
…
สุดท้ายถ้ามีใครมีมุมมองอื่นๆ ก็มาช่วยกันแบ่งปัน เพื่อให้พวกเราทุกคนฝ่าภาวะนี้ไปด้วยกันอย่างราบรื่นและสร้างสรรค์ที่สุด (เท่าที่จะทำได้ !)
ภาพประกอบจาก
athenaexecutiveservices.com/remote-workers-outperform-office-workers