กระเป๋าเงินดิจิทัลเปลี่ยนวิถีชีวิต

wallet-pay

นอกจากเงินสดและบัตรเครดิตแล้ว รูปแบบการใช้จ่ายเงินแบบใหม่ที่กำลังมาแรงคือ กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital e-Wallet) เพราะสามารถแก้ไขปัญหาได้หลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีบัตรเครดิตใช้กัน

ปัญหาของเงินรูปแบบเก่าสู่กระเป๋าเงินดิจิทัล
ถึงแม้ว่าเราจะใช้เงินสดและบัตรเครดิตกันมาอย่างยาวนาน แต่ทั้ง 2 ระบบนี้ก็มีปัญหาที่ทำให้เกิดช่องว่างสำหรับเงินดิจิทัลครับ

  • เงินสด มีปัญหาต้นทุนในการบริหารเงินสูง เช่น ต้นทุนในการขนส่งเงินไปธนาคาร ไปใส่ตู้เอทีเอ็ม ต้นทุนในการรักษาความปลอดภัยเงินสด ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ก็แสดงออกมาในรูปของค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ผู้ใช้ต้องจ่าย นอกจากนี้ยังเอาไปใช้จ่ายออนไลน์ได้ยาก และยังมีปัญหาติดตามมาของเงินยาก กลายเป็นที่มาของการฟอกเงิน
  • บัตรเครดิต ผู้สมัครบัตรเครดิตได้ต้องมีการงานที่มั่นคงพอสมควร ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรเครดิต ซึ่งข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2559 มีบัตรเครดิตในไทยราว 23 ล้านใบ ที่ยังไม่ได้คิดว่าหลายคนก็มีบัตรเครดิตหลายใบ เทียบกับจำนวนประชากรไทยที่ 65 ล้านคน ก็ยังห่างจากครึ่งหนึ่งอยู่มากมายนัก

wallet-pay

จากปัญหาที่เงินสดมีต้นทุนสูง ส่วนบัตรเครดิตก็มีผู้ใช้น้อย จนทำให้การค้าออนไลน์ทำได้ยาก ระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลจึงเข้ามาอุดช่องว่างในเรื่องนี้

การทำงานของกระเป๋าเงินดิจิทัล
หลักการง่ายๆ ของกระเป๋าเงินดิจิทัลคือ การเติมเงินไปเก็บไว้เป็นรูปแบบดิจิทัลในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ แล้วสามารถนำเงินนี้ออกไปใช้จ่ายได้ในช่องทางที่ค่ายนั้นๆ สนับสนุน เช่น บริการ True Money, AirPay หรือ Rabbit LINE Pay ที่ให้บริการในไทยแล้ว ผู้ใช้สามารถหักเงินจากบัญชีธนาคาร เพื่อนำไปเติมในกระเป๋าเงินดิจิทัล แล้วใช้เงินที่อยู่ในกระเป๋าเงินนี้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ซื้อสินค้าจากร้านที่ร่วมในระบบ (เช่น True Money ใช้จ่ายใน 7-11 ได้) รวมถึงซื้อของออนไลน์ในลักษณะบัตรเครดิตเสมือนในร้านค้าที่รองรับ Mastercard ได้

ซึ่งตอนนี้กำลังมีความพยายามสร้าง Gateway การชำระเงินสำหรับบริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในไทย นำโดยบริษัท Buzzebees เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ Digital e-Wallet จากต่างค่ายมาใช้ Gateway เดียวกัน ให้สามารถใช้จ่ายและชำระบริการได้มากขึ้น

แต่ตัวอย่างการใช้งานกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ชัดเจนที่สุดคือ บริการ AliPay ที่เป็นเจ้าตลาดในจีน ที่สามารถใช้จ่ายได้ตั้งแต่ออนไลน์ไปจนถึงร้านค้าริมทาง แค่กดมือถือ เปิด QR Code ให้ร้านค้าสแกนเพื่อส่งคำขอเรียกเก็บเงินมาให้ผู้ใช้ยืนยัน หรือผู้ใช้จะสแกน QR Code ของร้านค้า แล้วกดจ่ายผ่านมือถือก็ได้ ซึ่งคิดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่าบัตรเครดิตและใช้จ่ายด้วยมูลค่าน้อยๆ ได้ จนเกิดเป็นระบบ Micro Payment ที่แท้จริง

digital-age-magazine-220-april

ฉบับที่ 220 เดือนเมษายน

จับตลาดในยุคโมบายล์เฟิร์ส

 

ผลกระทบกับ e-Commerce
มาถึงตรงนี้ น่าจะมองภาพออกนะครับว่า กระเป๋าเงินดิจิทัลนั้นจะช่วยการทำธุรกิจ e-Commerce ได้อย่างไร เพราะเมื่อผู้ใช้มีเงินที่สามารถใช้จ่ายบนโลกดิจิทัลได้มากขึ้นแล้ว ปัญหาคอขวดในจุดเดิมๆ ของระบบ เช่น การรอโอนเงิน รอยืนยันก็จะลดลง ผู้ค้าสามารถจัดการเงินเข้าได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมของตลาดโดยรวม (ส่วนภาครัฐก็จะได้ประโยชน์ตรงที่ตามเก็บภาษีได้ง่ายขึ้น)

กระเป๋าเงินดิจิทัลก็เหมือนสึนามิชาร์จพลังรอวันบูมในไทย เพราะเมื่อเงินดิจิทัลเข้าสู่กระแสหลัก ภายใต้การนำของ PromptPay ที่สร้างการรับรู้ และความเข้าใจการใช้งานให้กับคนไทยแล้ว คนไทยก็จะเริ่มใช้จ่ายผ่านดิจิทัลกันมากขึ้น ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยที่ไม่ต้องพกเงินสดติดตัว ความสะดวกไม่ต้องควานหาเหรียญ และมีค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างกันต่ำมาก (อย่าง PromptPay โอนเงินไม่เกิน 5,000 บาท ไม่มีค่าธรรมเนียมแล้ว) ก็ทำให้ผู้บริโภคมีเหตุผลที่จะใช้งานมากขึ้น

ตอนนี้ก็แค่รอระบบรับจ่ายพัฒนาให้สมบูรณ์ และร้านค้าต่างๆ นำไปติดตั้งก็เท่านั้นเอง

Contributor

eka-x

Eka-X

เอกพล ชูเชิด

วุ่นวายกับเทคโนโลยีมาตั้งแต่เยาว์วัย จนเริ่มมีอายุเยอะก็จับคีย์บอร์ดหาเลี้ยงชีพด้วยงานเขียนด้านเทคโนโลยีมาตลอด ทั้งยังเปิด Aofapp.com เว็บไซต์ส่วนตัวที่เล็กมากๆ เพื่อเขียนรีวิวแอพฯ มือถือเรื่อยๆ ในเวลาว่าง ถึงจะสาหัสกับงานขนาดไหนก็ยังเขียน แชร์ บ่นไปเรื่อยใน Twitter

Twitter: Twitter.com/eka_x

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

future car
รถอัจฉริยะกับอุบัติเหตุ

รถอัจฉริยะของกูเกิล จะมีมนุษย์นั่งไปด้วยเพื่อเข้ามาควบคุมรถแทนในสถานการณ์ที่รถอัจฉริยะยังทำเองไม่ได้ ในบทความที่แล้วผมได้นำเสนอประเด็นเรื่องรูปแบบการจราจร และการใช้รถอัจฉริยะร่วมกับระบบขนส่งมวลชนไปแล้ว บทความนี้ ผมจะนำเสนอเรื่องของรถอัจฉริยะต่อในอีกมุมหนึ่ง นั่นคือ...

  • Mobile-2.0
  • CHATBOT
    ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต

    ว่าด้วยเรื่องของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อกฎขึ้นมาในวงสนทนาเมื่อไร มักจะถูกคนทั่วไปมองหน้าเอาว่า นี่มันคือพวกเนิร์ด (Nerd) หรือกี๊ก (Geek) บ้าคอมฯ และพูดอะไรเข้าใจอยากแบบมนุษย์ต่างดาวแน่นอน ไม่ต้องแปลกใจครับ หลายคนมักเข้าใจว่าภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นภาษาที่คนทั่วไปไม่น่าจะเข้าใจได้ง่าย...

  • เทคนิครักษา ความปลอดภัย ให้ตัวเองในยุคออนไลน์

    ปฏิเสธไม่ได้นะครับว่า เมื่อเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัลมากขึ้น ภัยอันตรายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีก็เข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเช่นเดียวกัน บทความนี้จึงขอแนะนำวิธีเอาตัวรอดจากปากเหยี่ยวปากกาในตอนนี้กันครับ สมาร์ทโฟน สมบัติล้ำค่าที่ต้องรักษากันยิ่งชีพ นับวันมือถือและสมาร์ทโฟนก็จะยิ่งสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของเรามากขึ้นเรื่อยๆ...