ในยุคที่ดิจิตอลก้าวไปพร้อมกับไลฟ์สไตล์ บริการของธุรกิจต่างๆ จึงต้องเข้ามาเกี่ยวพันกับเทคโนโลยีสร้างความเป็นดิจิตอลไลฟ์ให้คนมีชีวิตที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เคทีซีเป็นสถาบันการเงินหนึ่งที่ไม่สามารถหยุดนิ่งในการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ธีรยุทธ์ สิริกุลวิริยะวาณิช ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Digital Marketing บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี
ลูกค้าสามารถสร้าง Virtual Credit Card ในการควบคุมวงเงินบัตรเครดิตสำหรับใช้จ่ายเฉพาะบนออนไลน์ โดยสร้างได้เพียง 1 ใบเท่านั้น ซึ่งโอนเงินเข้าออกได้ตลอดเวลา ตามความต้องการ
บริหารการเงินด้วยตัวเอง
ธีรยุทธ์ สิริกุลวิริยะวาณิช ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Digital Marketing บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี กล่าวว่า ตั้งแต่การแพร่หลายของบริการต่างๆ บนออนไลน์ ทำให้คนหันมาบริหารจัดการชีวิตประจำวันผ่านแพลตฟอร์มด้วยตัวเองมากขึ้น ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบริการ Click KTC ซึ่งเป็น Web Application ที่ให้ลูกค้าเคทีซีสามารถเข้ามาดูข้อมูลทางการเงินผ่านทางเว็บไซต์ และหลังจากนั้นมีการเติบโตของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มสูงขึ้นจึงพัฒนาแอพพลิเคชั่นชื่อ Tab KTC เพื่อรองรับการใช้งานบนโมบายล์ตามออกมา
สำหรับทั้ง Click KTC และ Tab KTC เป็นการให้บริการข้อมูลทางการเงินของลูกค้าบัตรเครดิตและบัตรเงินสดของเคทีซีเหมือนกัน ต่างกันเพียงชื่อและแพลตฟอร์มเท่านั้น ซึ่งการกำหนดชื่อจะคล้องจองกับการทำงานของแพลตฟอร์ม เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจง่ายในการใช้งาน รวมถึงช่วยให้เคทีซีสามารถเก็บข้อมูลความพึงพอใจในการใช้บริการแต่ละแพลตฟอร์มและเกิดการจดจำแบรนด์
![]() |
ฉบับที่ 197 เดือนพฤษภาคมกระเป๋าเงิน Virtual เชื่อมเศรษฐกิจดิจิตอล |
นอกจากนี้ การเข้าถึงข้อมูลจะใช้ Username และ Password ชุดเดียวกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และเรื่องระบบความปลอดภัย เมื่อลูกค้าเข้าระบบผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นจะมีการแจ้งเตือนไปยังอีเมลทุกครั้ง
สำหรับลูกค้าเคทีซีที่ใช้งาน Click KTC และ Tab KTC สามารถเรียกดูข้อมูลบัญชีเคทีซีทั้งหมดในทุกบัตร KTC ได้ตั้งแต่ สรุปยอดค่าใช้จ่าย วงเงินคงเหลือ รายการที่รูดบัตรเครดิตระหว่างเดือนหรือรายการย้อนหลัง เพิ่มวงเงิน ดูคะแนนสะสม ทำรายการแบ่งชำระด้วยตัวเอง บริการชำระสินค้าและบริการ บริการเติมเงิน ตรวจดูโปรโมชั่น และสร้าง Virtual Credit Card ได้ด้วย โดยฟังก์ชั่นต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการทราบและสามารถจัดการเงินด้วยตัวเองได้ทำให้ไม่ จำเป็นต้องโทรหา Call Center อีกต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ดิจิตอลที่ให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจ ชื่อว่า TapKTC Merchant ที่ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิตบนสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยเครื่องอ่านบัตร mPOS ที่รองรับบัตรเดบิต ทั้งของ KTC และธนาคารอื่นๆ บริการนี้จะเอื้อกับร้านค้ารายย่อยและผู้ที่ทำธุรกิจขายประกันเพิ่มสภาพคล่องทางการใช้เงินให้กับลูกค้า และสามารถเก็บสะสมแต้มได้
ส่วนบริการด้านดิจิตอลอื่นๆ ได้แก่ Payment Gateway ที่รองรับบริการที่ทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ทุกประเภทเคทีซีจะให้ความสำคัญในเรื่องความสะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย ดังนั้น จึงมีะบบส่ง SMS แจ้งทุกครั้ง เมื่อทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเงินสดตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป สิ่งนี้จะทำให้ลูกค้ามั่นใจในการนำบัตรไปซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพราะสามารถรู้เมื่อมีการใช้จ่ายบัตรเครดิตที่เกิดขึ้นทุกครั้ง
เข้าถึงทุกบริการทางการเงิน
ธีร ยุทธ์ กล่าวว่า เทคโนโลยี Mobile in Store Purchase ในโลกดิจิตอลแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. Online Transaction 2. In-App Purchase และ 3. In-App Store ตอนนี้ทั้ง 3 ส่วนนี้อยู่คนละ Ecosystem ซึ่งเคทีซีกำลังศึกษาและหาวิธีการจะเชื่อมต่อทั้งหมดให้เข้ามาอยู่ใน Ecosystem เดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าบัตรสามารถทำธุรกรรมได้สะดวกสบาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
คนจะมองว่า ต่อไปชีวิตจะอยู่กับโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วการทำธุรกรรมยังไม่สามารถก้าวไปไกลถึงขั้นนั้นได้ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลสินค้าในหลากหลายช่อง ทาง และสุดท้ายจะเลือกใช้รูปแบบการชำระเงินในแบบที่ตนพอใจในเวลานั้น เช่น เราเจอสินค้าที่น่าสนใจที่ร้านค้าก็กลับไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมบนออนไลน์ พบว่ามีสินค้าที่ต้องการในราคาที่ถูกกว่า จึงตัดสินใจซื้อบนออนไลน์ทันที เป็นต้น ดังนั้น การทำธุรกิจไม่สามารถจะให้ความสำคัญเพียงช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์เพียง อย่างเดียวรวมถึงด้านการตลาดด้วย เพราะพฤติกรรมของลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าเพียงเห็นจากช่องทาง ใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Omni Channel
เทรนด์ดังกล่าว ในมุมของเคทีซีมองว่า จะสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Ecosystem นี้ได้อย่างไรในฐานะ Payment Platform ที่รองรับการใช้งานบัตรเครดิตเป็นหลัก เนื่องจากปัจจุบันนีิ้ บัตรเครดิตสามารถให้บริการในรูปแบบ Hybrid ได้ด้วย ได้แก่ Wave Card ที่ใช้งานแบบ Touch and Go และ Mobile Application ที่สามารถทำธุรกรรมบนมือถือและจุดขายสินค้า เคทีซีพยายามจะเข้าไปช่วยลูกค้าในการใช้จ่ายทุกรูปแบบในตลาดแบบ Omni Channel ตั้งแต่การออกบัตรเครดิตหรือบัตรเงินสด การให้บริการบัตรเครดิตในรูปแบบ Hybrid ซึ่งในการออกบริการทุกอย่างจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ Simple, Speed และ Security
Virtual Card บริการตอบโจทย์นักช้อป
ธีร ยุทธ์ กล่าวว่า เนื่องจากลูกค้าส่วนหนึ่งมียอดวงเงินบัตรเครดิตสูงการจะนำไปใช้จ่ายบน ออนไลน์ทำให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย ดังนั้น เคทีซีจึงพัฒนาฟีเจอร์ให้ลูกค้าสามารถสร้าง Virtual Credit Card ในการควบคุมวงเงินบัตรเครดิตสำหรับใช้จ่ายเฉพาะบนออนไลน์ โดยสร้างได้เพียง 1 ใบเท่านั้น ซึ่งโอนเงินเข้าออกได้ตลอดเวลา ตามความต้องการฟีเจอร์นี้เป็นบริการเสริมที่ให้ความสบายใจกับลูกค้าในการใช้ บัตรเครดิตซื้อสินค้าผ่านออนไลน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งโมเดลนี้ที่ต่างประเทศได้ให้บริการแพร่หลายแล้ว
ข้อดีของการใช้ Virtual Card นอกจากจะควบคุมวงเงินในการใช้จ่ายผ่านบัตรได้แล้ว ยังเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้จ่ายบนออนไลน์ในรูปแบบที่มั่นใจมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่มีเพียง Virtual Debit Card ให้บริการของธนาคารต่างๆ ซึ่งจะตัดจากบัญชีธนาคารทันที
Digital Wallet ก้าวต่อไป KTC
ธีร ยุทธ์ กล่าวว่า ปีที่ผ่านมามีการพูดถึงเรื่องของ e-Wallet กันในวงกว้างมากขึ้น และตอนนี้เคทีซีกำลังศึกษาเทคโนโลยีสำหรับ e-Wallet และถือเป็น Roadmap สำหรับต่างประเทศตอนนี้ เงินในกระเป๋าเงินส่วนใหญ่ได้ถูกโอนย้ายไปอยู่บนกระเป๋าเงินดิจิตอลแล้ว รวมถึงโมบายล์แอพพลิเคชั่น ซึ่งลูกค้าสามารถบริหารจัดการกระเป๋าเงินตัวเองได้บนออนไลน์ทั้งจ่าย ถอน โอน
การพัฒนาของ e-Wallet ที่จะกลายเป็น Payment รูปแบบใหม่ เมื่อนำมาผสมผสานกับบัตรเครดิต ต่อไปไม่ต้องพกพาบัตรเครดิตแต่บัตรเครดิต จะย้ายมาอยู่บนโมบายล์และโมบายล์ กลายเป็นบัตรเครดิตที่สามารถไปแตะกับเครื่องรับชำระบัตรเครดิตเพื่อชำระ เงินได้ เคทีซี มองว่า เป็นเทรนด์ที่น่าสนใจแต่ยังไม่แพร่หลายในเมืองไทยเนื่องจากร้านค้ายังไม่มี เครื่องอ่านที่รองรับการใช้งานผ่านแพลตฟอร์มนี้ ตอนนี้จึงศึกษาตลาดเพื่อดูความพร้อมของ Ecosystem แห่งนี้ก่อน
ธีรยุทธ์ กล่าวต่อว่า เคทีซีออกผลิตภัณฑ์ด้านดิจิตอลจะมองในแง่การใช้งานของผู้ใช้มากกว่า ซึ่งถ้าทำออกมาจะครอบคลุมทั้งในส่วนของบัตรเครดิตและบัตรเงินสดด้วย และในอีกประมาณ 2 เดือนจะมีการเปิดตัวบริการใหม่คือ Cash Advance บน Digital เนื่องจากปัจจุบันลูกค้ายังต้องทำการเบิกถอนเงินสดจากบัตรเครดิตหรือบัตร เงินสดที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งมีความเสี่ยงในการเบิกถอนเงินจำนวนมากออกมาถือไว้
ดังนั้น หากสามารถโอนเงินจากบัตรเครดิตหรือบัตรเงินสดเข้าไปยังบัญชีได้เลยผ่าน ออนไลน์จะช่วยให้การบริหารจัดการเงินของลูกค้ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่ง ขึ้น จากการปรับฟีเจอร์ให้กับบริการ Cash Advance ถือเป็นส่วนหนึ่งใน Ecosystem รวมเป็นศูนย์กลางเดียวสามารถใช้งานร่วมกันได้
ต่อไปข้าง หน้า คำว่า Digital Wallet อาจต้องเปลี่ยนไปเป็น Digital Purse เนื่องจากกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่เพียงแค่เก็บเงินเพื่อใช้จ่ายบาง อย่าง แต่จะกลายเป็นกระเป๋าสำหรับใช้จ่ายสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันแทน เพราะพฤติกรรมคนในอนาคตอยากมีการใช้จ่ายเงินสดลดลงและจ่ายสินค้าและบริการ ต่างๆ ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
อีก 2 เดือนจะมีการเปิดตัวบริการใหม่คือ Cash Advance บน Digital เนื่องจากปัจจุบันลูกค้ายังต้องทำการเบิกถอนเงินสดจากบัตรเครดิตหรือบัตรเงินสดที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งมีความเสี่ยงในการเบิกถอนเงินจำนวนมาก
พร้อมรับการเป็น Digital Purse
ธีรยุทธ์ กล่าวว่า ตอนนี้เคทีซีได้เตรียมแผนรองรับเกิดขึ้นของเทรนด์ Digital Purse ทั้งในแง่ของ Infrastructure และ Business ซึ่งเมื่อเกิด Digital Purchases ขึ้น เคทีซีจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Ecosystem นี้ในฐานะเป็น Digital Financial Provider โดยผู้บริโภคจะมีเคทีซีเป็นหนึ่งในตัวเลือกด้านการบริหารจัดการทางการเงินใน ชีวิตประจำวันของพวกเขา
Digital Purse เป็นเสมือนการบริหารจัดการทางการเงินบนดิจิตอล ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้บริโภคบริหารจัดการเรื่องของการเงินในธุรกรรมต่างๆ เช่น การโอนเงิน การจ่ายเงิน การชำระสินค้าและบริการ รวมถึงการดูแลระบบหลังบ้านในการให้ข้อมูลทางการเงินแก่ลูกค้า เช่น การเรียกดูประวัติการทำธุรกรรม การแจ้งการเบิกเงินสดผ่าน SMS หรือ E-mail
ถ้า Apple Pay เข้ามาไทย
ธีร ยุทธ์ กล่าวต่อว่า เมื่อปีที่ผ่านมาการเปิดตัว Apple Pay เกิดกระแสขึ้นกับวงการการเงินในโลกดิจิตอลไม่น้อย ซึ่งเป็นเจ้าแรกในการบุกเบิกเรื่อง Digital Wallet ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมทั่วโลกได้พอสมควร ในส่วนของเคทีซีพร้อมในการเข้าไปพูดคุยและเป็นส่วนหนึ่งใน Ecosystem แห่งนี้เมื่อมีการประกาศจาก Apple ว่าจะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าคงจะเป็นโมเดลที่คล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการพูดคุยกับ พาร์ทเนอร์ ทั้งสถาบันการเงิน ธุรกิจรีเทล ปั้มน้ำมัน ร้านอาหาร และร้านสะดวกซื้อต่างๆ
เคทีซีมีโอกาสได้พูดคุยกับทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดในเรื่องของ Apple Pay เนื่องจากทั้ง 2 ผู้ให้บริการนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการทำ Platform Tokenization ให้กับทาง Apple ซึ่งนี้ดูแลเรื่องความปลอดภัยรูปแบบใหม่ในการใช้จ่ายผ่านออนไลน์ โดยหมายเลขบัตรเครดิตจะไม่ถูกเก็บไว้บนแพลตฟอร์มแต่จะนำไปไว้บนคลาวด์
เวลาเข้าระบบเพื่อใช้งาน Apply Pay ผู้บริโภคเพียงใส่ Username และ Password เนื่องจากหมายเลขบัตรเครดิตจะลงทะเบียนใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกและจะถูกเก็บเข้าไปในบนคลาวด์ ระบบจะทำการจับคู่กับหมายเลขบัตรเครดิตที่ถูกเก็บไว้บนคลาวด์เพื่อถอดรหัสในการปลดล็อคให้เข้าไปทำธุรกรรม ลดปัญหาความกังวลในอดีตเมื่อโทรศัพท์มือถือหาย อาจถูกโจรกรรมข้อมูลจากเครื่องโทรศัพท์มือถือได้ และต่อไปคาดว่าถ้าเทคโนโลยีมีความพร้อมและระบบรักษาความปลอดภัยมากขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องใส่ Password แต่ใช้ Finger Print แทน
“การให้บริการบนดิจิตอลแพลตฟอร์มสำหรับเคทีซี สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ ตั้งแต่การดูรายการทำธุรกรรมในทุกบัญชีภายในแพลตฟอร์มเดียว ถึงแม้จะเดินทางอยู่ต่างประเทศแต่ก็สามารถบริหารจัดการและตรวจเช็คธุรกรรมของตนเอง รวมถึงสามารถเพิ่มวงเงินการใช้จ่ายได้ด้วยตัวเอง”