The Sales-Partan น.สพ.ธีรพงษ์ เศรษฐิวัฒน์ นักขายแบบครีเอทีฟ

celeb1

หมอกิม หรือ น.สพ.ธีรพงษ์ เศรษฐิวัฒน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาชีพนักขายเป็นหนึ่งอาชีพที่มีรายได้ดี แต่หลายคนก็ยังมีความกลัวในการก้าวเข้าสู่วงการของการขายด้วยหลายปัจจัย โดยที่พบได้ส่วนมากคือ ความกลัวที่จะถูกปฏิเสธจากลูกค้า ทำให้ตัดสินใจมองข้ามอาชีพนี้ไปโดยที่ยังไม่ได้มีการทดลองเริ่มต้นทำ

web

หมอกิม หรือ น.สพ.ธีรพงษ์ เศรษฐิวัฒน์ เป็นคนหนึ่งที่เดินเข้าสู่วงการของการขายและประสบความสำเร็จ  จนสามารถถ่ายทอดเทคนิคให้กับคนอื่นได้เป็นอย่างดี เจ้าของหนังสือ Bestseller “ขายน้อย ให้(ยอด)ขายเยอะ” “ทำไม่ไม่บอกกู” และยังมีแฟนเพจ The Sales-Partan : หมอกิม ไว้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการขายอีกด้วย

ทิ้งอาชีพการรักษามุ่งหน้าสู่นักขายเต็มตัว
การเลือกทางเดินของหนุ่มคนนี้คงไม่ต่างจากใครหลายๆ คน หลังจากจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ก็ตัดสินใจเข้าเรียนต่อในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยเหตุผลว่าคะแนนที่ถึงเกณฑ์  ทั้งที่ยังไม่ได้รู้ว่าเรียนจบแล้วจะต้องทำอาชีพอะไร หรือแนวทางชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ

“ที่เรียนสัตวแพทย์นี่ก็เพราะว่าเพื่อนเลย บอกว่าคะแนนถึงยื่นแล้วเข้าได้เลย ผมก็ตกลงเรียนที่นี่ และก็จบมาด้วยเกียรตินิยม แต่พอหลังจากนั้นผมก็รู้ตัวว่าไม่ได้อยากจะรักษาสัตว์ เพราะการทำงานของอาชีพสัตวแพทย์ก็คือเปิดคลินิก รอมีเคสเข้ามาแล้วถึงได้ทำงาน และการรักษาแต่ละขั้นตอนก็ถูกกำหนดไว้แล้วทุกอย่างมันต้องเป็นไปตามนั้น ซึ่งผมไม่ชอบทางนี้ ก็ตั้งแต่จบมานี่ยังไม่เคยรักษาสัตว์เลยสักตัวเดียว” หมอกิม กล่าว

ด้วยทางเลือกหลังจบการศึกษามีไม่มากนัก ทำให้หมอกิมตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางของการเป็นเซลตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลามากกว่า 7 ปี และยังได้นำประสบการณ์มาถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือ และเปิดคอร์สอบรมให้กับคนที่สนใจด้านการขายอีกด้วย

e210-small

ฉบับที่ 210 เดือนมิถุนายน

FinTech 2.0 การเงินคลื่นลูกใหม่

ถ่ายทอดทักษะจากประสบการณ์เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจ
เมื่อเข้าสู่วงการนักขายก็ต้องมีการเรียนรู้ทักษะต่างๆ มากขึ้น และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น อยู่เสมอ ทำให้หมอกิมได้มีข้อมูลใหม่เข้ามามากมายและคิดได้ว่าข้อมูลบางอย่างที่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ผู้คนกลับมองข้ามไป หรือไม่รู้ จึงได้ตั้งแฟนเพจบนเฟซบุ๊กในชื่อ “ทำไมไม่บอกกู” เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้คนอื่นได้รู้ต่อไป

ปัญหาของคนที่เป็นเซลคือ ไม่รู้วิธีการจัดการคน เนื่องจากการขายมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นการประเมินว่าลูกค้าเป็นอย่างไร และจะต้องใช้จุดไหนมาดึงดูดคนนี้ จึงต้องมีการวางแผนก่อนการทำงานทุกครั้ง โดยปกติมีสินค้า 10 ตัว ก็เสนอ 10 ตัว ซึ่งมันไม่ได้ตรงใจขนาดนั้น ถ้าเราเลือกเสนอ 1 ตัวที่น่าสนใจและตรงกับเขา แน่นอนว่าไม่ยากต่อการตัดสินใจซื้อแน่นอน

“คำถามที่เจอบ่อยสำหรับการเริ่มต้นจะเป็นนักขาย คือผมจะเป็นนักขายได้ไหมครับพี่ ซึ่งส่วนตัวผมก็ไม่ค่อยห้าม ก็แบบแนะนำให้ลองดู คนส่วนมากจะบอกว่าไม่กล้าเพราะคุยไม่เก่ง ซึ่งจริงๆ นักขายไม่จำเป็นต้องคุยเก่งเลยก็ได้ แต่ต้องมีการใช้คำพูดบางอย่างที่หมัดหนัก ขายของเนียนๆ เซลพวกนี้คือแบบเหยียบหิมะไร้ร่องรอย แต่ขายได้เลย พูดไม่เก่งไม่ใช่ปัญหาแต่ต้องคุยให้เก่ง คุยเก่งคือ ทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่น่าเบื่อ ซึ่งพอบทสนทนาดำเนินต่อไปได้เรื่อย เป็นจุดดึงดูดที่ดี”

แต่ว่าการจะเป็นนักขายไม่ใช่ว่าจะรู้แต่เรื่องการขายเพียงอย่างเดียว นักขายจำเป็นต้องต้องรู้เรื่องมาร์เก็ตติ้ง มาร์เก็ตติ้งเองก็ต้องรู้เรื่องการขายเหมือนกัน ดังนั้น มันต้องมีการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อใช้เป็นอาวุธสำหรับการทำงาน

celeb2

ไม่ว่าจะเปลี่ยนคำว่าขายเป็นอะไร ของแลกของ เงินแลกของ แลกเซอร์วิส ทุกอย่างก็เกิดจากการค้าขาย การเป็นนักขายก็ต้องมั่นใจว่าสินค้านั้นดี และรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วย

กล้าทดลองหาสิ่งใหม่ใช้ศักยภาพตัวเองอย่างเต็มที่
จากที่เส้นทางการทำงานแหวกแนวออกมาจากสิ่งที่เรียนมาไกล และด้วยความเป็นคนที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันนอกจากจะเป็นนักพูด นักเขียนแล้ว หมอกิมยังมีตำแหน่ง Assistant Manager, Marketing Director และเจ้าของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ I snack box อีกด้วย

หมอกิม เล่าว่า เมื่อ 4-5 ปีก่อน เริ่มอ่านพวกพ็อกเก็ตบุ๊ก หนังสือพัฒนาตนเอง เพราะรู้สึกว่ามันไม่เหมือนกับหนังสือเรียน การอ่านหนังสือแบบนี้ทำให้เราเขาใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย จึงเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากถ่ายทอดออกมาผ่านตัวหนังสือบ้าง เพราะด้วยเส้นทางของเรา ในการทำงานก็เจออะไรมาเยอะ มันยังมีอีกหลายด้านที่คนต้องรู้ เลยได้มีโอกาสไปเรียนการเขียนกับพี่บอย – วิสูตร แสงอรุณเลิศ แล้วเกิดเป็นหนังสือเล่มแรกขึ้นมา

“การทำงานในแต่ละรูปแบบก็มีความแตกต่างกันออกไป อย่างหนึ่งคือ ที่บ้านให้ผมเป็นอิสระมาตลอด เลยเป็นคนที่กล้าลองทำอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ เวลาคนที่มาเจอก็จะรู้สึกว่าผมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เรียกได้ว่าเปลี่ยนเป็นรายปี อย่างเขียนหนังสือแล้ว เป็นนักพูดแล้ว ก็ไปทำธุรกิจบ้าง ด้วยความกล้าเสี่ยง ซึ่งผมเชื่อว่าทุกคนยังใช้ศักยภาพของตัวเองไม่เพียงพอ ก็อยากสนับสนุนให้ทุกคนกล้าและใช้ความสามารถให้สุด ซึ่งแน่นอนว่าทุกอย่างมันต้องเริ่มที่ทดลองก่อน”

fb

ใช้งานสื่อออนไลน์ฉบับหมอกิม
หมอกิม กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นคนที่ใช้โลกออนไลน์อยู่แล้ว เรื่องเดียวที่ต้องระวังในการใช้งานคือ เมื่อมีจำนวนคนตามมากขึ้น มันก็มาพร้อมความรับผิดชอบ เพราะหนึ่งข้อความที่เราส่งออกไปจะมีฟีดแบคที่กลับมาอย่างไรบ้าง การตีความมันเป็นได้หลายอย่าง ก่อนที่จะส่งเมสเสจออกไปสู่สาธารณะ ผู้เขียนเองก็ต้องทำความเข้าใจว่าจะส่งไปถึงใคร และจะมีเอฟเฟ็กต์อะไรตามมาจากข้อความเหล่านั้นบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีคอนเทนต์อะไรที่จะเพอร์เฟ็กต์ร้อยเปอร์เซ็นต์

ด้วยความที่มีธุรกิจออนไลน์อย่าง I snack box ยังทำให้หมอกิม ต้องใช้พื้นที่ออนไลน์เพื่อเข้าถึงลูกค้า ซึ่งเป็นการสนับสนุนความคิดที่ว่าช่องทางออนไลน์มีอิมแพคกับคนอย่างมาก เพราะทุกคนใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งการใช้เวลาเท่ากับการใช้ชีวิต คนมองสื่อออฟไลน์น้อยลง การขาย การทำตลาดก็พุ่งเข้ามาอยู่ทางสื่อออนไลน์ เพราะมีความคุ้มค่าในการลงทุน และมีการวัดผลที่ชัดเจน รวมทั้งการทำงานของ 4G ที่พอทุกอย่างรวดเร็ว คนก็ใช้เวลาสนุกกับตรงนี้มากขึ้น

“อย่างเรื่องของธุรกิจออนไลน์อย่างหนึ่งคือ ต้องเข้าถึงให้เป็น เราต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดและไปหาว่าคนกลุ่มนี้อยู่ที่ไหน การเลือกพื้นที่บนเฟซบุ๊ก ถ้าเพจใหญ่คนเยอะ คอนเทนต์ของเราจะโดนกลุ่มเป้าหมายได้กี่เปอร์เซ็นต์ หรือจะเลือกเพจที่เล็กกว่าแต่มีคนที่ตรงกลุ่มเป็นจำนวนมาก เทคนิคการใช้ของมันคือให้ได้เอฟเฟ็กต์กลับมาให้ได้มากที่สุด”

สุดท้าย หมอกิมยังฝากถึงมุมมองต่อการขายว่า ไม่ว่าจะเปลี่ยนคำว่าขายเป็นอะไร เอาความต้องการไปแลกกัน ของแลกของ เงินแลกของ แลกเซอร์วิส ทุกอย่างก็เกิดจากการค้าขาย มันส่งผลไปถึงภาคใหญ่อย่างเศรษฐกิจ การเป็นนักขายก็ต้องมั่นใจว่าสินค้านั้นดี และรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วย ส่วนตัวเองก็ยังจะนำประสบการณ์ต่างๆ ถ่ายทอดให้ผู้ใช้งานผ่านทางออนไลน์และหนังสือต่อไป เพื่อสนับสนุนให้คนออกมาจากคอมฟอร์ตโซน และใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่

IMG_5450
IMG_5413
IMG_5421
IMG_5424
IMG_5405
IMG_5411

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Amazon ลองแปลง “นักรีวิว” ให้เป็นแม่ค้าพ่อค้า

Amazon ได้ทดลองแคมเปญ “influencer program” ให้นักรีวิวสมัครเล่นบ้าง อาชีพบ้าง สามารถสร้างร้านขายของออนไลน์ของตัวเองบน Amazon ได้ง่ายๆ แล้วอเมซอนจะแบ่งรายได้ให้ …จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการ “แปลงนักรีวิว เป็นแม่ค้าพ่อค้า” ก็ว่าได้